ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม รู้เร็ว ป้องกันได้ ทางเลือกใหม่ผู้ป่วยมะเร็ง

โรคมะเร็งเต้านม คือสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย โดยในช่วงชีวิตของผู้หญิงไทย 1 ใน 10 คน จะมีโอกาสเป็น “โรคมะเร็งเต้านม” และมีผู้หญิงไทยตายด้วยโรคมะเร็งเต้มนมเฉลี่ยวันละ 12 คน แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษา แต่หากได้รับการตรวจเช็กและรักษาในช่วงระยะเวลาเริ่มต้นจะมีโอกาสรักษาให้กลับมาปกติได้สูง ซึ่งเราสามารถทำการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านม ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อจะได้วินิจฉัยและสามารถรักษาได้ทันท่วงที

รู้จักและเข้าใจ มะเร็งเต้านม

ขึ้นชื่อว่ามะเร็งพอใครได้ยินก็มีความกลัวกันทั้งนั้น โดยเฉพาะ มะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่ถือเป็นภัยเงียบที่พบได้มากที่สุด โดยมะเร็งเต้านมนั้นเกิดจากเซลล์ของเต้านมที่มีการแบ่งตัวอย่างผิดปกติ เหนือการควบคุมของร่างกายและเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง ส่วนใหญ่มักเกิดที่ภายในท่อน้ำนม และสามารถกระจายออกจากท่อน้ำนม ไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้และอวัยวะอื่นๆ ที่ไกลออกไป

ฮอร์โมนเพศหญิงมีความสัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม

แม้ว่าโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดว่ามีสาเหตุมาจากอะไร แต่ฮอร์โมนเพศหญิงเองก็มีความสัมพันธ์ในการเกิดมะเร็งเต้านมได้เหมือนกัน

มะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า
  • ช่วงเวลาในการมีประจำเดือน โดยพบว่าผู้ที่มีประจำเดือนครั้งแรกเมื่ออายุน้อย หรือหมดประจำเดือนช้า มีความเสี่ยงมากขึ้นในการเกิดมะเร็งเต้านม
  • ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือตั้งครรภ์ครั้งแรก เมื่ออายุมากกว่า 30 ปี มีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย
  • ผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมากกว่า 5 ปี หรือได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนหลังหมดประจำเดือนเป็นระยะเวลานานกว่า 2 ปี จะเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมากขึ้น

ใครมีความเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้หญิงทั่วไป

  1. ผู้หญิงที่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นญาติใกล้ชิด เช่น แม่ พี่สาวหรือน้องสาว เป็นต้น
  2. ผู้หญิงที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรคนแรกเมื่ออายุมากกว่า 30 ปี
  3. ผู้หญิงที่รอบเดือนมาเร็ว และหมดช้า หรือใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นเวลานานกว่า 10 ปี
  4. ผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่อายุ 40 ปีขึ้นไป

ผู้หญิงในกลุ่มเหล่านี้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมสูงกว่าผู้หญิงทั่วไปราว 1.5 เท่า แต่หากว่าญาติใกล้ชิดซึ่งป่วยเป็นมะเร็งเต้านมได้รับการวินิจฉัยขณะที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปีจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นประมาณ 3 เท่าของผู้หญิงปกติ

อาการแบบไหนเสี่ยงมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านมสามารถแสดงอาการได้หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการอะไรเลยแต่ตรวจพบความผิดปกติจากการเอกซเรย์เต้านม หรือคลำพบก้อนที่เต้านม ไปจนถึงมีความเปลี่ยนแปลงของผิวหนังที่เต้านม ซึ่งหากคุณมีอาการผิดปกติดังต่อไปนี้ ควรมาพบแพทย์

  • คลำพบก้อนที่เต้านม หรือรักแร้
  • เจ็บเต้านม
  • มีน้ำไหลออกมาจากหัวนม
  • เจ็บที่หัวนม มีหัวนมบุ๋ม หรือผิวหนังที่หัวนมหนาขึ้น
  • การบวมของเต้านมบางส่วนหรือทั้งหมด
  • ผิวหนังที่เต้านมเปลี่ยนแปลงไปเป็นผิวเปลือกส้ม บวมแดง หรือมีแผลและรอยบุ๋มที่ผิวหนังเต้านม
มะเร็งเต้านม

ดังนั้น หากคลำพบก้อนที่เต้านม อย่าได้นิ่งนอนใจ ไม่ต้องรอให้มีอาการเจ็บหรือปวด แต่ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาตามความเหมาะสมให้ไวจะดีที่สุด

มะเร็งเต้านมสามารถแบ่งออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่หนึ่ง ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กกว่า 2 ซม. และยังไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้

ระยะที่สอง ก้อนมะเร็งมีขนาดระหว่าง  2 – 5  ซม. และ/หรือมีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกัน

ระยะที่สาม ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซม.   แพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันอย่างมาก จนทำให้ต่อมน้ำเหลืองเหล่านั้นมารวมติดกันเป็นก้อนใหญ่หรือติดแน่นกับอวัยวะข้างเคียงระยะที่สี่ ก้อนมะเร็งมีขนาดโตเท่าไหร่ก็ได้ แต่พบว่ามีการแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของร่างกายที่อยู่ไกลออกไป เช่น กระดูก ปอด ตับ หรือสมอง เป็นต้น

มะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรก คือ ระยะที่ 1 และ 2 หรือในระยะที่สามบางรายมีพยากรณ์โรคที่ดี คือมีอัตราอยู่รอดเกินห้าปีหลังจากการวินิจฉัยประมาณ 80-90%

วิธีการรักษามะเร็งเต้านมในปัจจุบัน

มะเร็งเต้านม
  1. การรักษาโดยการผ่าตัด
  2. การรักษาโดยการฉายแสง(รังสีรักษา)
  3. การรักษาโดยยาต้านฮอร์โมน
  4. การรักษาโดยยาเคมีบำบัด
  5. การรักษาโดยยาที่มีการออกฤทธิ์จำเพาะ
  6. การรักษามะเร็งทางเลือกของ W9 Wellness เช่น 
  • W9 Advanced Cancer Screening Test การตรวจคัดกรองเนื้องอกและมะเร็ง 51 ชนิด 
  • W9 Care Series โปรแกรมตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคร้าย และ 21 โรคที่พบบ่อยจากกรรมพันธุ์ (Genetics) 
  • Mistletoe Therapy การรักษาด้วยสารสกัดมิสเซิลโท
  • NK Therapy ระบบภูมิคุ้มกันสู้ไวรัสแบบ 1:1 โดยไม่ต้องรอให้ใครมาสั่งการ

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง ความรู้เกี่ยวกับโรคและวิธีการรักษาจึงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่รักษาให้หายได้มากกว่า 60-70% เลยทีเดียว ยิ่งกว่านั้นถ้าเป็นมะเร็งเต้านมระยะแรกสามารถรักษาหายได้ถึง 80-90%

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งนอกจากดูแลสุขภาพตัวเองแล้ว การ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ การหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีหรือการตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งเต้านม เพื่อหาความเสี่ยงก่อนการเป็นโรคจึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการดูแลตัวเองค่ะ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราเข้าใจกันมาโดยตลอดว่า “พันธุกรรม” เป็นตัวกำหนดที่ทำให้เรามีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับพ่อแม่ แต่ทำไมฝาแฝดแท้ๆ กลับมีนิสัยที่ต่างกัน

ประจำเดือนผิดปกติ นัดกันทุกเดือนแต่ไม่เคยมาตรงกันสักรอบ สิ่งผู้หญิงหลายคนน่าจะพบเจอปัญหานี้กันอยู่บ่อยๆ ที่ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่อยากจะบอกว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคร้าย หรืออาการผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอยู่ในตอนนี้ วันนี้เราเลยมีสัญาณของ ประจำเดือนผิดปกติ มาฝากกันค่ะ 8 สัญญาณเตือนอันตรายของผู้หญิง ประจำเดือนผิดปกติ อาจการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่หลายคนไม่ควรมองข้าม หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะอันตรายถึงชีวิต โดยปกติประจำเดือนของคุณผู้หญิงจะมาทุก 21-35 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือน ถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป แต่มีคุณผู้หญิงหลายคนที่ประจำเดือนไม่มาตามนัด กลายเป็นประจำสองเดือน ประจำสามเดือน หรือกลายเป็นประจำปีเลยก็มี บางรายมีอาการปวดท้องน้อย ในช่วงเวลา 8-48 ชั่วโมง หลังมีประจำเดือน เนื่องจากการหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก และยังมีอาการหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปเมื่อประจำเดือนหมด ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นตัวควบคุมการสร้างและการหลุดลอก นอกจากนี้ฮอร์โมนทั้งสองยังเกี่ยวข้องกับการตกไข่จากรังไข่ในเพศหญิง ฮอร์โมนไม่สมดุลส่งผลต่อประจำเดือนไม่ปกติ ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สมดุลจะช่วยสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลให้สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไป ซึ่งทำให้มีเลือดประจำเดือนมาก ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ตกไข่ตามปกติ […]

“อดนอน” มีทฤษฎีของความชรา ทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่า คนเราแก่ ก็เพราะฮอร์โมนตก ทำให้การซ่อมแซม ตามไม่ทันความเสื่อม แต่คนสมัยนี้แก่เร็วขึ้น บางคนอายุแค่ 20 ปีกว่าๆ ร่างกายเริ่มเสื่อมลงแล้ว ไหนจะโรคเส้นเลือดหัวใจอุดตัน เมื่อก่อนจะพบกับคนที่อายุมาก แต่ในปัจจุบันเรากลับมาพบว่าคนอายุน้อยๆ เริ่มเป็นโรคดังกล่าวกันมากขึ้นเพราะเหตุผลของการ อดนอน เราชอบคิดเองว่า เดี๋ยวนอนชดเชยเอาทีหลังก็ได้ ยิ่งในช่วงวัยรุ่น เป็นวัยที่ฮอร์โมนยังพลุ่งพล่าน ร่างกายยังสามารถผลิตฮอร์โมนชดเชยความเสียหายในระยะสั้นที่เกิดจากการอดนอน ได้อยู่ทำให้เราไม่ค่อยรู้สึกถึงผลเสียของการอดนอนสักเท่าไหร่ เพราะร่างกายยังสามารถปรับตัวได้ดี แต่ถ้ายังนอนผิดเวลาต่อเนื่องเป็นนระยะเวลานาน จนเป็นนิสัย ไม่นานเกินรอ สุดท้าย ร่างกายก็จะ “พัง” ก่อนเวลาอันควรอยู่ดี 6 ผลเสียของการ “อดนอน” หรือนอนไม่เป็นเวลา นอกจากนี้ การอดนอนยังสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็ง ฮอร์โมนเมลาโทนินที่ลดลงจากการเปิดไฟทำงานทั้งคืน มีผลเร่งการกลายพันธุ์ของยีน เพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งมากมาย เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งต่อมลูกหมากในผู้ชาย การอดนอนไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลยนะครับ โกรทฮอร์โมน ฮีโร่ของการนอนเร็ว โกรทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับทุกเพศ ทุกวัย ในวัยเด็กจำเป็นต่อการพัฒนาการของเด็ก ทั้งร่างกาย ความสูง […]