ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า เครียด ป่วยง่าย อาจเพราะร่างกายขาดวิตามินดี

วิตามินดีกับ ภาวะซึมเศร้า Vitamin D and Depression

ภาวะขาดวิตามินดีหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับ ภาวะซึมเศร้า รวมถึงระดับวิตามินดีที่ต่ำ อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม และวิตามินดีไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การได้รับวิตามินดีชดเชยนั้น มีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้

ภาวะซึมเศร้า มักถูกพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในการรักษาโรคซึมเศร้านั้น เราจะใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีผลประสบความสำเร็จถึง 76-85% (World Health Organization WHO 2020) แต่ผู้ป่วยในจำนวนน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา ทั้งนี้มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรือทนต่อผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่ไหว และภาวะซึมเศร้านี้ เปรียบเสมือนโรคเรื้อรังซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้

ภาวะซึมเศร้า

มีผลงานวิจัยจำนวนมากขึ้น เริ่มศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะซึมเศร้ากับภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี 6, วิตามินบี 12, โฟเลท, วิตามินดี, สังกะสี, ทองแดง, แมกนีเซียม รวมทั้งกรดไขมันจำเป็น เช่น โอเมก้า-3 หรือแม้แต่กรดอะมิโนบางชนิด เช่น กาบ้า ไกลซีน ทริปโตแฟน หรือ ไทโรซีน เป็นต้น

และยังมี งานวิจัยขนาดใหญ่ในอังกฤษ ซึ่งศึกษาในคนกว่า 31,000 คน พบว่า กลุ่มคนที่เป็นภาวะซึมเศร้า มีระดับวิตามินดีต่ำ กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และยังพบว่า กลุ่มที่วิตามินดีต่ำ มีคนที่เป็นภาวะซึมเศร้ามากกว่า กลุ่มที่วิตามินดีสูงถึง 121% ซึ่งสามารถ สรุปได้ว่า ระดับวิตามินดีที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าจริง

จากงานวิจัย ระดับวิตามินดีต่ำจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มีผลกับภาวะซึมเศร้า และมีหลักฐานมากเพียงพอที่จะ แนะนำให้ผู้ป่วยซึมเศร้า ตรวจคัดกรองและรักษาภาวะขาดวิตามินดี

วิตามินดีส่งผลต่อการทำงานของสมองอย่างไร?

วิตามินดี เป็นวิตามินที่ละลายและจะถูกจัดเก็บสะสมไว้ในไขมัน สมองของเราก็เป็นเนื้อเยื่อไขมันขนาดใหญ่ เราพบตัวรับวิตามินดี (Vitamin D Receptor) ในเซลล์สมองเกือบทุกเซลล์ วิตามินดีจึงถือเป็นฮอร์โมนที่สำคัญตัวหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่กระตุ้นและยับยั้งเอ็นไซม์ ที่มีส่วนป้องกันความเสียหาย การซ่อมแซม และสร้างเซลล์ประสาทในสมองด้วย ในภาวะขาดวิตามินดีไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาวะทางอารมณ์ แต่ยังส่งผลถึงความคิดอ่าน ความจำ และประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

โดยงานวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า วิตามินดียังมีความสำคัญกับพัฒนาการของสมองตั้งแต่ในครรภ์ เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีวิตามินดีต่ำ จะพบการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างและการทำงานของสมอง การทำงานของสารสสื่อประสาทโดปามีน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคจิตประเภทในวันรุ่นได้

วิตามินดี และคุณแม่ตั้งครรภ์

มีการศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงหลังคลอด (Postpartum Depression) พบว่า คุณแม่ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ ทั้งตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด จะมีโอกาสเป็นซึมเศร้าได้มากกว่าถึง 2.67 เท่า และมีบางรายงานพบว่าการเสริมวิตามินดี อาจส่งผลดีต่อการลดลงของภาวะซึมเศร้าได้

ภาวะซึมเศร้า

การรักษาภาวะซึมเศร้าในทาง Functional Medicine ยังมองไปถึงปัจจัยอื่น เช่น ความผิดปกติของจุลชีพในลำไส้ (Dysbiosis) และระดับสารพิษสะสมจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicity) เพิ่มเติมจากการรักษาปกติด้วย ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้ามีได้หลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม สารเคมีในสมองเสียสมดุล สารอาหารต่ำ สมดุลลำไส้ ยาที่ใช้ และความเครียด 

ดังนั้น การขาดวิตามินดีไม่ใช่เพียงสาเหตุเดียวที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ แต่การตรวจวัดระดับวิตามินดีสำหรับคนที่มีความเสี่ยงก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ

หนังสือ Healthitude สุข(อุดม)คติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

3 เครื่องดื่มสุขภาพ ถ้าไม่อยากแก่ก่อนวัย ต้องดื่ม! หากถามถึงความกังวลที่คุณผู้ชายและคุณผู้หญิงเมื่อเข้าสู่วัย 30 บวก คงหนีไม่พ้นคำตอบที่ว่า “ไม่อยากแก่” เนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยเลข 3 ร่างกายเราก็จะเริ่มเสื่อมถอยและมีการเปลี่ยนแปลง เช่น รูปร่าง ผิวพรรณ และสมรรถภาพของร่างกาย บางคนก็เสื่อมลงไปช้าๆ บางคนก็เสื่อมลงอย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนให้เกิดความไม่สมดุลก่อนวัย โดยฮอร์โมนเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งของการชะลอวัย แต่หลายคนอาจละเลย ฮอร์โมนเกี่ยวอะไรกับความหนุ่มสาว? ฮอร์โมนเป็นสิ่งที่ควบคุมการเจริญเติบโตและการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนไทรอยด์ (ช่วยเรื่องการเผาผลาญ) ฮอร์โมนดีเอชอีเอ (ฮอร์โมนสร้างสุขและความอ่อนเยาว์) โกรว์ธฮอร์โมน (ฮอร์โมนเร่งสูงและยืดอายุ) การที่เรามีฮอร์โมนที่สมดุลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการทำงานของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนการเติมปุ๋ยให้ร่างกายสมบูรณ์ ไม่เหี่ยวเฉา เมื่อ ไม่อยากแก่ จึงควรรู้จักดูแลสุขภาพตนเองให้ดีอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิต การรักษาคุณภาพการนอนหลับ การออกกำลังกายอย่างเหมาะสม หรือการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อป้องกันไม่ให้ฮอร์โมนเสื่อมถอยก่อนเวลาอันควร และเคล็ดลับที่จะช่วยรักษาและสร้างสมดุลฮอร์โมนให้คุณผู้ชายและคุณผู้หญิงได้ นั่นก็คือ “เครื่องดื่มสุขภาพ” ที่มีราคาย่อมเยาและหาได้ใกล้ๆ ตัว น้ำมะพร้าว น้ำมะพร้าว เป็นเครื่องดื่มที่คุ้นเคยกับคนไทยเป็นอย่างดี นอกจากความอร่อยแล้ว ก็ยังมีโปรตีนที่มีคุณภาพสูงสะสมอยู่ และอุดมไปด้วยเอสโตรเจนระดับสูง […]

มีคนไข้หลายคนเข้ามาปรึกษาหมอว่า ทำไมบางครั้ง กินโพรไบโอติกส์ แล้วไม่เห็นผล เพราะเห็นโฆษณาว่าช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยเรื่องลดน้ำหนัก และยังช่วยเรื่องภูมิแพ้ แต่กินไปแล้วกลับกลายเป็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย หมอต้องบอกก่อนว่า เราต้องอย่าลืมว่าโพรไบโอติกส์มันมีชีวิต และโพรไบโอติกส์ไม่ใช่ยา ดังนั้นเราจึงไม่สามารถควบคุมอาการมันได้ทุกอย่างได้ มันจึงมีปัจจัยหลายๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นก็คือ ชนิด และจำนวนของโพรไบโอติกส์ที่ต้องรีบประทาน วันนี้หมอมีคำแนะนำว่าจริงๆ แล้ว เราควร กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน กันแน่ถึงจะเห็นผล เราควรเลือก กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน ถึงจะเห็นผล? ก็ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของโพรไบโอติกส์ในปัจจุบันมีค่อนข้างมากเลย แล้วส่วนใหญ่ก็จะพบว่า มีประโยชน์กับร่างกายของเราจริงๆ เพียงแต่ว่าเราต้องไม่ลืมว่า พอพูดถึงจุลินทรีย์มันมีหลากหลาย หลายพัน หลายหมื่น หลายแสนล้านชนิดอยู่ในร่างกาย มีชนิดย่อยๆ เต็มไปหมดเลย ทุกวันนี้เรายังศึกษาได้แค่บางส่วน มันก็จะมีเชื้อจำนวนนึงที่อยู่ในลิสต์ว่ามันเป็นเชื้อที่ดี ในเชื้อแต่ละตัวเองก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป มีคุณสมบัติที่คาบเกี่ยวกันไป เพราะฉะนั้นการจะเลือกโพรไบโอติกส์กับปัญหานึงเนี่ย จริงๆ หมอมองว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย บางทีมันไม่อาจจะสามารถใช้เชื้อรวมๆ เหมือนว่าเอา 10 ตัวนี้มาแล้วมาใช้กับทุกสภาวะได้ เพราะว่าในแต่ละคนเองก็มีความหลากหลายของชนิดเชื้อที่แตกต่างกันอีกเหมือนกัน การกินโพรไบโอติกส์ที่มากเกินไป หรือว่าชนิดที่อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับเรา บางทีอาจจะนำมาสู่การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร หรือว่าทำให้โพรไบโอติกส์ในท้องของเรา จากที่มันดีอยู่แล้วกลับแย่ลงด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแล้ว การกินโพรไบโอติกส์ให้เหมาะสมกับบุคคล […]

ช่วงนี้มี อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy Diet) หลากหลายสูตรที่มีกระแสว่าช่วยในการลดน้ำหนักออกมามากมาย ทั้งที่มีการศึกษาวิจัยรองรับ มีการรีวิวตามอินเตอร์เนต