Search
Close this search box.
ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน

“ระบบลำไส้กับภูมิคุ้มกัน” อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม

ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม ภูมิตก สิวเรื้อรัง อ้วนง่าย หลงลืม อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ท้องผูก วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังนะคะ ว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง

ในยุค New Normal หลายคนเริ่มดูแลสุขภาพ และระมัดระวังตัวกันมากขึ้น นอกจาก DMHTTA  การฉีดวัคซีน  และการปฎิบัติตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำไว้ ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรจะละเลย นั่นก็คือ การดูแลสุขภาพลำไส้ค่ะ

หลายคนอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า You are what you eat หรือ  “All disease begins in the gut” – It’s a quote attributed to the Ancient Greek physician Hippocrates nearly 2500 years ago วันนี้ งานวิจัยหลายชิ้นได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง

เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่า ลำไส้ หรือระบบทางเดินอาหารทำหน้าที่แค่ “ย่อย” และดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้เท่านั้น แต่ปัจจุบันเราพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ และเซลล์บริเวณผนังลำไส้บางชนิด มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันค่ะ ทั้งภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (innate immune) และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive immune) นอกจากนี้ เซลล์บางชนิดในลำไส้ (enterochromaffin cells) ยังทำหน้าที่สร้าง สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin กว่า 80% ของทั้งหมดที่ร่างกายสร้างได้ ซึ่งมากกว่าการผลิตออกมาจากสมองเสียอีก

ในบางรายที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน มีท้องผูกสลับท้องเสีย หรือบางคนที่มีอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ  ก็จะมีอาการร่วมกับอารมณ์แปรปรวนไปด้วยเช่นกัน เนื่องกระทบต่อการสารเซโรโทนิน ที่ร่างกายเราผลิตได้ค่ะ

ดังนั้น เราเริ่มมองเห็นแล้วใช่ไหมคะว่าสุขภาพ ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน มีความสำคัญมากจริงๆ

หากตอนนี้เราอยากมีสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง หมอก็มีคำแนะนำง่ายๆ มาฝากนะคะ 

1. ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย และเพียงพอ ทั้งสารอาหารหลักและสารอาหารรอง ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และสารอาหารรอง ได้แก่ วิตามินและเกลือแร่นอกจากนี้ควรจะดื่มน้ำเป็นประจำและเพียงพอ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน หากไม่มีข้อห้าม

และ ควรจะงดหรือลดอาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูง รวมไปถึงสารให้ความหวานแทนน้ำตาลด้วยนะคะ เนื่องจากว่าสารเหล่านี้จะไปกวนการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ และนอกจากยังทำให้ก่อการอักเสบในร่างกายซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดเพี้ยนไปค่ะ

2. ควรขับถ่ายเป็นเวลา และทุกวัน เพื่อป้องกันการสะสมและการคั่งค้างของสารพิษในร่างกายนะคะ ซึ่งในแต่ละคนอาจจะมีเวลา และจำนวนครั้งในการขับถ่ายที่แตกต่างกันได้ค่ะ

3. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่ง WHO ได้แนะนำไว้ว่า เราควรจะออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรือ 30-60 นาที เฉลี่ย 3-5 วัน ต่อสัปดาห์

ภูมิคุ้มกันดีอยู่ที่ลำไส้ จริงหรือ? | WHAT THE HEALTH คิดตามหมอ by W9 Wellness

4. ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอและมีคุณภาพการนอนที่ดี เราจะสังเกตได้ง่ายๆ นะคะ ถึงคุณภาพการนอนที่ดีก็คือ นอนตื่นมาเราจะสดชื่น ไม่เพลีย หรือง่วงระหว่างวันค่ะ

5. เราควรจะมีการเสริมโพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ตัวดีที่เหมาะกับเราค่ะ ซึ่งจะมีแนะนำเพิ่มเติมในคลิปและบทความถัดไปนะคะ

6. ควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพลำไส้  เพื่อจะได้วางแผนการดูแลรักษาและการดูแลได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และตรงจุดค่ะ ซึ่งในแต่ละบุคคลก็อาจจะมีการดูแลที่แตกต่างกันไปนะคะ 

อยากมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ให้เริ่มต้นดูแลสุขภาพลำไส้กันนะคะ

อาการที่บ่งบอกว่าลำไส้ผิดปกติ

อาการที่หลายๆ คนก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเกี่ยวข้องกับระบบลำไส้โดยตรง อย่างเช่น เรื่องของท้องอืด ท้องผูกสลับท้องเสีย ท้องเสียเรื้อรัง  อย่างนี้เราจะรู้กันอยู่แล้วว่าเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ เราก็จะมาหาหมอ แต่ว่ามันก็จะมีอาการที่หลายๆ คนอาจจะไม่ได้กังวลว่า หรือไม่ได้คิดเลยว่ามันจะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของลำไส้ ก็อย่างเช่น

  • เรื่องของอารมณ์ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เหวี่ยง
  • เรื่องของสิว ผิวมัน ก็อาจจะเกี่ยวข้องกับลำไส้ได้
  • เรื่องของอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น ก็ควรจะมาเช็คด้วยนะคะ
  • เรื่องของภาวะการอักเสบในร่างกาย ข้ออักเสบ หรือว่าภูมิคุ้มกันที่บกพร่องไป ป่วยง่าย อาการแบบนี้คนมักจะไม่รู้ว่าเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ด้วยค่ะ

โรคที่เกี่ยวข้องกับลำไส้

โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของลำไส้เหมือนอย่างที่ Hippocrates ได้กล่าวไว้ว่า “All disease begins in the gut” เมื่อ 2500 ปีที่แล้ว ซึ่งจริงๆ ตอนนี้ก็พบว่ามีหลายโรคที่เกี่ยวเนื่องกับลำไส้สำคัญๆ เลยที่เราเจอกันเยอะๆ ก็คือโรค NCDs หรือ non-communicable diseases โรคเหล่านี้ เป็นปัจจัยหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับลำไส้

  • ระบบการเผาผลาญ เรื่องของฮอร์โมน แล้วก็เรื่องของหลอดเลือดต่างๆ
  • เรื่องของโรคข้ออักเสบ
  • เรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น สะเก็ดเงิน SLE หรือบางคนก็จะมีเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันที่มีความเกี่ยวข้องกับลำไส้โดยตรง เช่น Celiac Disease
  • เรื่องของความจำ การหลงลืม อัลไซเมอร์ดีเมนเชีย จริงๆ แล้วมีความเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ด้วย

ดังนั้น อย่างที่บอกเลยว่า ถ้าเรามีโรคอะไรเกิดขึ้นมาหรือมีอะไรผิดปกติ อย่าลืม “เช็คลำไส้” ของเราด้วย

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพลำไส้และระบบทางเดินอาหารสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ W9 wellness center ได้เลยค่ะ

พญ. จุฑามาศ ค้าทอง (หมอตุ๊กตา)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารปนเปื้อน การปนเปื้อนของฮอร์โมน (Hormone) ในอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์

วันโรคอ้วนโลก (World Obesity Day) ถูกตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2015

ฮอร์โมนเพศชาย ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำงานในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่าฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้วฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายส่วนอื่นด้วย เช่น ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เบื่อหน่าย เหนื่อยเพลีย นอนหลับยาก ขาดความกระตือรือร้น อารมณ์ทางเพศที่ลดลง หรือน้อยชายไม่แข็ง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศชายเริ่มต่ำลง ดังนั้นการ ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย จึงช่วยวางแผนการรักษาให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากอะไร ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดจากความเครียด อาการเจ็บป่วย การกินอาหารที่ไม่ดีพอ ขาดการออกกำลัง รวมถึงการเป็นโรคอ้วน โรคตับ ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ซึ่งอาการความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจไม่ชัดเจนมากนัก ในบางคนอาจมีปัญหาอ้วนลงพุงง่าย มีเต้านมคล้ายผู้หญิง มีปัญหาต่อมลูกหมากโต มีอาการเหนื่อยเพลียง่าย ออกกำลังกายไม่ค่อยไหว กล้ามเนื้อลีบ รวมถึงมีปัญหาเรื่องเซ็กส์เสื่อมได้ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนไม่สมดุล ยกตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าปกติแล้วเวลาผู้ชายตื่นนอนจะเกิดการแข็งตัวขององคชาตเองอัตโนมัติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การแข็งตัวขององคชาตเปลี่ยนไปจากทุกวันเหลือ 5 วัน หรือ […]

thThai