ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

MIND Diet อาหารลดเสี่ยงอัลไซเมอร์

อาหารบำรุงสมอง โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) เป็นภาวะสมองเสื่อม (dementia syndrome) ที่รักษาได้ไม่หายขาดโรคหนึ่งที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากความเสื่อมถอยของการทำงานหรือโครงสร้างของเนื้อเยื่อของสมอง และมักพบในผู้สูงอายุ เป็นความเสื่อมที่เกิดจากโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “เบต้า-อะไมลอยด์ (beta-amyloid)” ชนิดไม่ละลายน้ำ ซึ่งเมื่อไปจับกับเซลล์สมองจะส่งผลให้เซลล์สมองเสื่อมและฝ่อลง รวมถึงทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองเสียหายจากการลดลงของสารอะซีติลโคลีน (acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลโดยตรงกับความทรงจำ

การสะสมของเบต้า-อะไมลอยด์ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของสมองค่อยๆ ลดลง เริ่มจากสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ที่มีบทบาทสำคัญในการจดจำข้อมูลใหม่ๆ เมื่อเซลล์สมองส่วนนี้ถูกทำลาย ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาเรื่องความจำโดยเฉพาะความจำระยะสั้น จากนั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นจะแพร่กระจายไปสู่สมองส่วนอื่นๆ และส่งผลต่อการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิด ภาษา และพฤติกรรม

MIND Diet คืออะไร?

MIND Diet (Mediterranean-DASH Intervention for Neurodegenerative Delay) เป็นแนวทางการรับประทานอาหารที่ดัดแปลงมาจากการผสมผสานการกินแบบเมดิเตอร์เรเนียน กับการกินอาหารแบบ DASH Diet ซึ่งอาหารทั้ง 2 แบบนี้มีจุดประสงค์เพื่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ซึ่ง MIND Diet ถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบที่ “ดีที่สุด” หรือมีประสิทธิภาพมากที่สุดของอาหารเมดิเตอร์เรเนียนและ DASH Diet เลยทีเดียว

MIND Diet ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ได้จริงหรือ?

จากงานวิจัยทางการแพทย์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Alzheimer’s & Dementia: The Journal of the Alzheimer’s Association ที่รวบรวมคนอายุระหว่าง 58-98 ปี จำนวน 923 คน ให้รับประทานสูตรอาหาร 3 แบบคือ Mediterranean Diet, DASH Diet และ MIND Diet ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 4 ปีครึ่ง

พบว่า.. อาหารบำรุงสมอง ทั้ง 3 สูตรสามารถลดความเสี่ยงของอัลไซเมอร์ได้ ผู้ที่ทานอาหารสูตร Mediterranean Diet มีความเสี่ยงต่ออาการความจำเสื่อมลดลง 54% ผู้ที่ทาน DASH Diet มีความเสี่ยงลดลง 39% ส่วนผู้ที่ทานสูตร MIND Diet มีความเสี่ยงลดลง 53%

แต่ที่พิเศษกว่านั้นคือ ผู้ที่ทานสูตร Mediterranean Diet และ DASH Diet แบบไม่เคร่งครัด จะไม่ได้ประโยชน์ในด้านการลดความเสี่ยงของอัลไซเมอร์ แต่ผู้ที่ทานแบบ MIND Diet ถึงแม้จะทานแบบไม่เคร่งครัด ก็ยังลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์ลงถึง 35%

MIND Diet ต้องกินอย่างไร?

สูตรอาหารแบบ MIND Diet นี้เน้นที่ผลไม้จำพวกเบอร์รี่เป็นหลัก โดยเฉพาะบลูเบอร์รี่กับสตรอเบอร์รี่ ส่วนประกอบหลักๆของ MIND Diet คือ

10 อาหารที่ควรกิน

  • ผักใบเขียว เช่น ผักโขม ผักสลัด อย่างน้อย 6 หน่วยบริโภค/สัปดาห์
  • ผักอื่น ๆ อย่างน้อย 1 หน่วยบริโภค/วัน
  • ถั่วเปลือกแข็ง อย่างน้อย 5 หน่วยบริโภค/สัปดาห์
  • ผลไม้ตระกูลเบอร์รี 2 หน่วยบริโภคขึ้นไป/สัปดาห์
  • ถั่ว 3 หน่วยบริโภค/สัปดาห์
  • โฮลเกรน 3 หน่วยบริโภคขึ้นไป/วัน
  • ปลา หนึ่งหน่วยบริโภค/วัน
  • ไก่หรือสัตว์ปีก 2 ครั้ง/สัปดาห์
  • น้ำมันมะกอก ใช้เป็นน้ำมันทำอาหารแทนน้ำมันชนิดอื่น
  • ไวน์ 1 แก้ว/วัน

5 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

  • เนื้อแดง (ทานให้น้อยกว่า 4 หน่วยบริโภค/สัปดาห์)
  • เนยและมาการีน (ทานให้น้อยกว่า 1 ช้อนโต๊ะ/วัน)
  • ชีส (ทานให้น้อยกว่า 1 หน่วยบริโภค/สัปดาห์)
  • ขนมหวานทุกชนิด (ทานให้น้อยกว่า 5 หน่วยบริโภค/สัปดาห์)
  • อาหารทอดและฟาสต์ฟู้ด (ทานให้น้อยกว่า 1 หน่วยบริโภค/สัปดาห์)

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยทางการแพทย์อีกหลายฉบับที่ยืนยันว่า การบริโภคไขมันอิ่มตัว (saturated fats) และไขมันทรานส์ (trans fats) เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณ เบต้า-อะไมลอยด์ ที่เป็นสาเหตุของ โรคอัลไซเมอร์ นั้นเพิ่มขึ้น

จะเห็นได้ว่า ส่วนประกอบของ MIND Diet นั้น เน้นอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง และไขมันดี โดยหลีกเลี่ยงเนื้อแดง ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานส์ จึงช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ได้ค่อนข้างชัดเจน

สาขาที่ให้บริการ

  • สาขา โรงพยาบาลพระรามเก้า
    • เบอร์โทรศัพท์: 092-9936922
    • Line: @w9wellness
    • เวลาเปิด-ปิด: 08.00 – 17.00 น.
  • สาขา เพลินจิตเซ็นเตอร์
    • เบอร์โทรศัพท์: 099-4969626
    • Line: @wploenchit
    • เวลาเปิด-ปิด: 10.00 – 19.00 น.

References

  • https://alz-journals.onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1016/j.jalz.2014.11.009
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12580703
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24970568/
  • https://www.healthline.com/nutrition/mind-diet
  • https://www.nia.nih.gov/health/what-do-we-know-about-diet-and-prevention-alzheimers-disease

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนไม่หลับ นอนไม่ดี นอนไม่พอ ปัญหาสุขภาพของคนในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ

มีงานวิจัยหลายฉบับ พบว่าความอ้วนกับระดับ วิตามินดี ต่ำมีความสัมพันธ์กัน (Obesity

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2560 พบว่าการสูบบุหรี่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ

error: Content is protected !!