ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก ป้องกันได้ ตรวจก่อนตั้งแต่ยังไม่มีอาการ

จากสถิติปี 2563 พบมะเร็งปากมดลูกในสตรีไทยเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งเต้านม โดยพบผู้ป่วยใหม่ปีละกว่า 9,000 ราย และเสียชีวิตปีละ 4,700 ราย หรือในแต่ละวันจะมีสตรีไทยเสียชีวิตจากมะเร็งปากมดลูกสูงถึง 13 คน ทั้งๆ ที่มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่สามารถป้องกันได้ และส่วนใหญ่โรคนี้มักพบในหญิงอายุประมาณ 40 ปี 

ที่มา : SIRIRAJ ONLINE

มะเร็ง

อาย อายุยังน้อย ร่างกายยังแข็งแรงดี มีคู่นอนคนเดียว” เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนอาจกำลังคิดแบบนี้ และคิดว่าตัวเองไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และไม่น่ามีโอกาสจะเป็นโรคนี้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่าสาเหตุสำคัญของ มะเร็งปากมดลูก คือการติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งพบได้ทั้งในเพศชายและหญิง ทั้งนี้ ร้อยละ 80 ของผู้หญิงไทยเคยมีเชื้อเอชพีวีหรือกำลังมีแต่ไม่รู้ตัว เนื่องจากการติดเชื้อเอชพีวีมักจะไม่มีอาการแสดงให้เห็น และการตรวจทั่วไปทางการแพทย์ก็ไม่พบความผิดปกติ

ใครบ้างที่เสี่ยงจะเป็นมะเร็งปากมดลูก

สาเหตุส่วนใหญ่ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human Papilloma virus) ซึ่งติดต่อไปยังบุคคลอื่นๆ ได้จากการมีเพศสัมพันธ์ ในชีวิตของผู้หญิงคนหนึ่งอาจจะเคยได้รับเชื้อนี้ แต่ร่างกายสามารถกำจัดไปได้ และมีบางส่วนที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้ รวมถึงมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบริเวณปากมดลูกและทำให้เกิดโรคต่างๆ เช่น หูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก และอื่นๆ

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งปากมดลูก

  • การติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) สายพันธุ์หลัก ชนิดสายพันธุ์ 16 และ 18
  •  มีคู่นอนหลายคน
  • มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
  • การสูบบุหรี่ทำให้เพิ่มความเสี่ยง
มะเร็งปากมดลูก

ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมีอาการอย่างไรบ้าง

โดยปกติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกชนิดก่อนลุกลามส่วนใหญ่จะไม่มีอาการใด ๆ แสดงออกมาเลย ในบางรายอาจมีตกขาวมากกว่าปกติ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องตรวจภายใน และรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สำหรับผู้ที่สมควรได้รับการตรวจ คือ สตรีที่เคยมีเพศสัมพันธ์ โดยควรรับการตรวจปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ควรรับการตรวจเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกชนิดลุกลาม จะมีอาการ เช่น ตกขาวมาก บางครั้งอาจมีกลิ่น และมีเลือดออกกะปริบกะปรอย นอกจากนี้อาจมีเลือดออกภายหลังการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น หากมีอาการเหล่านี้ ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติโดยเร็ว

สัญญาณมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก
  • มีตกขาว เลือด ของเหลวออกทางช่องคลอดผิดปกติ
  • มีประจำเดือนมามาก หรือนานกว่าปกติ
  • มีเลือดออกทางช่องคลอด หลังมีเพศสัมพันธ์หรือเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ในระยะลุกลามอาจมีอาการปวดถ่วงบริเวณท้องน้อย ปัสสาวะขัด หรือถ่ายอุจจาระลำบาก ขาบวม เบื่ออาหาร หน้ำหนักลด

การป้องกันมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น 2 ระดับ

  1. การป้องกันระดับแรก (Primary prevention) การป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย การป้องกันระดับนี้มีหลายวิธี เช่น ไม่มีคู่นอนหลายคน ไม่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อยเกินไป เนื่องจากเยื่อบุของปากมดลูกยังไม่แข็งแรง ทำให้เชื้อ HPV เปลี่ยนแปลงปากมดลูกให้กลายเป็นระยะก่อนมะเร็งและมะเร็งได้ง่าย งดการสูบบุหรี่ ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV ซึ่งสามารถฉีดได้ทั้งในผู้หญิงและในผู้ชาย ตั้งแต่อายุ 9-45 ปี หากได้รับการฉีดวัคซีนก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และร่างกายอยู่ในวัยที่สร้างภูมิคุ้มกันได้ดี จะทำให้ได้รับประสิทธิภาพทางวัคซีนได้สูงสุด
  2. การป้องกันระดับที่ 2 (Secondary prevention) โชคดีที่มะเร็งปากมดลูกไม่ได้เป็นชั่วข้ามคืน แต่จะผ่านการเป็นระยะก่อนมะเร็งปากมดลูกก่อน เป็นเวลาหลายปีก่อนเป็นมะเร็ง ดังนั้นหากตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งและให้การรักษาอย่างเหมาะสม ก็จะหายและไม่กลายเป็นมะเร็งปากมดลูก และการป้องกันระดับที่ 2 ได้แก่ การตรวจหาเซลล์ผิดปกติบริเวณปากมดลูก หรือที่เรียกว่า “แปบสเมียร์” เป็นการตรวจที่ใช้ตรวจมาเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีความแม่นยำ นอกจากนั้น มีวิธีการตรวจหาเชื้อไวรัส HPV โดยอาศัยหลักการที่ว่า ถ้าไม่มีเชื้อไวรัสก็จะไม่กลายเป็นมะเร็ง

ทำไมต้องตรวจมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

ปัจจุบัน มะเร็งปากมดลูกและรอยโรคก่อนมะเร็งที่เกิดจากการติดเชื้อเอชพีวี สามารถป้องกันได้ด้วยการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เพราะการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดการลุกลามของเซลล์วิทยาที่ผิดปกติ ซึ่งอาจจะกลายเป็นมะเร็งที่ปากมดลูกได้ โดยที่ไม่แสดงอาการเจ็บป่วยแต่อย่างใด การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เริ่มตรวจอายุ 25 ปีในสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือ 30 ปี ในสตรีที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

  • การตรวจ Pap smear ความถี่ ทุก 2 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 5 ครั้ง
  • HPV DNA testing (ร่วมกับการตรวจเซลล์ วิทยา(co-testing) ความถี่ ทุก 5 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง
  • HPV DNA testing (Primary HPV testing) ความถี่ ทุก 5 ปี อายุที่หยุดตรวจ มากกว่า 65 ปี ถ้าผลตรวจไม่พบความผิดปกติติดต่อกัน 2 ครั้ง
  • การตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะศูนย์ (W9 Advanced Cancer Screening Test ) ตรวจหารอยโรคก่อนเป็นตั้งแต่ระยะเริ่มแรก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้าย และสามารถให้การรักษาให้หายขาดได้
  • การตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยง 13 โรคร้าย และ 21 โรคที่พบบ่อยจากกรรมพันธุ์ (W9 Care Series) ตรวจหาความเสี่ยงโรคร้ายแต่ละชนิดที่ส่งต่อมาทางพันธุกรรม และโรคเรื้อรังอื่นๆ เพื่อจะได้วางแผนจัดการกับความเสี่ยงในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น

รู้หรือไม่ ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ที่ติดเชื้อไวรัสนี้จะหายได้เองภายใน 2 ปี โดยภูมิต้านทานของร่างกาย แต่ในกรณีที่เชื้อไวรัสนี้ไม่หายไปหรือกำจัดไม่ได้ การติดเชื้อดังกล่าวอาจก่อให้เกิดระยะก่อนมะเร็ง และพัฒนาต่อไปจนเป็นมะเร็งได้ ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งตั้งแต่ระยะศูนย์ จึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคได้

เมื่อเราป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ได้ เท่ากับเราสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้”

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม ภูมิตก สิวเรื้อรัง อ้วนง่าย

ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ คือ สภาวะที่สมรรถภาพทางสมองมีการทำงานที่บกพร่องไป

จะกินแต่ขนมห่อ ขนมเค้ก ขนมปัง ไอศกรีม ก็รู้สึกเกรงใจร่างกายนิดนึง

error: Content is protected !!