ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
นอนไม่พอ

นอนไม่พอ นอนไม่หลับ อาจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้

การนอนหลับช่วยซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ดีขึ้น แต่การ นอนไม่พอ ก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า นอนกรน ง่วงซึมมากระหว่างวัน ไม่มีสมาธิระหว่างการทำงาน โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน ภาวะวิตกกังวล รวมถึงอุบัติเหตุ เป็นต้น

นอนไม่พอ อาจเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในลำไส้

เมื่อก่อนเราจะรู้กันแค่ว่า “ลำไส้” ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการ “ย่อยอาหาร” แต่จริงๆ แล้วเนี่ย ลำไส้ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการนอนด้วย เนื่องจากลำไส้ของเรา สามารถสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้ถึง 80-90% ของ Serotonin ที่ร่างกายเราสร้างได้ในร่างกาย จึงเปรียบลำไส้เสมือนสมองที่ 2 ของเราได้เลย

โดยมีผู้อยู่เบื้องหลังก็คือจุลินทรีย์ในลำไส้นั่นเอง จุลินทรีย์ในลำไส้มีมากถึง 100 ล้านล้านตัว หรือเทียบเป็นน้ำหนักก็ประมาณ 2 กิโลกรัมเลยทีเดียว

นอนไม่พอ

ดังนั้น เมื่อจุลินทรีย์ในลำไส้เสียทำงานได้อย่างสมดุล ก็จะทำให้มีการสร้างสารที่ชื่อว่า Short Chain Fatty Acid  หรือไขมันเส้นเล็กๆ มากระตุ้นการทำงานของเซลล์ในลำไส้ซึ่งชื่อว่า  EC Cell (Enterochromaffin Cells) โดย EC Cell ก็จะทำงานในการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันแล้วก็เกี่ยวกับสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ด้วย

เมื่อไรที่ร่างกายของเรามีความไม่สมดุลในการทำงานของจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็จะทำให้สารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำงานได้ไม่สมดุลได้เหมือนกัน มีผลทำให้การนอนของเรามีปัญหาได้ อย่างเช่น

  • นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อย (หลับๆ ตื่นๆ)
  • หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
  • รู้สึกอ่อนเพลีย
  • ไม่มีสมาธิในการทำงาน ตื่นมาไม่สดชื่น

แล้วก็นอนจากนี้จะมีผลเกี่ยวกับเรื่องของอารมณ์ด้วย อย่างเช่น 

  • หงุดหงิดง่าย 
  • ซึมเศร้า 
  • หรืออารมณ์แปรปรวนได้
นอนไม่พอ

แต่หากพบอาการอย่างใดอย่างหนึ่งมากกว่า 2 สัปดาห์ ให้สงสัยไว้ว่าเรากำลังมีภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง นอนไม่พอ และควรเข้ารับคำปรึกษา ที่ปลอดภัยและเหมาะสมต่อไป

เมื่อไรก็ตามที่เรามีอาการเหล่านี้ร่วมกับปัจจัยเสี่ยงที่หมอกำลังจะบอกนั่นก็คือ

  1. ความเครียดสะสม
  2. อาหาร โดยเฉพาะของหวาน สารให้ความหวานแทนน้ำตาล อาหารแปรรูป
  3. สารพิษ สารโลหะหนัก พลาสติก ที่ปนเปื้อนมากับอาหาร น้ำดื่ม เมคอัพ โลชั่น
  4. ยา โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ยาลดกรด

เมื่อเราละเลยเป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้เกิดความไม่สมดุลได้ แล้วก็จะมีผลต่อการสร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่าสารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้เหมือนกัน

และนอกจากปัญหาการนอนที่ส่งผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารโดยตรงแล้ว ชนิดของอาหาร เช่น อาหารประเภทไขมัน แอลกอฮอล์ และการับประทานอาหารผิดเวลา ล้วนเป็นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร จากการรบกวนนาฬิกาชีวิตของเรานั่นเอง

นอนไม่พอ

ดังนั้น ใครที่มีอาการร่วมด้วยกับปัจจัยเหล่านี้ หมอก็แนะนำให้มาตรวจเช็กความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อที่ว่าเราจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้องแล้วก็ต้องจุด

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ครับว่า วิตามินดี เกี่ยวข้องอะไรกับภูมิคุ้มกัน วิตามินดี มีส่วนช่วยสร้างและควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวทุกชนิด

หาไม่ได้บนโลกใบนี้ค่ะ คือคุณจะไปหากินที่ไหนก็ไม่ได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่แม่มอบให้กับลูก เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายจากร่างกายของเราเอง มอบไปสู่ลูก “กินโพรไบโอติกส์ ตอนไหนให้เห็นผล” จุลินทรีย์กับความเป็นแม่ สำหรับแม้ว จุลินทรีย์กับความเป็นแม่เป็นสิ่งที่สำคัญมาก แม้วเริ่มต้นจากตอนที่ท้องลูกสาว แม้วเป็นคนกลัวเจ็บมากที่สุดบนโลกใบนี้ ตอนที่รู้ว่าท้องเนี่ย บอกคุณหมอว่า ทำยังไงก็ได้นะคะที่ไม่ให้เจ็บ จะบล็อคหลัง ฉีดยาอะไรให้เราคลอด โดยที่เราไม่รู้สึกเจ็บเลย แต่คุณหมอบอกว่าการคลอดธรรมชาติเนี่ย มันจะมีจุลินทรีย์ที่ดีมากๆ เลย ที่เราจะมอบให้ลูก ซึ่งเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายที่เราจะให้ลูกก่อนที่เค้าจะออกมาบนโลกใบนี้ค่ะ นอกจากที่จุลินทรีย์ตอนคลอดแล้วก็ยังมีจุลินทรีย์ในน้ำนมแม่ ซึ่งมีส่วนสำคัญมากสำหรับลูกของเรานะคะ คือแม้วให้นมแม่กับลูก 5 ปีเต็ม (ร้อยเปอร์เซ็นต์) แล้วลูกสาวก็เป็นเด็กที่แข็งแรงมากๆ เลยค่ะ สิ่งที่สามที่แม้วโฟกัสหลังจากนั้นก็คือ โภชนาการ หลังจากเค้าเริ่มอาหารเสริม คือโภชนาการเนี่ยมันจะควบคู่กันระหว่าง Educational กับ Lifestyle น้ำตาลเนี่ยคือศัตรูตัวร้ายฉกาจสุดๆ สำหรับจุลินทรีย์เลย เพราะมนุษย์เรามีอวัยวะ 32 ครบ แต่ใน 32 นั้นเนี่ย มันก็สอดแทรกด้วยจุลินทรีย์ทั้งหมดเนี่ย 90% เพราะฉะนั้นก็ค่อยๆ สอดแทรกให้เค้าไป ให้เค้าเรียนรู้จากการที่เราทำให้เค้าดูค่ะ แล้วก็อีกอย่างคือแม้วจะเลือกทำอาหารที่สด เราจะไม่ให้เค้าทานพวกอาหารแปรรูปทั้งหลายแหล่ เพราะว่ากว่าจะออกมาเป็นอาหารแปรรูปได้ขนาดนี้ มันก็ต้องผ่านกระบวนการเยอะ […]

“มะพร้าวอ่อน” (Young Coconut) ถือว่าผลไม้ที่หาได้ง่ายในประเทศไทย หากเราลองสังเกตดูมะพร้าวอ่อนมักถูกใช้เป็นสัญลักษณ์ของความสดชื่นในฤดูร้อน