ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

ภูมิแพ้อาหารแฝง ไม่ร้ายแรง แต่เรื้อรัง

คุณคุ้นเคยกับอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ ⁉

  • ท้องอืดท้องเฟ้อง่าย
  • เรอหรือผายลมบ่อย
  • ท้องผูกประจำ
  • มีสิวอักเสบไม่หาย
  • มีผื่นตามจุดต่างๆของร่างกาย หรือคันผิวโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปวดหัวแบบเรื้อรัง ไมเกรน
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง
  • น้ำมูกไหลไม่ทราบสาเหตุ

อาการที่ คุณ คุ้นเคยนี้ กำลังบ่งบอกว่า “คุณมีภาวะแพ้อาหารแฝงอยู่”
อย่าปล่อยให้อาการเหล่านี้ เป็นเพียง “ความเคยชิน” นะคะ

การตรวจวิเคราะห์ภูมิแพ้อาหารแฝง “Food Inflammation Test” จำนวน 132 รายการ
เพื่อการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุของการอักเสบที่เกิดจากอาหารโดยแท้จริง

หลายท่านคงคุ้นหูกับคำว่า “ภูมิแพ้อาหารแฝง” กันมาพอสมควร แต่ท่านทราบมั้ยคะ ว่าภูมิแพ้อาหารแฝงนี้มี 2 แบบ และแตกต่างกันอย่างไร เราควรตรวจไปพื่ออะไร มาหาคำตอบกันค่ะ

Food Inflammation Test ต่างกับ Food Intolerance Test อย่างไร ⁉

Food Intolerance Test จะเป็นการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงจากแอนติบอดี้ IgG ซึ่งเกิดจากอาหารที่เราทานบ่อย หรือทานเป็นประจำในช่วงนั้น จะทำให้ค่าผลการตรวจจะขึ้นสูงเป็นพิเศษ ซึ่งผลการตรวจ Food Intolerance นี้จะช่วยให้เราหมุนเวียนการรับประทานอาหารให้หลากหลายมากยิ่งขึ้นค่ะ

ส่วน Food Inflammation Test สามารถตรวจทั้งแอนติบอดี้ IgG และสารเชิงซ้อน IC-C3d ไปพร้อมๆกันค่ะ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ได้ผลที่แม่นยำและมีประสิทธิภาพมากกว่าการตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงปกติ ที่ตรวจเพียง IgG ได้เพียงอย่างเดียว

Food Inflammation Test จะรายงานผลถึง 132 รายการ ซึ่งจะประกอบด้วยรายการอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบในร่างกาย และสีผสมอาหารรวมถึงสารกันบูดที่เราควรหลีกเลี่ยง ส่วนจะต้องเลี่ยงนานแค่ไหน อยู่ที่ผลการตรวจของเราแต่ละคน ซึ่งการตรวจ Food Inflammation Test จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาอาการที่เกิดจากภูมิแพ้อาหารแฝง โดยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่เป็นผลบวกได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

โดยสรุปแล้ว การตรวจภูมิแพ้อาหารแฝงด้วย Food Inflammation Test จะช่วยให้เราทราบที่มาของอาการที่คุ้นเคยเหล่านั้น และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดโดยไม่ต้องเดาค่ะ ซึ่งเมื่อผลการตรวจออกมา แพทย์จะแนะนำให้ปรับการรับประทานอาหาร โดยให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดการอักเสบดังกล่าวค่ะ และเมื่อผ่านไป 3-6 เดือน จะนัดตรวจอีกครั้งนะคะ เพื่อเป็นการติดตามผลว่าอาหารที่เราหลีกเลี่ยงไปนั้น ต้องเลี่ยงต่อหรือรับประทานได้แล้ว และอาการต่างๆที่เคยมีดีขึ้นหรือไม่อย่างไรค่ะ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม ภูมิตก สิวเรื้อรัง อ้วนง่าย

ต่อมหมวกไตล้า ต้นเหตุของอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ โรคยอดฮิตในหมู่สังคมออฟฟิศ นอกเหนือจากออฟฟิศซินโดรมแล้ว

• ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า• วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้ ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1] เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2] เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี […]