ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

3 ไอเดียขนมหวาน Healthy snack style wellness

จะกินแต่ขนมห่อ ขนมเค้ก ขนมปัง ไอศกรีม ก็รู้สึกเกรงใจร่างกายนิดนึง แต่ชีวิตก็ขาดหวานไม่ได้ ว่างๆ เรามานั่งหาไอเดียใหม่ๆ กัน เพิ่มความสนุกสดชื่นให้กับชีวิต WFH – Work From Home ในยุคนี้กันดีกว่า #อยู่บ้าน #ทำเองได้ #ไม่จำเจ

1. ธัญพืชน้ำกะทิ

เมนูขนมไทยสุด Basic ทำง่าย เน้นธัญพืชเต็มๆ ซื้อธัญพืชพวก ลูกเดือย เม็ดบัว ถั่วแดง ถั่วดำ แปะก๊วย ข้าวโพด งา มาต้มให้สุก แล้วคลุกรวมกัน เพื่อรสสัมผัสที่ดี ก็ราดหัวกะทิลงไปซักครึ่งช้อน จบด้วยโรยงา หรือมะพร้าว on top ด้วยก็ได้ เมนูนี้สามารถดัดแปลงส่วนผสมได้หลากหลาย ตามความชอบใจ ไม่ว่าจะเป็น เต้าส่วน ถั่วเขียวต้ม ลูกเดือยเผือกเปียกกะทิสด หรือเต้าทึงก็ได้ แต่หัวใจสำคัญคือ เน้นหนักที่ธัญพืช และเลือกใช้น้ำตาลดอกมะพร้าวเพียงเล็กน้อยก็จะได้เมนูอร่อย และ ดีต่อสุขภาพแล้วนะจ๊ะ

2. กรานิต้าธัญพืช (หวานเย็น)

เมนูต่อมา เอาใจคนติดของเย็น ล้างปากหลังอาหาร เริ่มจากทำกรานิต้า จากน้ำเสาวรสผสมกับน้ำผึ้ง แช่ช่องแข็งไว้ พอได้ที่ก็เตรียมธัญพืช ลูกเดือย เม็ดบัว ถั่วแระญี่ปุ่น ข้าวโพดหวาน ถั่วแดงต้ม ลูกเกด จัดใส่ถ้วยเกร๋ๆ แล้ว scoop granita มาวาง จบงานตบแต่งด้วยใบสะระแหน่ พร้อมชักภาพลง IG แล้วก็สดชื่นกับของหวานสุด healthy no guilty แบบไร้น้ำตาลกันได้เลย   

3. โยเกิร์ตกราโนล่าเบอร์รี่

เป็นอีกเมนูสุด Classic ในยุคนี้ ที่สามารถดัดแปลงรูปแบบและรสชาติได้ค่อนข้างหลากหลาย โดยสามสารถเปลี่ยนวัตถุดิบ ทั้งกราโนล่า หลากหลาย texture หรืออยากเพิ่ม extra ถั่วที่ชอบเข้าไปก็ได้ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ก็อาจเปลี่ยนเป็นผลไม้อื่นๆ เช่น ส้ม แอปเปิ้ล มะม่วง กีวี วุ้นมะพร้าว หรือลูกพีช ก็จะได้รสชาติใหม่ๆ ไม่จำเจ รูปแบบการทำใหม่ๆ ก็สามารถทดลองทำกันได้ เช่น ทำเป็น bark หรือเสียบไม้ใส่แท่งไอศกรีม หรือเสิร์ฟในแก้วกาแฟ ก็ได้ความสนุกและอร่อยไปอีกแบบ

“หลีกเลี่ยงการเสพติดน้ำตาล ถึงชีวิตจะขาดหวานไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะกินของหวานที่ไม่ก่อให้เกิดโทษกับร่างกายได้นะ”

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

วิตามินดี ไม่ใช่แค่เรื่องกระดูกและฟัน แต่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน (ภูมิต้านทาน) ของร่างกาย

ฮอร์โมนเพศชาย ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำงานในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่าฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้วฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายส่วนอื่นด้วย เช่น ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เบื่อหน่าย เหนื่อยเพลีย นอนหลับยาก ขาดความกระตือรือร้น อารมณ์ทางเพศที่ลดลง หรือน้อยชายไม่แข็ง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศชายเริ่มต่ำลง ดังนั้นการ ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย จึงช่วยวางแผนการรักษาให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากอะไร ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดจากความเครียด อาการเจ็บป่วย การกินอาหารที่ไม่ดีพอ ขาดการออกกำลัง รวมถึงการเป็นโรคอ้วน โรคตับ ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ซึ่งอาการความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจไม่ชัดเจนมากนัก ในบางคนอาจมีปัญหาอ้วนลงพุงง่าย มีเต้านมคล้ายผู้หญิง มีปัญหาต่อมลูกหมากโต มีอาการเหนื่อยเพลียง่าย ออกกำลังกายไม่ค่อยไหว กล้ามเนื้อลีบ รวมถึงมีปัญหาเรื่องเซ็กส์เสื่อมได้ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนไม่สมดุล ยกตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าปกติแล้วเวลาผู้ชายตื่นนอนจะเกิดการแข็งตัวขององคชาตเองอัตโนมัติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การแข็งตัวขององคชาตเปลี่ยนไปจากทุกวันเหลือ 5 วัน หรือ […]

โรคมะเร็งเต้านม คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย โดยในช่วงชีวิตของผู้หญิงไทย 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็น “โรคมะเร็งเต้านม” และมีผู้หญิงไทยตายด้วยโรคมะเร็งเต้มนมเฉลี่ยวันละ 12 คน แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษา แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษาในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นจะมีโอกาสรักษาให้กลับมาปกติได้สูง ซึ่งเราสามารถทำการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้วินิจฉัยและสามารถรักษาได้ทันท่วงที รู้จักและเข้าใจ มะเร็งเต้านม ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอใครได้ยินก็มีความกลัวกันทั้งนั้น โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่ถือเป็นภัยเงียบที่พบได้มากที่สุด โดยมะเร็งเต้านมนั้นเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ เหนือการควบคุมของร่างกายและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักเกิดที่ภายในท่อน้ำนม และสามารถกระจายออกจากท่อน้ำนม ไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้และอวัยวะอื่นๆ ที่ไกลออกไป ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม แม้ว่าโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่ฮอร์โมนเพศหญิงเองก็มีความสัมพันธ์ในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า ช่วงเวลาในการมีประจำเดือน โดยพบว่าผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจำเดือนช้า มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจำเดือนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น ใครมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป […]