นอนไม่หลับ นอนไม่ดี นอนไม่พอ ปัญหาสุขภาพของคนในยุคปัจจุบันที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จะเห็นได้ว่าอาการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงวัย สาเหตุอาจมาจากสภาพแวดล้อม การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ความเครียด ความกดดัน และเทคโนโลยีต่างๆ ที่รบกวนคุณภาพการนอนของเราได้ง่ายขึ้น หลายคนแก้ปัญหาอาการนอนไม่หลับโดยการใช้ ยานอนหลับ แต่นั่นไม่ใช่ทางออกที่ดี เพราะในระยะยาวย่อมส่งผลกระทบให้เกิดการดื้อยาได้ และยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non-communicable diseases หรือ NCDs) ได้ในอนาคต ซึ่งในทางเวลเนสเราก็มีทางเลือกในการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องพึ่งยา แต่เน้นการค้นหาสาเหตุของโรคนอนไม่หลับที่ต้นเหตุ ทั้งฮอร์โมนที่เสียสมดุล สมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ และสารพิษสะสม เพื่อให้การนอนหลับกลับมามีคุณภาพอีกครั้ง
สาเหตุที่คนยุคใหม่นอนไม่หลับ
- เทคโนโลยีและสื่อต่างๆ: การใช้สมาร์ทโฟนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน แสงสว่างจากหน้าจอมือถืออาจมีผลกระทบต่อการนอนหลับ
- รูปแบบการดำเนินชีวิต: คนยุคใหม่มีการดำเนินชีวิตที่มีความเร่งรีบมากขึ้น การมีกิจกรรมมากมาย และมีความกังวลที่มากจากการทำงาน และจากการเรียน
- สภาวะเครียดและกังวล: ความเครียดและกังวลที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันอาจมีผลต่อการนอนหลับ ทั้งความกังวลเกี่ยวกับงาน ครอบครัว การเงิน หรือปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมแต่ละวัน
- ระบบการทำงาน: คนยุคใหม่มีระบบการทำงานที่ไม่เป็นไปตามแบบแผนที่แน่นอน บางคนมีการทำงานที่เป็นกะ ต้องทำงานตอนกลางคืน ทำให้นาฬิกาชีวิตรวนได้
- สื่อสังคมออนไลน์: การใช้ชีวิตออนไลน์ที่ติดต่อกันอยู่ตลอดเวลา อาจเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุการนอนไม่หลับ เพราะการอยู่ในสังคมออนไลน์และการเผชิญกับข้อมูลและความคิดเห็นที่มากมาย อาจสร้างความกังวลและรบกวนการนอนได้
การนอนหลับที่ดีช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างการทำงานของร่างกาย เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายจะหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) หรือฮอร์โมนชะลอความแก่ รวมถึงเป็นช่วงเวลาที่ได้กำจัดของเสียออกจากสมอง เพราะการนอนหลับที่ดียังมีความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้และการจดจำ แต่ถ้าเมื่อใดที่ร่างกายอดนอนเป็นเวลานานๆ ก็ทำให้ความสามารถในการเรียนรู้ลดลงได้เช่นกัน
นอนไม่หลับเพราะฮอร์โมนเสียสมดุล
ปัญหาการนอนไม่หลับส่วนหนึ่งอาจมากจากฮอร์โมนไม่สมดุล (Hormones Imbalance) ซึ่งหลักๆ ก็จะมี
- เมลาโทนิน (Melatonin) ทำหน้าที่ช่วยให้เราง่วงนอนและหลับได้ดี
- ฮอร์โมนต่อมหมวกไต (Adrenal hormones) ได้แก่ คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (DHEA) ซึ่งทั้งสองตัวจะทำงานคู่กัน เมื่อตัวใดตัวหนึ่งผิดปกติ เช่น มีความเครียดสูงก็ทำให้วันนั้นนอนหลับยากขึ้น
- ฮอร์โมนเพศ (Sex hormones) ระดับเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ในผู้ชาย และโปรเจสเทอโรน (Progesterone) ในผู้หญิง ถ้ามีระดับที่ต่ำก็ส่งผลให้นอนหลับยากขึ้น
- โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) เมื่ออายุเลย 35 ปีขึ้นไประดับโกรทฮอร์โมนจะเริ่มลดลง ซึ่งส่งผลต่อการนอนหลับเช่นเดียวกัน พบมากในผู้สูงอายุ
- ไทรอยด์ฮอร์โมน (Thyroid hormones) คนที่มีระดับฮอร์โมนไทรอยด์สูงและต่ำเกินไป พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับเช่นกัน
การตรวจสมดุลฮอร์โมนเพื่อหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ จึงช่วยให้เรารู้ต้นตอของฮอร์โมนที่ผิดปกติได้
นอนไม่หลับเพราะสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้
เมื่อก่อนเราอาจจะคิดว่าลำไส้มีหน้าที่แค่ย่อยอาหาร แต่จริงๆ แล้วลำไส้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการนอนด้วย นั่นก็เพราะว่าลำไส้ของเราสามารถสร้างสารสื่อประสาทที่เรียกว่า สารเซโรโทนิน (Serotonin) ได้ถึง 80-90% ของ Serotonin ที่ร่างกายผลิตได้ แต่เมื่อใดที่สมดุลลำไส้มีความผิดปกติ หรือเกิดความไม่สมดุล ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การนอนหลับของเรามีปัญหา เช่น
- นอนไม่หลับ
- ตื่นกลางดึกบ่อย (หลับๆ ตื่นๆ)
- หงุดหงิดง่าย
- รู้สึกอ่อนเพลีย
- ไม่มีสมาธิในการทำงาน
- ตื่นนอนไม่สดชื่น
ดังนั้น ใครที่มีอาการตามที่กล่าวมา แนะนำให้มาตรวจเช็กสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ เพื่อที่เราจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดมากที่สุด
นอนไม่หลับเพราะสารพิษสะสมในร่างกายเยอะ
ในแต่ละวันเราใช้ชีวิตร่วมอยู่กับ “สารพิษ สารเคมี” แทบจะตลอดเวลา เพราะสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ล่องลอยอยู่ในรูปแบบของมลภาวะ หรือฝุ่น PM2.5 เพียงอย่างเดียว แต่ยังมาจาก
- ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง
- สารสังเคราะห์ในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวกาย
- สารเคมีในผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ครัวเรือน
- สารเคมีจากสีทาห้อง และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
เมื่อร่างกายถูกสะสมสารพิษทีละน้อย ก็ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะเรื่องของการนอนหลับ เพราะสารพิษที่ถูกสะสมจะไปรบกวนการทำงานของร่างกายทั้งระบบประสาทและระบบฮอร์โมน ทำให้การนอนหลับไม่มีคุณภาพ สะดุ้งตื่นกลางดึก หรือตื่นนอนมาแล้วไม่สดชื่น การตรวจสารพิษสะสมในร่างกาย จึงช่วยให้เราวางแผนการกำจัดสารพิษออกจากร่างกายได้ดีที่สุด
Hyperbaric ตัวช่วยเพิ่มคุณภาพการนอนหลับ
อีกหนึ่งทางเลือกของคนนอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิท การรักษาด้วย Hyperbaric Oxygen Therapy ก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ไม่ต้องพึ่งยานอนหลับ เพราะการได้รับออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ปริมาณมากเข้าสู่ร่างกาย ออกซิเจนจะไหลเวียนไปสู่อวัยวะต่างๆ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม ทั้งระบบเผาผลาญ ระบบประสาท ระบบภูมิต้านทาน และที่สำคัญคือวงจรการนอนหลับ
- ช่วยให้นอนหลับดีขึ้น
- ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด
- ช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรน
- ช่วยลดภาวะนอนกรน
- ลดอาการเหนื่อยล้า
- ฟื้นฟูระบบประสาทในสมอง
การนอนหลับดี มีชัยไปกว่าครึ่ง เพราะจะช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันดีและมีประสิทธิภาพ พร้อมลุยทุกกิจกรรมได้อย่างเต็มที่
ผลกระทบต่อสุขภาพของคนนอนไม่หลับ
การอดนอนบ่อยๆ นอนน้อย นอนดึก ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายทำงานได้ลดลง โดยเฉพาะระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง จนอาจก่อให้เกิดโรคแบบไม่ทันรู้ตัว
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง ภาวะทางอารมณ์
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคที่เกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ
- มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และโรคทางเดินหายใจ
หากใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหรือนอนไม่หลับติดต่อกันอย่าน้อย 2 สัปดาห์ ให้สงสัยว่าร่างกายกำลังมีความผิดปกติบางอย่าง แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อร่วมวางแผนการรักษา และการเสริมวิตามินการนอนหลับอย่างเหมาะสม เพื่อที่จะได้ลดการใช้ ยานอนหลับ