ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน

“ระบบลำไส้กับภูมิคุ้มกัน” อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม

ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม ภูมิตก สิวเรื้อรัง อ้วนง่าย หลงลืม อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย ท้องผูก วันนี้หมอจะมาเล่าให้ฟังนะคะ ว่ามันเกี่ยวข้องกันยังไง

ในยุค New Normal หลายคนเริ่มดูแลสุขภาพ และระมัดระวังตัวกันมากขึ้น นอกจาก DMHTTA  การฉีดวัคซีน  และการปฎิบัติตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขได้แนะนำไว้ ยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรจะละเลย นั่นก็คือ การดูแลสุขภาพลำไส้ค่ะ

หลายคนอาจจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า You are what you eat หรือ  “All disease begins in the gut” – It’s a quote attributed to the Ancient Greek physician Hippocrates nearly 2500 years ago วันนี้ งานวิจัยหลายชิ้นได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นเรื่องจริง

เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่า ลำไส้ หรือระบบทางเดินอาหารทำหน้าที่แค่ “ย่อย” และดูดซึมสารอาหารให้ร่างกายนำไปใช้เท่านั้น แต่ปัจจุบันเราพบว่า จุลินทรีย์ในลำไส้ และเซลล์บริเวณผนังลำไส้บางชนิด มีส่วนช่วยควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันค่ะ ทั้งภูมิคุ้มกันที่มีมาแต่กำเนิด (innate immune) และภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะ (adaptive immune) นอกจากนี้ เซลล์บางชนิดในลำไส้ (enterochromaffin cells) ยังทำหน้าที่สร้าง สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin กว่า 80% ของทั้งหมดที่ร่างกายสร้างได้ ซึ่งมากกว่าการผลิตออกมาจากสมองเสียอีก

ในบางรายที่มีภาวะลำไส้แปรปรวน มีท้องผูกสลับท้องเสีย หรือบางคนที่มีอาการปวดท้องเป็นๆ หายๆ  ก็จะมีอาการร่วมกับอารมณ์แปรปรวนไปด้วยเช่นกัน เนื่องกระทบต่อการสารเซโรโทนิน ที่ร่างกายเราผลิตได้ค่ะ

ดังนั้น เราเริ่มมองเห็นแล้วใช่ไหมคะว่าสุขภาพ ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน มีความสำคัญมากจริงๆ

หากตอนนี้เราอยากมีสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง หมอก็มีคำแนะนำง่ายๆ มาฝากนะคะ 

1. ควรรับประทานอาหารที่หลากหลาย และเพียงพอ ทั้งสารอาหารหลักและสารอาหารรอง ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และสารอาหารรอง ได้แก่ วิตามินและเกลือแร่นอกจากนี้ควรจะดื่มน้ำเป็นประจำและเพียงพอ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน หากไม่มีข้อห้าม

และ ควรจะงดหรือลดอาหารที่มีน้ำตาลปริมาณสูง รวมไปถึงสารให้ความหวานแทนน้ำตาลด้วยนะคะ เนื่องจากว่าสารเหล่านี้จะไปกวนการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ และนอกจากยังทำให้ก่อการอักเสบในร่างกายซึ่งจะไปรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดเพี้ยนไปค่ะ

2. ควรขับถ่ายเป็นเวลา และทุกวัน เพื่อป้องกันการสะสมและการคั่งค้างของสารพิษในร่างกายนะคะ ซึ่งในแต่ละคนอาจจะมีเวลา และจำนวนครั้งในการขับถ่ายที่แตกต่างกันได้ค่ะ

3. ควรออกกำลังกายเป็นประจำ ซึ่ง WHO ได้แนะนำไว้ว่า เราควรจะออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ หรือ 30-60 นาที เฉลี่ย 3-5 วัน ต่อสัปดาห์

ภูมิคุ้มกันดีอยู่ที่ลำไส้ จริงหรือ? | WHAT THE HEALTH คิดตามหมอ by W9 Wellness

4. ควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอและมีคุณภาพการนอนที่ดี เราจะสังเกตได้ง่ายๆ นะคะ ถึงคุณภาพการนอนที่ดีก็คือ นอนตื่นมาเราจะสดชื่น ไม่เพลีย หรือง่วงระหว่างวันค่ะ

5. เราควรจะมีการเสริมโพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์ตัวดีที่เหมาะกับเราค่ะ ซึ่งจะมีแนะนำเพิ่มเติมในคลิปและบทความถัดไปนะคะ

6. ควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพลำไส้  เพื่อจะได้วางแผนการดูแลรักษาและการดูแลได้อย่างเหมาะสม ถูกต้อง และตรงจุดค่ะ ซึ่งในแต่ละบุคคลก็อาจจะมีการดูแลที่แตกต่างกันไปนะคะ 

อยากมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี ให้เริ่มต้นดูแลสุขภาพลำไส้กันนะคะ

อาการที่บ่งบอกว่าลำไส้ผิดปกติ

อาการที่หลายๆ คนก็น่าจะรู้อยู่แล้วว่าเกี่ยวข้องกับระบบลำไส้โดยตรง อย่างเช่น เรื่องของท้องอืด ท้องผูกสลับท้องเสีย ท้องเสียเรื้อรัง  อย่างนี้เราจะรู้กันอยู่แล้วว่าเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ เราก็จะมาหาหมอ แต่ว่ามันก็จะมีอาการที่หลายๆ คนอาจจะไม่ได้กังวลว่า หรือไม่ได้คิดเลยว่ามันจะเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของลำไส้ ก็อย่างเช่น

  • เรื่องของอารมณ์ หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า เหวี่ยง
  • เรื่องของสิว ผิวมัน ก็อาจจะเกี่ยวข้องกับลำไส้ได้
  • เรื่องของอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น ก็ควรจะมาเช็คด้วยนะคะ
  • เรื่องของภาวะการอักเสบในร่างกาย ข้ออักเสบ หรือว่าภูมิคุ้มกันที่บกพร่องไป ป่วยง่าย อาการแบบนี้คนมักจะไม่รู้ว่าเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ด้วยค่ะ

โรคที่เกี่ยวข้องกับลำไส้

โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของลำไส้เหมือนอย่างที่ Hippocrates ได้กล่าวไว้ว่า “All disease begins in the gut” เมื่อ 2500 ปีที่แล้ว ซึ่งจริงๆ ตอนนี้ก็พบว่ามีหลายโรคที่เกี่ยวเนื่องกับลำไส้สำคัญๆ เลยที่เราเจอกันเยอะๆ ก็คือโรค NCDs หรือ non-communicable diseases โรคเหล่านี้ เป็นปัจจัยหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับลำไส้

  • ระบบการเผาผลาญ เรื่องของฮอร์โมน แล้วก็เรื่องของหลอดเลือดต่างๆ
  • เรื่องของโรคข้ออักเสบ
  • เรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน เช่น สะเก็ดเงิน SLE หรือบางคนก็จะมีเรื่องของระบบภูมิคุ้มกันที่มีความเกี่ยวข้องกับลำไส้โดยตรง เช่น Celiac Disease
  • เรื่องของความจำ การหลงลืม อัลไซเมอร์ดีเมนเชีย จริงๆ แล้วมีความเกี่ยวเนื่องกับลำไส้ด้วย

ดังนั้น อย่างที่บอกเลยว่า ถ้าเรามีโรคอะไรเกิดขึ้นมาหรือมีอะไรผิดปกติ อย่าลืม “เช็คลำไส้” ของเราด้วย

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับสุขภาพลำไส้และระบบทางเดินอาหารสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ W9 wellness center ได้เลยค่ะ

พญ. จุฑามาศ ค้าทอง (หมอตุ๊กตา)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเริมกับงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่มที่เรียกว่า ไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes simplex) แม้ว่าจะเป็นคนละชนิดกัน แต่ก็อยู่ในกลุ่มเชื้อตัวเดียวกัน โดยอาการของโรคเริมจะเป็นตุ่มใส แตกหรือไม่แตกก็ได้ มีอาการค่อนข้างปวดแสบปวดร้อน จะขึ้นบ่อยๆ ที่ริมฝีปาก เนื้อเยื่อข้างในปาก หรือว่าอวัยวะเพศ ส่วนโรคงูสวัดจะเป็นตามตัว สามารถเป็นได้ทั้งร่างกายเลย ทั้งที่หน้า จมูก ตา แขน หลัง ไหล่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแค่ข้างเดียว จะมีลัษณะเป็นปื้นยาวๆ แต่ที่เป็นลักษณะแบบนั้น ส่วนนึงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มันเข้าไปที่ปลายประสาท หรือเส้นประสาท มันก็เลยมีลักษณะออกไปเป็นแบบยาวๆ ในปัจจุบันมีทางเลือกในการ รักษาโรคเริม กับงูสวัด ด้วยโอโซนบำบัด อย่างที่เรารู้ว่ากันว่าเชื้อเริมหรืองูสวัด รักษาค่อนข้างยาก แล้วอยู่กับเราค่อนข้างนาน บางคนติดเชื้อมาอาจจะไม่มีอาการไปหลายปีเลยก็ได้ แล้ววันดีคืนดีที่เราแบบเครียดมาก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ภูมิต้านทานตก อาการดังกล่าวก็แบบโผล่ขึ้นมา กับอีกบางคนเป็นบ่อย การที่เป็นบ่อยๆ แสดงว่าภูมิต้านทานไม่ค่อยดี อันนี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายเราภูมิต้านทานเริ่มตก เพราะว่าเราเป็นเริมบ่อย ถือว่าสุขภาพเราเริ่มแย่ เป็นการสะท้อนระบบภูมิต้านทานของเราจากภายใน แนวทางการป้องกันการติดเชื้อไวรัส การป้องกันการเกิดอาการ หรือการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสทุกชนิด รวมถึงไวรัสเฮอร์ปีส์ด้วย คือที่เราต้องทำให้ระบบภูมิต้านทานของเราดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวเบื้องต้น […]

ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ คือ สภาวะที่สมรรถภาพทางสมองมีการทำงานที่บกพร่องไป เช่น ด้านความจำ การตัดสินใจ การบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เจอได้บ่อยของกลุ่มภาวะ สมองเสื่อม อย่างเช่น บางคนที่เป็นสโตรก (Stroke) โรคหลอดเลือดสมองตีบ ก็ทำให้มีอาการของสมองเสื่อมได้เช่นกัน สำหรับในคนไทยเราก็พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปก็จะมีความเสี่ยง โรคสมองเสื่อม ได้ถึงร้อยละ 5 แล้วเมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปีขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะสมองเสื่อมถึงสองเท่า และเมื่อเราอายุ 80 ปี ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 หรือว่า 1 ใน 5 เลยทีเดียว สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ภาวะ สมองเสื่อม ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วก็สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ เช่น การขาดวิตามินบี 12 โรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ หรือภาวะที่มีน้ำคั่งในสมอง สาเหตุสมองเสื่อมจากการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก เช่น […]

มะเร็ง นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี เราพบคนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิดรวมกันปีละเกือบ 70,000 คน โดยทิ้งห่างจากโรคอื่นๆ ในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ทั้งนี้มะเร็งนั้นจัดอยู่ในกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีความรุนแรงมากที่สุด และอีกวิธีคือการ ตรวจวิตามินดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง คำแนะนำเพื่อป้องกันมะเร็ง สิ่งที่หมออยาก “เน้นย้ำ” กับทุกคนเกี่ยวกับสาเหตุของโรคมะเร็ง ก็คือ จริงๆ แล้วโรคมะเร็งนั้นมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม (Genetics) น้อยมาก พบเพียง 10% โดยเฉลี่ย ที่เหลืออีกมากกว่า 90% มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่พันธุกรรม (Epigenetics) สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งเราทราบกันดีอยู่แล้ว ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และอาหารปิ้งย่าง ไม่ทานผักผลไม้ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา โรคอ้วน การติดเชื้อเรื้อรัง ความบกพร่องของภูมิคุ้มกัน รวมถึงความเครียดเรื้อรังด้วย มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับวิตามินดีในเลือดกับอัตราการเกิดมะเร็ง แล้วพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญจริงๆ โดยกลุ่มคนที่มีระดับวิตามินดีต่ำ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่ากลุ่มที่มีระดับวิตามินดีสูง จึงสรุปได้ว่า ภาวะขาดวิตามินดีเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งมากกว่า 20 ชนิด การ ตรวจวิตามินดี […]