ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
อาหารปนเปื้อน

อาหารปนเปื้อน การปนเปื้อนของฮอร์โมนในอาหาร (Hormone Contaminated Food)

อาหารปนเปื้อน การปนเปื้อนของฮอร์โมน (Hormone) ในอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์จากนมวัว ซึ่งสามารถพบได้บ่อยขึ้นในอุตสาหกรรมอาหารยุคสมัยนี้

เช่น ฮอร์โมนไทรอยด์ปนเปื้อนอย่างที่เป็นข่าวอยู่ในขณะนี้ สามารถทำให้เกิดอาการ เหนื่อยง่าย ใจสั่น กระสับกระส่าย สับสน นอนไม่หลับ น้ำหนักลด ผมร่วง หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจวาย และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เพราะ อาหารปนเปื้อน ที่แฝงมากับเมนูโปรดของเรา

นอกจากการพบ ฮอร์โมนไทรอยด์ปนเปื้อนในสัตว์ เช่น เนื้อหมูและเนื้อไก่แล้ว เรายังสามารถพบการปนเปื้อนของฮอร์โมนชนิดอื่นๆได้อีกด้วย เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน โกรทฮอร์โมน หรือ สารเร่งโกรทฮอร์โมน ที่ใช้เร่งการเจริญเติบโต (anabolic hormones) และเร่งการเจริญพันธุ์ของสัตว์

ซึ่งฮอร์โมน และสารปนเปื้อนเหล่านี้ สามารถรบกวนการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย ทำให้ระบบฮอร์โมนปั่นป่วนทั้งระบบ (Endocrine disruptors) ส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้ในหลายระบบ ทั้งระบบเผาผลาญ ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิต้านทาน และระบบประสาท เป็นต้น

นอกจากนี้การได้รับฮอร์โมนปนเปื้อนจากสิ่งเเวดล้อมบางชนิด (Xenoestrogens) ในระยะยาว พบว่าสามารถก่อมะเร็ง (Carcinogenic) ได้อีกด้วย

การตรวจคัดกรอง สมดุลฮอร์โมน (Hormone Balance) แบบองค์รวม และโปรแกรมการเร่งการขับสารพิษ (Detoxification) จึงเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นในยุคปัจจุบันนี้

Invest in Health your Ultimate Wealth

#Healthitude
#HormonesBalance
#Detoxification
#FunctionalMedicine
#InvestInHealthYourUltimateWealth

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ชี้เทรนด์ตลาดโลกพบตัวเลขผู้มีปัญหาภาวะ มีบุตรยาก และ วางแผนมีบุตรเพิ่มต่อเนื่อง “W9

วันโรคอ้วนโลก (World Obesity Day) ถูกตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี

มีคนถามเข้ามาเยอะว่า “หายติดเชื้อไวรัสแล้วแต่ยังมีอาการอยู่” หรือบางคนตอนเป็นติดเชื้อไวรัสมีอาการน้อย แต่พอหายแล้วกับมีอาการเยอะขึ้น ไวรัสได้ฝากลอยแผลเป็นอะไรไว้ให้กับเราบ้าง

error: Content is protected !!