ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มะเร็งตับและท่อน้ำดี

มะเร็งตับและท่อน้ำดี ตรวจก่อน รู้ก่อน รักษาให้หายขาดได้

มะเร็งตับและท่อน้ำดี ถือเป็นมะเร็งที่พบเป็นอันดับ 1 ในเพศชาย และอันดับ 2 ในเพศหญิง จากข้อมูลทะเบียนมะเร็งประเทศไทย (ปี 2558) พบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อน้ำดีรายใหม่ 20,671 ราย ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 15,912 ราย ซึ่งมะเร็งตับที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ มะเร็งของเซลล์ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตับ โดยพบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ซึ่งเราสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งตับและท่อน้ำดีได้จากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การกิน และการตรวจคัดกรองมะเร็งเป็นประจำ

ที่มา : Thai Cancer News

ท่อน้ำดีคืออะไรและเกิดมะเร็งได้ยังไง

ท่อน้ำดีมีหน้าที่ลำเลียงน้ำดีจากตับเข้าไปเก็บที่ถุงน้ำดี และนำน้ำดีจากถุงน้ำดี ปล่อยลงสู่ลำไส้เล็กเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร มะเร็งท่อน้ำดีเกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดีที่เป็นเซลล์ปกติแล้วกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

สาเหตุหลักของมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย

เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในตับเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารปลาดิบที่ปนเปื้อนตัวพยาธิใบไม้ในตับ เช่น ปลาตะเพียน ปลาขาวน้อย ปลาแก้มช้ำ ปลาสร้อย ปลากระสูบ โดยทำเมนูก้อยปลาดิบ พล่าปลาดิบ ปลาส้ม ปลาร้าดิบ หรือปลาร้า โดยปลาดิบเหล่านี้จะมีตัวอ่อนพยาธิใบไม้ตับอาศัยอยู่ที่เนื้อปลาและเกล็ดใต้ครีบปลา ซึ่งตัวพยาธิใบใม้ในตับจะเข้าไปสะสมบริเวณท่อทางเดินน้ำดี และทำให้เกิดการอักเสบ เมื่อเกิดการอับเสบเรื้อรังจนทำให้เซลล์แบ่งตัวผิดปกติ ก็จะทำให้เกิดเซลล์มะเร็งตามมา

มะเร็งตับและท่อน้ำดี

หากสังเกตให้ดีจะพบว่า การรับประทานอาหารที่ปรุงจากปลาดิบนี้ พบได้บ่อยในประชากรที่อยู่ในภาคอีสาน ดังนั้น เราจึงพบว่าประชากรที่อยู่ในภาคอีสาน เป็นมะเร็งท่อน้ำดีมากกว่าภาคอื่น นอกจากนี้ การดื่มสุราเป็นประจำ การรับสารพิษอะฟลาทอกซินที่เกิดจากเชื้อราบางชนิดที่พบในอาหารประเภทถั่ว ข้าวโพด พริกแห้ง รวมถึงไวรัสตับอักเสบชนิดซี ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดมะเร็งตับได้

ชนิดของมะเร็งท่อน้ำดี

มะเร็งท่อน้ำดีแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือมะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ และมะเร็งท่อน้ำดีที่ขั้วตับ และภายนอกตับ

มะเร็งตับ
  • มะเร็งท่อน้ำดีภายในตับ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่มีอาการมากนัก เนื่องจากขนาดของก้อนยังมีขนาดเล็ก เมื่อขนาดของก้อนมีขนาดใหญ่มากขึ้น ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตาเหลือง ตัวเหลือง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มะเร็งท่อน้ำดีชนิดขั้วตับ หรือมะเร็งท่อน้ำดีที่อยู่ภายนอกตับ มะเร็งชนิดนี้ในระยะแรกอาจจะไม่มีอาการ เช่นเดียวกับมะเร็งท่อน้ำดีที่อยู่ภายในตับ แต่เมื่อขนาดของก้อนมีมากขึ้น หรือใหญ่ขึ้น ก็จะพบว่าผู้ป่วยมีอาการของท่อน้ำดีตีบ หรือท่อน้ำดีอุดตัน ได้แก่อาการตาเหลือง ตัวเหลือง อุจจาระสีซีด คันตามตัวโดยไม่มีผื่น ไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลด หรือมีไข้หนาวสั่น

อาการของ มะเร็งตับและท่อน้ำดี

อาการในระยะแรกส่วนใหญ่ที่พบ คือ แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดหรือเสียดชายโครงขวา อาจคลำพบก้อนในช่องท้อง ตัวเหลือง ตาเหลือง ท้องโต และมีอาการบวมบริเวณขาทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

การรักษามะเร็งตับและท่อน้ำดี

ปัจจุบันการรักษามะเร็งท่อน้ำดีสามารถรักษาให้หายขาดได้ ในกรณีที่มะเร็งท่อน้ำดีนั้นยังอยู่ในระยะเริ่มแรก แต่หากมะเร็งท่อน้ำดีเป็นระยะลุกลามแล้วก็จะเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการ โดยใช้เคมีบำบัดและการฉายแสง นอกจากนี้หากผู้ป่วยมีอาการตาเหลือง ตัวเหลืองมากๆ ก็จะแนะนำผู้ป่วยให้มีการระบายท่อทางเดินน้ำดี โดยการส่องกล้องหรือการใส่สายทางหน้าท้อง เพื่อระบายค่าเหลืองของผู้ป่วย เพื่อให้ผูป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น

มะเร็งท่อน้ำดี

และเทคโนโลยีทางการแพทย์ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าไปอย่างมาก การตรวจคัดกรองและการรักษาแบบทางเลือก ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ดีขึ้น ได้แก่ โปรแกรมตรวจคัดกรองเนื้องอกและมะเร็ง 51 ชนิด (W9 Advanced Cancer Screening Test) โปรแกรมตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคร้าย และ 21 โรคที่พบบ่อยจากกรรมพันธุ์ (W9 Care Series) การรักษาด้วยสารสกัดมิสเซิลโท (Mistletoe Therapy) และ การสร้างระบบภูมิคุ้มกันสู้ไวรัสแบบ 1:1 (NK Cell Therapy) ซึ่งการรักษาก็มีหลายทางเลือกขึ้นอยู่กับการประเมินของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย

เราจะป้องกันมะเร็งท่อน้ำดีได้ยังไง

เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในประเทศไทย มักจะได้รับการวินิจฉัยในระยะท้ายๆ เพราะฉะนั้นผลการรักษาก็จะออกมาไม่ดีนัก ดังนั้นการป้องกันในการที่จะเกิดมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีย่อมได้ผลดีกว่าการรักษาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีในระยะท้ายๆ ซึ่งเราก็สามารถป้องกันโรคได้โดยการให้วัคซีนไวรัสตับอักเสบชนิดบีในเด็กแรกเกิดทุกคน ไม่รับประทานปลาน้ำจืดดิบ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารที่อาจปนเปื้อนสารอะฟลาทอกซิน อาหารที่มีดินประสิว และอาหาร หมักดอง รวมถึง การตรวจคัดกรองมะเร็งทุกปี ก็จะทำให้เราทราบความเสี่ยง เพื่อที่เราจะได้วางแผนแล้วก็จัดการรักษาได้อย่างตรงจุด

“เพราะการรักษาที่ดีที่สุด ก็คือการที่เราไม่รอให้มันเกิดขึ้น”

หากสงสัย ว่ามีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคตับเรื้อรัง หรือมีประวัติเป็นโรคตับอักเสบ ควรรับการตรวจหามะเร็งอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตับ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฮอร์โมน คือสารเคมีที่ร่างกายใช้สื่อสารกัน เพื่อควบคุมสมดุลร่างกายในทุกระบบ รวมทั้งระบบเผาผลาญด้วย ปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งของโรคอ้วนที่เราทราบกันดีก็คือ

“สมดุลลำไส้”รู้หรือไม่? 70-80% ของ “ระบบภูมิต้านทาน” ในร่างกายเราทั้งหมด

เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ทรงผมมีผลต่อภาพลักษณ์’ ทั้งยังช่วยให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์และดูสุขภาพดีด้วยได้ แต่เมื่อเกิดปัญหาผมบางกลางหัว หรือเส้นผมบางจนขาดความมั่นใจ

error: Content is protected !!