ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

หลักการรับมือกับเชื้อไวรัส COVID – 19

เราจะรับมือกับ COVID – 19 หากเข้าสู่ระยะที่ 3 อย่างไรดี

สถานการณ์ COVID-19 ในประเทศไทยเราตอนนี้ เริ่มใกล้ตัวเรามากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้เราฟังข่าวจากต่างประเทศ เริ่มจากจีน แล้วลามไปยังประเทศต่างๆ แต่ละประเทศ ระยะเวลาฟักตัวที่ไม่แสดงอาการแต่แพร่เชื้อได้ อยู่ที่ 10-14 วัน รวมทั้งวันนี้ จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเริ่มสูงขึ้น แน่นอนว่าหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง ทำงานหาข้อมูลและวางแผนกันอย่างหนัก เนื่องจากต้องดูแลและประกาศระดับนโยบาย เพื่อให้เกิดผลเสียที่กระทบต่อประเทศน้อยที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลป้องกันโรคของคนไทย

ระดับนโยบายที่รัฐได้ให้คำแนะนำ ตามเอกสาร กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุไว้ คือ

  1. เพิ่มขั้นตอนการเข้าประเทศ ต้องมีเอกสารการทำวีซ่าและเอกสารราชการอื่นๆ มีการกักกันหากเดินทางจากประเทศกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อ
  2. เพิ่มช่องทางการให้ข้อมูล และความรู้กับประชาชน เพื่อให้การระบาดเป็นไปอย่างช้าที่สุด
  3. ส่งเสริมมาตรการการป้องกันในทุกสถานที่ เช่น สถานที่ราชการ สถานศึกษา หรือ คอนโดที่พักอาศัย ให้มีเจลล้างมือ และเครื่องคัดกรองอุณหภูมิร่างกาย

นอกจากรัฐบาลจะช่วยส่งเสริมแล้ว หมอว่าเราเองก็ต้องดูแลตัวเองด้วยนะคะ สิ่งที่เราจะทำได้ คือ

  1. ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด และมีสติให้มากที่สุด ติดตามข่าวเพื่อให้ทราบสถานการณ์และเตรียมรับมือ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสถานที่กลุ่มเสี่ยง
  2. รักษาสุขภาพของตัวเราเองให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ควบคุมความเครียดให้ได้ รู้จักการบริหารความเครียดและปล่อยวาง
  3. นอกจาก “กินร้อน ช้อนกลางใครช้อนกลางมัน ล้างมือ” แล้ว การเลือกรับประทานอาหาร และการดูแลป้องกันสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นมาก เป็นการรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคมเบื้องต้นค่ะ

สำหรับทางด้านเวชศาตร์ป้องกันและชะลอวัย หมอมีคำแนะนำในการป้องกันและดูแลตัวเอง ในสถานการณ์ของการระบาดของ COVID-19 ในครั้งนี้ โดยเราต้องทำยังไงก็ได้ให้ภูมิต้านทานของเราแข็งแรง ลดปัจจัยที่ทำร้ายภูมิต้านทานของเราในทุกๆด้าน และส่งเสริมกระบวนการสร้างภูมิต้านทานของเราให้แข็งแรง

เริ่มจาก Lifestyle

  • ควบคุมความเครียด (Stress Reduction) : ความเครียดเรื้อรังส่งผลต่อระบบภูมิต้านทานของเรา ดังนั้นเราต้องหาสาเหตุของความเครียดให้เจอแล้ววางแผน หาวิธีการคลายเครียดตามแบบฉบับของตัวเราเอง
  • เรื่องการนอนหลับ (Sleep) : การนอนหลับ เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อระบบภูมิต้านทาน สิ่งแวดล้อมที่จะช่วยส่งเสริมการนอนให้มีคุณภาพคือ ปิดไฟให้สนิท, อุณหภูมิห้องที่ไม่ร้อนเกินไป ความเงียบสงบ งดเล่นโทรศัพท์ก่อนนอน และเข้านอนให้เป็นเวลา
  • การออกกำลังกาย (Exercise) : การออกกำลังกายที่เหมาะสม และไม่หนักจนเกินไป (Moderate) รวมทั้ง การใช้ชีวิตประจำวันที่แอคทีฟ เช่น ใช้บันได แทนลิฟต์ การเดิน เปลี่ยนอริยาบท ไม่นั่งกับที่ เป็นต้น ก็จะช่วยให้เพิ่มระบบไหลเวียนของร่างกาย ลดฮอร์โมนความเครียดลง และ เพิ่มการทำงานของเม็ดเลือดขาวและแอนตี้บอดี้ในการต่อสู้กับเชื้อโรค
  • การเลือกทานอาหาร (Nutrition/Diet) : หลายงานวิจัยพบว่า การรับประทานผักหลากสีและผลไม้ ประมาณ 10 ถ้วยต่อวัน ซึ่งรวมถึงพวกผักที่ผ่านการหมักและโพรไบโอติกด้วย จะช่วยในการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้

อาหารเสริม วิตามิน และสารอาหารที่จะช่วยการทำงานของระบบภูมิต้านทาน

อาหาร สมุนไพร และอาหารเสริมมากมาย ที่ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบภูมิต้านทาน รวมทั้งช่วยให้ระยะเวลาให้การเจ็บป่วยสั้นลงอีกด้วย สำหรับการป้องกันและรักษาเชื้อไวรัสที่ติดต่อระบบทางเดินหายใจ หมอขอแนะนำสารอาหารเหล่านี้ค่ะ

  • วิตามินเอ (Vitamin A) : จะช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดี รวมทั้งการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ แต่ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะหากได้รับมากเกินไป อาจเกิดภาวะเป็นพิษจากวิตามินเอได้
  • วิตามินเอ (Vitamin A) : จะช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อได้ดี รวมทั้งการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ แต่ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพราะหากได้รับมากเกินไป อาจเกิดภาวะเป็นพิษจากวิตามินเอได้
  • วิตามินซี (Vitamin C) : ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ทั้งไวรัสและแบคทีเรีย การรับประทานวิตามินซีเป็นประจำจะทำให้ระยะเวลาเป็นไข้หวัดลดลง และ การได้รับวิตามินซีขนาดสูงในช่วงที่มีไข้จะช่วยลดการอักเสบ รวมทั้งวิตามินซีมีฤทธิ์ต้านสารฮีสตามีนได้เช่นกัน แหล่งวิตามินซีตามธรรมชาติปริมาณสูง เช่น มะขามป้อม 1 ลูกมีวิตามินซีสูงกว่า แอปเปิ้ลถึง 160 เท่า
  • วิตามินอี (Vitamin E) : มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับวิตามินซี ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และ เสริมภูมิต้านทานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และยังช่วยป้องกันการแตกของเม็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของเม็ดเลือดอีกด้วย
  • ซิลิเนียม (Selenium) : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยกระตุ้นร่างกายให้ป้องกันเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และมะเร็ง ส่วนมากเราได้รับซิลิเนียมจากอาหาร โดยเฉพาะถั่วบราซิล (Brazil nuts)
  • สังกะสี (Zinc) : เป็นตัวหลักที่สำคัญสำหรับระบบภูมิต้านทาน ช่วยลดความถี่ของการติดเชื้อ ระยะเวลาและความรุนแรงของไข้หวัดได้ หลังจากรับประทานภายใน 24 ชม.
  • น้ำผึ้ง (Honey) : หมอแนะนำเป็นน้ำผึ้งป่านะคะ เพราะจะมีวิตามินและเกลือแร่ ที่มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อ (Antimicrobial) ลดอาการไอและเจ็บคอ สามารถผสมกับน้ำอุ่นหรือชาร้อนดื่มได้เลยค่ะ
  • กระเทียม (Garlic) : เป็นสมุนไพรและเป็นเครื่องปรุงในครัวไทยของเรามานาน กระเทียมมีสารอาหารหลายชนิดที่ช่วยเรื่องภูมิต้านทาน ทั้งกระเทียมสดและสารสกัด ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจส่วนต้น รวมทั้งลดความรุนแรงของโรคได้อีกด้วย
  • โพรไบโอติก (Pro-biotic) : แบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบภูมิต้านทานเรา ส่วนใหญ่อยู่ที่ความสมดุลของลำไส้ และแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้จะช่วยกระตุ้นและควบคุมระบบภูมิต้านทานได้ดี มีงานวิจัยทางการแพทย์พบว่า โพรไบโอติกช่วยลดจำนวนการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กค่ะ

วิถีธรรมชาติบำบัด

เราทราบกันอยู่แล้วว่า เชื้อไวรัสนั้น ภูมิต้านทานของร่างกายเราจะสามารถต่อสู้และกำจัดได้เอง แม้ว่าตอนนี้จะยังไม่ได้มีงานวิจัยยืนยันในการรักษาการติดเชื้อ COVID-19 ที่จำเพาะเจาะจง แต่ในทางธรรมชาติแล้วเราสามารถประยุกต์ใช้ได้ และรักษาตามอาการ รวมทั้งการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิต้านทานก็เป็นอีกทางที่ช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 นี้ เรามาดูกันค่ะว่ามีวิธีดูแลตัวเองอย่างไรกันได้บ้าง

  • การดูแลตัวเองในเชิงป้องกัน (Self care)
    • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ ชาสมุนไพรต่างๆก็เป็นตัวเลือกที่ดี เช่น ชาเปปเปอร์มิ้น, น้ำขิง , ชาคาโมไมล์ เป็นต้น
    • การดื่มน้ำอุ่นใส่น้ำผึ้งป่าและมะนาว หรืออาจจะใส่ผงซินนามอนเข้าไป ก็ช่วยให้กลิ่นและรสชาดดีขึ้น
    • การดูแลสุขภาพลำไส้ โดยเฉพาะสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ โดยการทานอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการ, แบคทีเรียตัวดี (Probiotic) ซึ่งได้จากอาหารหมัก (Fermented Food) เช่น กิมจิ ถั่่วนัตโตะ คอมบูชา เป็นต้น เพราะ 80 % ของภูมิต้านทานเราอยู่ที่ลำไส้ การดูแลสมดุลลำไส้จึงเป็นสิ่งสำคัญ
  • หากมีอาการเจ็บคอ (Sore throat) : หมอแนะนำให้ใช้น้ำอุ่นผสมเกลือกลั้วที่คอ จะช่วยลดความเหนียวของเสมหะได้ แล้วก็ช่วยกำจัดแบคทีเรียในลำคอ ชาร้อน คาโมไมล์และเปปเปอร์มิ้น ผสมน้ำผึ้งเล็กน้อย ช่วยในเรื่องการลดอาการเจ็บคอได้เช่นกัน
  • หากมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูก (Respiratory congestion&sinuses) : ควรเพิ่มความชื้นในโพรงจมูกให้มากขึ้น ซึ่งทำได้โดยเตรียมน้ำร้อน แล้วหยดน้ำมันหอมระเหยแบบออแกนิคกลิ่นยูคาลิปตัส เมนทอล หรือเปปเปอร์มิ้น แล้วสูดกลิ่นที่ระเหยขึ้นมาจากน้ำร้อนได้ จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจโล่งขึ้น นอกจากนี้ การล้างจมูก ไม่ว่าจะด้วยวิธีใช้น้ำเกลือล้างจมูก หรือวิธี Neti pot ก็จะช่วยกำจัดเมือกและน้ำมูกที่อุดตันจมูกได้

จากที่หมอแนะนำหลักในการดูแลตัวเองเบื้องต้นนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่จะช่วยป้องกัน และส่งเสริมระบบภูมิต้านทานของพวกเราได้เท่านั้นนะคะ ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส เพราะเราจะได้มีเวลาหันมาดูแลตัวเอง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต สำหรับข้อมูลในเรื่องการติดเชื้อ Covid19 สามารถติดตามได้ที่ เว็บไซต์กรมควบคุมโรค ซึ่งจะมีการอัพเดทสถานการณ์รวมทั้งความรู้ในการดูแลตัวเองเบื้องต้นค่ะ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

การรักษามะเร็งในปัจจุบันมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับชนิด ระยะ และความรุนแรงของโรค ซึ่งการรักษาทางหลักก็จะแบ่งการรักษาออกเป็น การผ่าตัด

ยิ่งแก่ยิ่งท้องผูก ปัญหาท้องผูกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้บ่อยและเยอะในผู้สูงอายุ ซึ่งในประเทศไทยพบ คนแก่ท้องผูก

ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ คือ สภาวะที่สมรรถภาพทางสมองมีการทำงานที่บกพร่องไป

error: Content is protected !!