อ้วนลงพุง อย่ามองว่าเป็นเรื่องปกติ
“อ้วนลงพุง” ผู้หญิงหลายคนคงไม่มีใครชอบ แต่รู้หรือไม่ว่าที่จริงแล้วสาเหตุที่อ้วนลงพุงอยู่นี้อาจเสี่ยงภาวะโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ Polycystic Ovarian Syndrome (PCOS) เพราะเป็นความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อที่พบบ่อยที่สุดในทางนรีเวช พบได้บ่อยในวัยเจริญพันธุ์อายุประมาณ 25-35 ปี หากไม่รีบรักษาอาจทำให้มีบุตรยาก เสี่ยงต่อการมีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต
สาเหตุของการเกิดโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ
การเกิดของโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ PCOS ยังไม่เป็นที่สรุปแน่ชัด บางการศึกษาเชื่อว่ามีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบซับซ้อน (multifactorial etiology) หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของหลายระบบเกี่ยวพันกันเป็นวงจรลูกโซ่ ทั้งต่อมใต้สมอง รังไข่ ต่อมหมวกไตรวมถึงไขมันใต้ผิวหนัง ซึ่งจำแนกเป็นกลไกผิดปกติหลักๆ มีดังนี้
- มีความผิดปกติที่ทำให้เกิดภาวะตกไข่ไม่สม่ำเสมอ เกิดระดูไม่สม่ำเสมอและนำมาสู่ภาวะมีบุตรยาก
- มีความผิดปกติของระดับหรือการทำงาน ของ ฮอร์โมนเพศชาย ทำให้มีอาการแสดงออก คือ หน้ามัน สิวขึ้นง่าย ขนดก เป็นต้น
- มีความผิดปกติของการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินซึ่งเกี่ยวข้องกับขบวนการเผาผลาญน้ำตาลกลูโคสในร่างกาย ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน
ภาวะนี้มักพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ร้อยละ 5 -10 และหากในครอบครัวเคยมีประวัติป่วยเป็น (PCOS) ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้มากขึ้นกว่าคนทั่วไป
เช็คอาการเสี่ยง โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบในผู้หญิง
- ประจำเดือนเว้นช่วงนาน มาห่างกันมากกว่า 35 วัน หรือมาไม่เกิน 6 – 8 ครั้งต่อปี
- รอบประจำเดือนขาด มาไม่ติดต่อกันนานเกิน 3 รอบ เทียบกับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ หรือมาไม่ติดต่อกัน 6 เดือนในผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แสดงถึงภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง
- ประจำเดือนมากะปริบกะปรอย มามากเกินไป นานเกินไป อาจเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ
- ภาวะแอนโดรเจน (Androgen) เกิน คือ มีฮอร์โมนเพศชายมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะขนดก สิวขึ้นมากกว่าปกติ ผิวมัน ศีรษะล้าน
- อ้วน น้ำหนักเกินมาก ทำให้ดื้อต่อน้ำตาลอินซูลิน เพิ่มความเสี่ยงการหนาตัวของเยื่อบุโพรงมดลูก เสี่ยงมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกและมะเร็งเต้านม
ความเสี่ยงโรคถุงน้ำรังไข่ในผู้หญิง หากไม่รีบรักษา
- มีความเสี่ยงในการเกิดเยื่อบุมดลูกหนาตัวและมะเร็งเยื่อบุมดลูกเพิ่มขึ้น มักจะแสดงอาการผิดปกติให้เห็นในช่วงอายุที่มากขึ้น หรือวัยหมดระดู ซึ่งมักมาด้วยระดูออกกะปริบกะปรอย หรือมามากกว่าปกติไม่สม่ำเสมอ
- มีความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน ในกลุ่มคนอ้วนลงพุงเนื่องจากมีระดับไขมันสูงกว่าปกติ หากไม่ได้รับการรักษาจะยิ่งทำให้เสี่ยงเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจขาดเลือด อัมพฤกษ์ และอัมพาต มากขึ้นในอนาคต
วิธีคำนวณค่าดัชนีมวลกาย
ดัชนีมวลกาย (BMI) = น้ำหนัก (กิโลกรัม) / ส่วนสูง(เมตร) x ส่วนสูง(เมตร)
นอกจากการดู BMI ของร่างกายเราแล้ว การดูสมดุลระหว่างกล้ามเนื้อและไขมันก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน
แนวทางการดูและป้องกันโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ
การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการป้องกันโรคได้ที่ดีที่สุด ดังนั้นคุณผู้หญิงควรที่จะหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนคลายเครียด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยให้ร่างกายของคุณผู้หญิงสร้างฮอร์โมนได้อย่างสมดุล
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ เน้นผักผลไม้ เลี่ยงแป้งและอาหารไขมันสูง
- ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ
- ไม่เครียด ทำจิตใจให้แจ่มใส เพราะความเครียดทำให้ฮอร์โมนผิดปกติ
ทั้งนี้ ในด้านการรักษาทางเวชศาสตร์เชิงป้องกันเราก็มี โปรแกรมปรับสมดุลฮอร์โมนแบบองค์รวม ที่ช่วยในการปรับสมดุลฮอร์โมนที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ช่วยลดความเสี่ยงและห่างไกลจากโรคเรื้อรัง ซึ่งมีการตรวจทั้งหมด 15 รายการ ที่ W9 Wellness เราเชื่อว่าการปรับสมดุลฮอร์โมน ถือเป็นส่วนสำคัญของการดูแลสุขภาพแบบ Holistic Wellness เพื่อให้ร่างกายคุณสมบูรณ์ในทุกระบบอย่างมีประสิทธิภาพ