ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มะเร็งปอด

มลพิษทางอากาศนำไปสู่โรคมะเร็งปอดได้ แม้ไม่เคยสูบบุหรี่เลย

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2560 พบว่าการสูบบุหรี่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ 8 ล้านคนต่อปี โดยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ประมาณ 7 ล้านคน และเสียชีวิตจากการรับสัมผัสควันบุหรี่มือสอง (Secondhand smoke; SHS) ประมาณ 1.2 ล้านคน (World Health Organization, 2021)  โดยส่วนใหญ่ได้รับสัมผัสบุหรี่มือสองที่บ้าน (Carreras, Lachi, Cortini, Gallus, Lopez, Lopez-Nicolas, et., 2021) และคนไทยกว่าร้อยละ 81.8 สูบบุหรี่ในบ้านและสูบใกล้เด็ก  ซึ่งต้องบอกว่า มะเร็งปอด ถือว่าเป็นมะเร็งที่ติด Top 5 มาตลอด ไม่ว่าจะเป็นสถิติของโลก หรือว่าสถิติของประเทศไทย รวมถึงการสัมผัสสารก่อมะเร็ง อาทิ ก๊าซเรดอน แร่ใยหิน รังสี ควันธูป ควันจากท่อไอเสีย และมลภาวะทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้

ที่มา Secondhand smoke: health impact and control measures

รู้จักและเข้าใจมะเร็งปอด

มะเร็งปอด

มะเร็งปอด มีสองชนิดใหญ่ๆ ด้วยกัน ซึ่ง 85% ของมะเร็งปอดที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งแต่ละปีคือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ไม่เล็ก (Non-small cell lung cancer) ในขณะที่อีก 15% ของผู้ป่วยมะเร็งปอดที่พบเป็นชนิดเซลล์เล็ก (Small cell lung cancer) ที่มีการเจริญเติบโตเร็วและแพร่กระจายกว่าชนิดเซลล์ไม่เล็ก

  • มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small cell lung cancer) พบได้ประมาณร้อยละ 10-15 เซลล์จะมีการเจริญเติบโต และแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วกว่ามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก พบส่วนมากในผู้ป่วยที่สูบบุหรี่ 
  • มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-small cell lung cancer) พบได้บ่อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก ประมาณร้อยละ 85-90 พบได้ทั้งผู้ที่สูบและไม่สูบบุหรี่ มีการเจริญเติบโต และแพร่กระจายไปยัง อวัยวะต่าง ๆ ได้ แต่ช้ากว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก

คนไข้จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวเองเป็นมะเร็งปอด

  • ผู้ป่วยที่ไม่ได้มีอาการ แต่ว่าจะตรวจพบจากการที่ไปตรวจร่างกายประจำปี หรือว่าการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง เช่น คนผู้ป่วยที่มีอายุเยอะแล้วยังสูบบุหรี่ ในปริมาณที่พอสมควร ก็ควรมีการตรวจคัดกรองสม่ำเสมอ
  • ผู้ป่วยที่เริ่มมีอาการแล้ว ให้ทำการตรวจสืบค้นตามอาการที่แสดงไป

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด

  • การสูบบุหรี่ – ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งชนิดอื่นๆ โดยผู้ที่สูบบุหรี่จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดมากกว่าถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่
  • ควันบุหรี่มือสอง – แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่ แต่การได้รับควันบุหรี่มือสอง มือสาม จากการสูดหายใจเข้าไปจะทำให้มีสารพิษตกค้างที่ปอดซึ่งก่อให้เกิดมะเร็ง
  • การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง – การสัมผัสสารก่อมะเร็ง เช่น โครเมียม ไรแย่หิน แร่เรดอน นิกเกิล เป็นต้น
  • สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ – จากการศึกษาพบว่า ฝุ่น PM2.5 ทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอดได้มากถึง 1 – 1.4 เท่า ซึ่งถือว่ามีความทียบเท่ากับเสี่ยงรุนแรงการสูบบุหรี่
  • พันธุกรรม – แม้โรคมะเร็งปอดจะไม่ได้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรง แต่พบว่า หากมีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งปอด สมาชิกในครอบครัวก็มีความเสี่ยงที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

เราจะทราบอย่างไรว่า อาการที่สงสัยอาจเป็นอาการของมะเร็งปอด

ผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องของมะเร็งปอด ส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการอะไร ในผู้ป่วยที่พบมะเร็งปอด โดยส่วนมากมักจะไม่แสดงอาการ เนื่องจากบางครั้งก้อนมะเร็งจะอยู่บริเวณส่วนกลางของปอดที่ไม่ได้ติดกับอวัยวะอื่นใดจึงไม่ได้เกิดการรบกวนการทำงานของอวัยวะอื่น แต่ถ้าในรายที่ก้อนมะเร็งเกิดขึ้นบริเวณที่ติดกับหลอดลม หลอดเลือด หรือ ต่อมน้ำเหลือง มักจะทำให้เกิดอาการต่างๆขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็น

มะเร็งปอด

การไอแห้งๆ แบบเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หอบเหนื่อย เจ็บแน่นหน้าอก หรือมีการลุกลามเข้าไปในส่วนของเยื่อหุ้มปอด อาจมีการเสี่ยงการเกิดน้ำท่วมเยื่อหุ้มปอด ซึ่งส่งผลให้เกิดการหายใจเหนื่อยหอบได้ และถ้าทีการลุกลามของก้อนเข้าไปในส่วนของหลอดเลือดดำใหญ่ มักส่งผลให้เกอดอาการหน้าบวม แขนบวมได้

นอกจากตัวมะเร็งปอด ตัวเซลล์มะเร็งที่อยู่ในปอด หรือว่าอวัยวะในปอดแล้วเนี่ยอาจจะกระจายไปที่นอกปอดได้ ก็จะทำให้เกิดอาการแสดงต่างๆ ไม่ว่าจะไปที่สมอง ไปที่ตับ ไปที่ต่อมหมวกไต ไปที่กระดูกทับเส้น ซึ่งอาการต่างๆ มันก็ขึ้นอยู่กับว่าตัวเซลล์มะเร็งลุกลามหรือกระจายไปที่ไหน 

ยกตัวอย่างถ้ากระจายไปที่สมอง ก็จะมีอาการปวดศีรษะ หรือมีอาการพูดไม่ชัด อ่อนแรง หรือว่ามีอาการชา หรือถ้าการกระจายไปที่ตับ ก็จะมีปัญหาเรื่องของตัวเหลือง ตาเหลือง อ่อนเพลีย ทานไม่ได้ การที่มะเร็งกระจายไปที่กระดูกก็อาจจะมีอาการปวดกระดูกได้ หรือกระจายไปที่ต่อมหมวกไต ก็อาจจะมีการหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ

อาการแบบไหนเสี่ยงมะเร็งปอด

อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดมักไม่จำเพาะ เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ส่วนหนึ่งจะไม่มีอาการ แต่เมื่อโรคลุกลาม หรือมีการกระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะต่าง ๆ อาจพบอาการ ดังนี้

มะเร็งปอด
  • ไอเรื้อรัง (ไอแห้ง หรือไอมีเสมหะ)
  • หายใจมีเสียงหวีด
  • เจ็บบริเวณหน้าอก
  • ไอมีเลือดปน
  • เสียงแหบ
  • ติดเชื้อในปอดบ่อย ๆ เช่น ปอดบวม
  • เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

เพราะฉะนั้น อาการที่อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งปอดก็จะมีอาการต่างๆ ที่ได้กล่าวไปด้านบน เช่น  เป็นไข้ ไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด หรือว่าการทั้งหมด ที่กล่าวมา แต่ว่าก็ต้องเน้นย้ำว่า หากท่านมีอาการต่างๆเหล่านี้ก็ควรที่ต้องไปพบแพทย์ เนื่องจากว่าอาการต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้เฉพาะเจาะจงกับมะเร็งปอด แต่ว่าสามารถพบได้ในภาวะอื่นหรือโรคอื่นได้

ทุกวันนี้เทคโนโลยีทางการแพยท์มีความก้าวหน้าไปมากกว่าแต่ก่อน การวินิฉัยโรคต่างๆ ก็เร็วขึ้น เราสามารถตรวจหาความเสี่ยงได้ตั้งแต่ยังไม่เป็นโรค แต่ถึงเป็นโรคแล้วก็มีทางเลือกอื่นในการรักษาที่มากขึ้น ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่จะสู้กับ มะเร็งปอด หรือโรคร้ายอื่นๆ มากขึ้น

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ฮอร์โมนเพศชาย ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำงานในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่าฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศ

มะเร็งลำไส้ใหญ่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบมากเป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย

อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของการทํางาน และโครงสร้าง ของเนื้อเยื่อสมอง ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ แต่เป็นความเสื่อมที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถกําจัดของเสียโปรตีน (Beta-amyloid

error: Content is protected !!