สารพิษ (Toxic) ในช่วงเวลาที่ใครต่อใครต่างหันมาใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น โดยการเพิ่มความระมัดระวังเพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอม หรือสารพิษ (Toxic) ต่างๆ ทั้งจากอากาศและการสัมผัส แต่สารพิษเหล่านั้นยังแฝงมาในรูปแบบของใกล้ตัวได้อีกมากมาย เช่น ภาชนะมื้อเที่ยงของเรา เป็นต้น
1 มื้ออาหารกับสารพิษเจือจางในภาชนะ
งานวิจัยได้ระบุถึงสารปนเปื้อน หรือสิ่งตกค้างในภาชนะใส่อาหาร ที่มีผลต่อการเกิดโรคหรือความเจ็บป่วยเรื้อรังต่างๆ ว่าสารพิษที่เจือปนมากับภาชนะใส่อาหารนั้นมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ดังนี้
- ภาชนะพลาสติก ที่เกิดจากการใช้วัสดุแบบโลหะหนัก เช่น สีผสมที่มีสารของโลหะหนัก การใช้สารเมลามีนที่ผลิตได้จากยูเรีย-ฟอร์มัลดีไฮด์ (มักถูกนำไปใช้ในการทำปลั๊กไฟฟ้า) เมื่อสารเหล่านี้ถูกนำมาใช้ผลิตภาชนะ จึงทำให้มีโอกาสเกิดสารพิษตกค้างเจือปนอยู่ในอาหารได้สูง รวมถึงการใช้งานที่ผิดวิธี เช่น การนำภาชนะเหล่านี้เข้าไมโครเวฟ
- ภาชนะถ้วยโฟม ที่มักถูกนำมาใช้ใส่อาหารร้อน หรือของทอดอยู่บ่อยครั้ง จนนำไปสู่การทำลายฮอร์โมนและระบบประสาทต่างๆ ในร่างกาย
- ภาชนะกระดาษ เนื่องจากวัสดุส่วนใหญ่มักมาจากกระดาษที่มีน้ำหมึกตกค้างอยู่ จึงอาจมีโลหะหนักปะปนมาด้วย หรือแม้ในวัสดุที่เป็นรีไซเคิล ก็ยังสามารถพบเจอน้ำมันแร่ตกค้างอยู่ได้
- ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ที่อาจมีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ ซึ่งสามารถสังเกตได้หลังการใช้งานไปแล้ว เช่น ผิวเคลือบมีฝุ่นผงสีเทา หรือมีการหลุดลอกเป็นแผ่นออกหลังใช้งานสักพัก
- ภาชนะอลูมิเนียม หนึ่งในอุปกรณ์ครัวเรือนที่หลายบ้านต้องมีไว้ เช่น กระทะ จาน ชาม หรือช้อนส้อม โดยเฉพาะเตาปิ้งย่างจากเมนูสุดฮิตอย่างหมูกระทะ ที่มักเกิดการหลุดของสารตะกั่ว สังกะสี หรืออะลูมิเนียม จากความร้อนและการทำความสะอาดที่รุนแรง และแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย มีผลต่อระบบประสาทและเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
หรือในอาหารแต่ละมื้อ..เราได้รับ สารพิษ พอๆ กับ สารอาหาร ?
การป้องกันสารพิษจากภาชนะทุกชนิด เราสามารถเริ่มต้นได้จากการหันมาใช้ภาชนะอย่างถูกต้องเหมาะ เช็คว่าวัสดุแบบไหนเหมาะที่จะใส่อาหารร้อน หรือควรใช้ภาชนะอะไรในการเข้าตู้ไมโครเวฟ พร้อมตั้งคำถามกับตัวได้แล้วว่า ในแต่ละมื้อเราได้รับสารพิษพอๆ กับสารอาหารหรือเปล่า ? ในปัจจุบันได้มีโปรแกรมช่วยตรวจโลหะหนักในร่างกาย เพื่อขับสารพิษตกค้างออกจากร่างกาย หรือ โปรแกรมตรวจ Toxic Heavy Metal โดยแพทย์ผู้เชียวชาญเฉพาะทางของ W9 Wellness Center ที่พร้อมดีไซน์วิธีดูแลสุขภาพเชิงป้องกันแบบยั่งยืน