ประจำเดือนผิดปกติ
นัดกันทุกเดือนแต่ไม่เคยมาตรงกันสักรอบ สิ่งผู้หญิงหลายคนน่าจะพบเจอปัญหานี้กันอยู่บ่อยๆ ที่ประจำเดือนมาบ้าง ไม่มาบ้าง แต่อยากจะบอกว่าอาการเบื้องต้นเหล่านี้เราไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นสัญญาณของการเกิดโรคร้าย หรืออาการผิดปกติบางอย่างของร่างกายเราอยู่ในตอนนี้ วันนี้เราเลยมีสัญาณของ ประจำเดือนผิดปกติ มาฝากกันค่ะ
8 สัญญาณเตือนอันตรายของผู้หญิง
ประจำเดือนผิดปกติ อาจการที่พบบ่อยในผู้หญิงที่หลายคนไม่ควรมองข้าม หากพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนที่จะอันตรายถึงชีวิต
- รอบเดือนมาผิดปกติ
- ระบบขับถ่ายผิดปกติ
- ปวดท้องประจำเดือนอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการปวดหลัง หรือปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์
- ประจำเดือนมามากกว่า 7 วันขึ้นไปอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์
- ปวดหลังส่วนล่างอย่างรุนแรง
- ลิ่มเลือดประจำเดือนมีขนาดใหญ่ผิดปกติ เสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอกในมดลูก
- มีหยดเลือดออกมาในช่วงที่ไม่มีประจำเดือน
- ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็นมากกว่าปกติ
โดยปกติประจำเดือนของคุณผู้หญิงจะมาทุก 21-35 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือน ถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป แต่มีคุณผู้หญิงหลายคนที่ประจำเดือนไม่มาตามนัด กลายเป็นประจำสองเดือน ประจำสามเดือน หรือกลายเป็นประจำปีเลยก็มี บางรายมีอาการปวดท้องน้อย ในช่วงเวลา 8-48 ชั่วโมง หลังมีประจำเดือน เนื่องจากการหลั่งสารเคมี ทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก และหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงมดลูกมีการหดเกร็งร่วมกับอาการปวดเมื่อยหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลว ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก และยังมีอาการหงุดหงิดง่าย วิตกกังวล ซึ่งอาการดังกล่าวจะหายไปเมื่อประจำเดือนหมด
ฮอร์โมนเอสโตรเจน และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เป็นตัวควบคุมการสร้างและการหลุดลอก นอกจากนี้ฮอร์โมนทั้งสองยังเกี่ยวข้องกับการตกไข่จากรังไข่ในเพศหญิง
ฮอร์โมนไม่สมดุลส่งผลต่อประจำเดือนไม่ปกติ
ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สมดุลจะช่วยสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นมา โดยเยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัวกลายเป็นเลือดประจำเดือนในกรณีที่ไข่ไม่ได้รับการปฏิสนธิ หากฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล จะส่งผลให้สร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไป ซึ่งทำให้มีเลือดประจำเดือนมาก ทั้งนี้ หากร่างกายไม่ตกไข่ตามปกติ ก็ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล และสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกหนาเกินไปจนทำให้ประจำเดือนมามากได้
สาเหตุของประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่ตรง
- ความเครียด ความวิตกกังวล
- อาหาร การอดอาหาร หรือ การเพิ่มน้ำหนักอย่างรวดเร็ว
- การรับประทานยาคุม ยิ่งทานไม่สม่ำเสมอยิ่งทำให้ประจำเดือนมาไม่ตรงเวลา
- การตั้งครรภ์
- มีเนื้องอกในมดลูก
- โรคถุงน้ำในรังไข่
- อายุเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน
อ่านเพิ่มเติม ตรวจฮอร์โมนผู้หญิง ต้องตรวจอะไรบ้าง และควรเริ่มตรวจเมื่อไหร่
ระยะเวลาปกติของประจำเดือนมาทุก 21-35 วัน นับจากวันแรกของรอบเดือนถึงวันแรกของรอบเดือนถัดไป
การรักษาประจำเดือนมาผิดปกติ
- กินยาปรับฮอร์โมนให้มีประจำเดือนมาสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- ตรวจหาความความเสี่ยงโรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะไขมันสูง
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมน้ำหนัก กินยากระตุ้นการตกไข่หากอยากมีบุตร
นอกจากเรื่องประจำเดือนแล้ว สมดุลฮอร์โมนยังส่งผลต่อสุขภาพในอีกหลายๆด้าน ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติเกิดจากสาเหตุของระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุล ถ้าอยากรู้ว่าร่างกายตัวเองสมดุลไหม โปรแกรมตรวจสมดุลฮอร์โมน 15 รายการ ที่จำเป็นต่อประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย จะทำให้คุณรู้ว่าตัวเองขาดสมดุลฮอร์โมนตัวไหน เพื่อที่จะได้ปรับสมดุลฮอร์โมนให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง