ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มีลูกยาก

มีลูกยาก! ชาย vs หญิง ใครมีโอกาสมีลูก(ยาก)กว่ากัน ?

แม้กระแสการครองโสดจะทะยานสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คนรุ่นใหม่ไม่ต้องการมีลูก หรืออยากมีลูกกันน้อยลง แต่ยังมีอีกหลายคู่ หลายคนที่ประสบปัญหา “อยากมีลูก แต่…มีลูกยาก!” ต่อให้นับวันทำทุกอย่างๆ ตั้งใจ แต่ทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จเรื่องนี้เสียที ปัญหาเหล่านี้ผู้ชาย vs ผู้หญิง ใครมีโอกาสมีลูกได้ยากกว่ากัน.. มาหาคำตอบไปพร้อมกันที่นี่!

อยากมีลูก..แต่ มีลูกยาก ร่างกายพลาดอะไรไป ?

ถือเป็นประเด็นชวนหนักใจสำหรับคู่รักที่ต้องการสร้างครอบครัวอย่างจริงจัง เมื่อในหลายๆ ครั้งความหวังในการมีลูกดูจะลดน้อยลงไปทุกที แล้วสาเหตุอะไรที่ทำให้ผู้ชาย หรือผู้หญิงบางคนมีลูกยาก ขึ้นอยู่กับอะไรได้บ้าง ..มาดูกัน

ผู้ชาย
ปัจจัย
ผู้หญิง

ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ที่ถูกผลิตขึ้นจากลูกอัณฑะ ซึ่งเป็นตัวช่วยสร้างและเพิ่มความแข็งแรงให้อสุจิ

ฮอร์โมน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น รอบเดือน และการตกไข่ (LH)

คุณภาพอสุจิ (Sprerm) เช่น ความแข็งแรง ความเร็ว ความสามารถในการเจาะไข่
ระบบสืบพันธุ์
ฮอร์โมน
ควรมีจำนวนอสุจิ (Sprerm) อย่างน้อย 20 ล้านตัวต่อหนึ่งมิลลิลิตร ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเริ่มต้นที่ทำให้ประสบความสำเร็จในารตั้งครรภ์
ปริมาณ
ตามธรรมชาติของผู้หญิงจะมีจำนวนไข่อยู่ที่ 5-6 ล้านใบ และลดลงเหลือ 400,000 ใบ เมื่อสู่ในวัยประจำเดือน และลดลงตามช่วงอายุที่มากขึ้น ซึ่งปริมาณอาจมีความสำคัญไม่มากเท่าคุณภาพไข่ที่มีอยู่


อายุ 30-35 ปี คือ ช่วงอายุที่อสุจิแข็งแรงที่สุด จนอายุมากขึ้นเข้าสู่ช่วงวัย 50-55 ปี คุณภาพอสุจิก็จะลดลงด้วยเช่นเดียวกัน และแม้จะประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นการเพิ่มโอกาสต่อการแท้ง อัตราการคลอดที่ผิดปกติ และความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

อายุ
อายุ 20 ปีขึ้นไป คือ ช่วงที่เหมาะกับการตั้งครรภ์มากที่สุด จนเข้าสู่ช่วงวัย 35 ปีขึ้นไป แม้จะยังมีจำนวนไข่พอต่อการปฏิสนธิ แต่คุณภาพไข่อาจไม่เป็นผลต่อภาวะเจริญพันธุ์

การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์, คุณภาพการนอน, ความเครียด, รูปร่าง(น้ำหนัก) และโรคประจำตัวบางอย่าง

ไลฟ์สไตล์
การสูบบุหรี่, การดื่มแอลกอฮอล์, คุณภาพการนอน, ความเครียด, รูปร่าง(น้ำหนัก) และโรคประจำตัวบางอย่าง

อยากมีลูกต้องเข้าใจ! เช็คความพร้อมร่างกาย ตรวจภาวะการมีลูก

การตรวจภาวะการมีลูก เป็นการตรวจเชิงลึกเพื่อสาเหตุที่แท้จริงของภาวะมีลูกยาก แบ่งออกเป็น

การตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้ชาย โดยเน้นการตรวจความสมบูรณ์ของเชื้ออสุจิ (Semen analysis) หรือการตรวจสเปิร์ม สิ่งที่แพทย์จะตรวจ คือ

  • ปริมาณตัวอสุจิในน้ำเชื้อ
  • ความเร็วในการเคลื่อนไหวของอสุจิ
  • ขนาด รูปร่าง ความสมบูรณ์ของอสุจิ
มีลูกยาก

การตรวจภาวะมีบุตรยากสำหรับผู้หญิง เน้นการตรวจประสิทธิภาพส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิและฝังตัวอ่อนว่าปกติหรือไม่ มีการอุดตัน หรือภาวะไม่เอื้อต่อการฝังตัวหรือไม่

  • ตรวจอัลตราซาวด์ช่องคลอด เพื่อหาความผิดปกติในถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกรังไข่ เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูก หรือก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน
  • การใช้กล้องขนาดเล็กเพื่อตรวจมดลูก ท่อนำไข่ 
  • ตรวจฮอร์โมน AMH จากเลือด เพื่อดูจำนวนไข่สำหรับการเจริญพันธุ์

ทางเลือก-ทางออก ของคนอยากมีลูก!

ปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีทางเลือก เพื่อช่วยให้การมีลูกไม่ใช่แค่เรื่องของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว ในวงการแพทย์ได้มีการต่อยอดเทคนิคการปฏิสนธิใหม่ๆ พร้อมช่วยให้คู่รักที่ต้องการมีลูก แต่มีลูกยาก มีทางเลือกช่วยเพิ่มโอกาสได้มากขึ้น ดังนี้

  • การฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก (Intra Uterine Insemination : IUI) ซึ่งเป็นวิธีปฏิสนธิที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด โดยแพทย์จะทำการคัดแยกเอาน้ำเชื้อที่แข็งแรงที่สุดของฝ่ายชาย มาฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกฝ่ายหญิง ช่วยลดระยะการวิ่งของอสุจิ และโอกาสเชื้ออสุจิตายก่อนปฏิสนธิให้น้อยลง

การทำเด็กหลอดแก้ว (In Vitro Fertilization : IVF) เหมาะสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปี ขึ้นไป เป็นการนำไข่และอสุจิมาผสมภายในหลอดแก้ว จนกลายเป็นตัวอ่อน ก่อนนำกลับไปฉีดฝังภายในโพรงมดลูกของฝ่ายหญิง

มีลูกยาก
  • การทำเด็กหลอดแก้วขั้นสูง หรือ อิ๊กซี่ (Intracytoplasmic sperm injection : ICSI) คล้ายการทำเด็กหลอดแก้วแบบ IVF แต่เป็นการคัดเชื้ออสุจิที่แข็งแรงและดีที่สุดเพียงตัวเดียวมาฉีดเข้าสู่ไข่โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านการปฏิสนธิภายนอก การทำ ICSI จึงเหมาะกับฝ่ายชายที่มีปัญหาเชื้ออสุจิน้อย หรือเคลื่อนที่ได้ไม่ดี
  • การทำเด็กหลอดแก้วด้วยการขยายกำลังสูงสุด (Intracytoplasmic Morphologically Selected Sperm Injection : IMSI) เทคนิคที่ต่อยอดจากการทำ ICSI โดยการใช้กล้องจุลทรรศ์ที่มีกำลังขยาย 6600x เท่า เข้ามาช่วยคัดเลือดเชื้ออสสุจิที่มีความแข็งแรง ลักษณะดี และเหมาะสมต่อการปฏิสนธิได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

การใช้เทคโนโลยีช่วยฝากไข่ (Egg Freezing) สำหรับผู้ที่ต้องการวางแผนอยากมีลูกในอนาคต ให้สามารถนำมาใช้ผสมเทียมได้เมื่อพร้อมในภายภาคหน้าได้

มีลูกยาก

การเข้ารับคำปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมน ซึ่งถือเป็นเทคนิครักษาร่วมเพื่อช่วยให้ร่างกายกลับมามีสมดุลตามปกติ เพราะการคืนสมดุลฮอร์โมนให้ร่างกาย สามารถช่วยเพิ่มโอกาสการมีลูกให้คุณได้ ไม่ว่าจะในผู้ชายหรือผู้หญิง อีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเสริมวิธีการข้างต้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คือการสร้างสมดุลของระดับฮอร์โมน โดยสามารถเข้ารับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้โดยตรง

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมะเร็งเต้านม คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย โดยในช่วงชีวิตของผู้หญิงไทย 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็น “โรคมะเร็งเต้านม” และมีผู้หญิงไทยตายด้วยโรคมะเร็งเต้มนมเฉลี่ยวันละ 12 คน แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษา แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษาในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นจะมีโอกาสรักษาให้กลับมาปกติได้สูง ซึ่งเราสามารถทำการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้วินิจฉัยและสามารถรักษาได้ทันท่วงที รู้จักและเข้าใจ มะเร็งเต้านม ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอใครได้ยินก็มีความกลัวกันทั้งนั้น โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่ถือเป็นภัยเงียบที่พบได้มากที่สุด โดยมะเร็งเต้านมนั้นเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ เหนือการควบคุมของร่างกายและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักเกิดที่ภายในท่อน้ำนม และสามารถกระจายออกจากท่อน้ำนม ไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้และอวัยวะอื่นๆ ที่ไกลออกไป ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม แม้ว่าโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่ฮอร์โมนเพศหญิงเองก็มีความสัมพันธ์ในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า ช่วงเวลาในการมีประจำเดือน โดยพบว่าผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจำเดือนช้า มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจำเดือนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น ใครมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป […]

ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ คือ สภาวะที่สมรรถภาพทางสมองมีการทำงานที่บกพร่องไป เช่น ด้านความจำ การตัดสินใจ การบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เจอได้บ่อยของกลุ่มภาวะ สมองเสื่อม อย่างเช่น บางคนที่เป็นสโตรก (Stroke) โรคหลอดเลือดสมองตีบ ก็ทำให้มีอาการของสมองเสื่อมได้เช่นกัน สำหรับในคนไทยเราก็พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปก็จะมีความเสี่ยง โรคสมองเสื่อม ได้ถึงร้อยละ 5 แล้วเมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปีขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะสมองเสื่อมถึงสองเท่า และเมื่อเราอายุ 80 ปี ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 หรือว่า 1 ใน 5 เลยทีเดียว สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ภาวะ สมองเสื่อม ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วก็สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ เช่น การขาดวิตามินบี 12 โรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ หรือภาวะที่มีน้ำคั่งในสมอง สาเหตุสมองเสื่อมจากการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก เช่น […]

การนอนหลับช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น แต่การ นอนไม่พอ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า