ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง

เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง ตรวจก่อน รู้ก่อน ป้องกันได้

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ.2030 จะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น 21.4 ล้านคน และคาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตราว 13 ล้านคน สำหรับประเทศไทย โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดในสมอง เราสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการ เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง ทุกปี

ความเสี่ยงโรคมะเร็ง

เอกสารอ้างอิง : วารสารกรมการแพยท์ 

โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ส่วนมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปอด

เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง สาเหตุของการเกิดมะเร็ง

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอก ไม่ใช่เรื่องของพันธุกรรมในครอบครัวเพียงอย่างเดียว เพราะในปัจจุบันเราพบว่าการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป โดยเฉพาะคนในเมืองที่มีความเครียดเพิ่มมากขึ้น พักผ่อนน้อย รับประทานอาหารไขมันสูง ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ จึงทำให้มีกลุ่มคนที่เป็นโรคมะเร็งเพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี

โรคมะเร็ง

สัญญาณอันตรายเสี่ยงมะเร็ง

  • ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนไป มีอาการท้องผูกสลับท้องเดินเรื้อรัง อาจเป็นมะเร็งลําไส้ใหญ่และทวารหนักได้ หากผผู้ชายปัสสาวะขัดเป็นประจำก็อาจเสี่ยงต่อมะเร็งต่อมลูกหมากได้
  • เมื่อเกิดแผลแล้วไม่รู้จักหายเสียที หากมีแผลในปากเรื้อรัง อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งช่องปาก มีแผลเรื้อรังที่ผิวหนังก็เสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนัง มีแผลเรื้อรังในกระเพาะอาหารก็อาจเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้
  • มีก้อนมีตุ่มตามร่างกาย หากเกิดขึ้นที่ขาหนีบ รักแร้ หรือที่คอเรื้อรัง อาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ รวมทั้งเป็นก่อนที่เต้านม ก็อาจเป็นมะเร็งเต้านมได้
  • กลืนอาหารไม่ลง ติดขัดเวลากลืน อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้ รวมทั้งท้องอืด ปวดท้องเรื้อรัง ก็เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งระบบทางเดินอาหารได้
  • ไฝ หรือ หูด ที่เปลี่ยนไป อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งผิวหนังได้
  • ไอและเสียงแหบเรื้อรัง อาจเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด มะเร็งกล่องเสียงได้

รู้หรือไม่ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็ง เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ ดังนั้น เราควรเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้

เสี่ยงโรคมะเร็ง

ไม่สูบบุหรี่

เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ไม่ดื่มสุรา

เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ลดเนื้อสัตว์เพิ่มผักผลไม้ และควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป

เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง

ตรวจสุขภาพเป็นประจำเพื่อคัดกรองหารอยโรคก่อนมะเร็ง

จากข้อมูลข้างที่กล่าวมา แสดงให้เห็นว่าตัวเราเองเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี หรือการหมั่นสังเกตตัวเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหรือไม่ ก็จะช่วยลดความเสี่ยง และป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้ ตรวจหาความเสี่ยงโรคมะเร็งตั้งแต่เนินๆ W9 Advance Cancer Screening (EDIM Technology) และยังทำให้เราทราบถึงโอกาสในการเกิดโรคซับซ้อน ที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็งชนิดต่างๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย หอบหืด เบาหวาน โดยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีความแม่นยำสูง

W9 Advance Cancer Screening (EDIM Technology)

เป็นการตรวจคัดกรองเนื้องอกหรือมะเร็งเพียงการทดสอบเดียว สามารถตรวจคัดกรองมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งตรวจคัดกรองได้เร็วกว่าการตรวจสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor marker) ด้วยเทคโนโลยีการตรวจหาความผิดปกติที่มีโอกาสกลายเป็นเนื้องอกหรือมะเร็งในร่างกาย โดยใช้ตัวบ่งชี้ APO10 และ TKTL1 ในแมคโครฟาจ (ทำหน้าที่จับกินสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย รวมถึงมะเร็ง เปรียบเสมือนรถขยะของร่างกาย)

เช็กความเสี่ยงโรคมะเร็ง

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฮอร์โมนเพศชาย ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำงานในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่าฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้วฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายส่วนอื่นด้วย เช่น ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เบื่อหน่าย เหนื่อยเพลีย นอนหลับยาก ขาดความกระตือรือร้น อารมณ์ทางเพศที่ลดลง หรือน้อยชายไม่แข็ง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศชายเริ่มต่ำลง ดังนั้นการ ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย จึงช่วยวางแผนการรักษาให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากอะไร ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดจากความเครียด อาการเจ็บป่วย การกินอาหารที่ไม่ดีพอ ขาดการออกกำลัง รวมถึงการเป็นโรคอ้วน โรคตับ ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ซึ่งอาการความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจไม่ชัดเจนมากนัก ในบางคนอาจมีปัญหาอ้วนลงพุงง่าย มีเต้านมคล้ายผู้หญิง มีปัญหาต่อมลูกหมากโต มีอาการเหนื่อยเพลียง่าย ออกกำลังกายไม่ค่อยไหว กล้ามเนื้อลีบ รวมถึงมีปัญหาเรื่องเซ็กส์เสื่อมได้ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนไม่สมดุล ยกตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าปกติแล้วเวลาผู้ชายตื่นนอนจะเกิดการแข็งตัวขององคชาตเองอัตโนมัติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การแข็งตัวขององคชาตเปลี่ยนไปจากทุกวันเหลือ 5 วัน หรือ […]

สาเหตุที่คนไทย ขาดวิตามินดี? ในสมัยก่อน คนไทยเราไม่ค่อยพบปัญหาของการ ขาดวิตามินดี

ยิ่งแก่ยิ่งท้องผูก ปัญหาท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยและเยอะในผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยพบ คนแก่ท้องผูก ถึง 20-25% เลยทีเดียว ซึ่งหากสังเกตุดูคนที่อายุเยอะๆ เราจะพบว่าพวกเขาเหล่านี้มีปัญหาเรื่องลำไส้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการย่อยอาหาร ท้องอืด ท้องผูก แล้วสาเหตุท้องผูกในผู้สูงอายุมีอะไรบ้าง และเราจะช่วยแก้ปัญหาท้องผูกในผู้สูงอายุยังไงกันดี แหล่งที่มาคนไทยท้องผูก กรมการแพทย์ ทำไมผู้สูงอายุถึงท้องผูก สาเหตุที่ คนแก่ท้องผูก ไม่ใช่ว่ากินไฟเบอร์ไม่พอเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่ระบบร่างกายมันเปลี่ยน การเผาผลาญเริ่มไม่ดี สมดุลฮอร์โมนไม่สมดุล เช่น การทำงานของไทรอยด์ลดลง รวมถึงสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ลดลง เพราะตั้งแต่อายุ 40+ ขึ้นไป โพรไบโอติกส์ ในลำไส้เริ่มลดลง ทำให้จุลินทรีย์ดังกล่าวทำงานได้ไม่ดี จึงเกิดอาการท้องผูกได้ง่ายขึ้นในผู้สูงอายุ เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้วก็ต้องมองย้อนกลับไปถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิต เราอาจจะเริ่มปรับอาหารการกิน ปรับการออกกำลังกาย การดื่มน้ำเปล่า และปรับสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เพราะถึงแม้เราจะคิดว่าเราทานอาหารที่เป็นออแกนิคทั้งหมด แต่อย่าลืมว่า ร่างกายของเราอาจจะไม่ได้เหมาะกับอาหารชนิดนั้นก็ได้ ยิ่งเราแก่ขึ้นร่างกายและระบบการย่อยอาหารก็ไม่เหมือนเดิมแล้ว การจะกินแบบเดิมก็อาจจะไม่ได้ผล เพราะสมดุลจุลินทรีย์ในร่างกายได้เปลี่ยนไปแล้ว และถ้าจะให้ดีก็แนะนำว่าควรที่จะตรวจสมดุลจุลินทรีย์ จะได้รู้ว่าร่างกายขาดจุลินทรีย์ตัวไหน เราก็จะได้เสริมให้ตรงกับร่างกายและอาการที่เราเป็น เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สาเหตุที่ผู้สูงอายุท้องผูกมีอะไรบ้าง การดูแลสุขภาพลำไส้ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากในผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน การออกำลังกาย และการรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในไล้ให้มีความสมดุล และถ้าเราสามารถรู้ได้ว่าร่างกายของเราขาดจุลินทรีย์ชนิดไหน […]