ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้

นอนน้อยเป็นเหตุ ร่างกายอักเสบเพราะฮอร์โมนเหวี่ยง

นอนน้อย นอนดึก อาจเป็นพฤติกรรมเสพติดของใครหลายคน อาจเป็นเพราะกำลังดูหนังเพลินๆ เล่นเกมส์ติดพัน หรือต้องอ่านหนังสือสอบ สังคมของคนนอนดึกจึงไม่ได้มีสมาชิกแค่คนวัยทำงานเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มนักเรียน และนักศึกษา รวมอยู่ในนั้นเป็นจำนวนมาก! โดยที่ไม่มีใครคาดคิดเลยว่าการที่เราชอบนอนดึกบ่อยๆ กำลังส่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกาย จนเสี่ยงทำวงจรชีวิตพังแบบไม่รู้ตัว

นอนน้อย นอนดึก..ทำฮอร์โมนสึกและถดถอย

  • ระดับความจำถดถอย ในช่วงเวลาห้าทุ่ม-ตีสอง เป็นช่วงเวลาที่ต่อมใต้สมองผลิตโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) และหลั่งออกมาอย่างเต็มที่ เพื่อทำหน้าที่ซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ร่างกาย รวมถึงประสิทธิภาพด้านสมาธิ และการจดจำทั้งในระยะสั้น ระยะยาว ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงโอกาสการเกิดโรคอัลไซเมอร์ต่อไปได้ในอนาคต ฉะนั้นในวันที่เรานอนดึกจนเลยเวลาของโกรทฮอร์โมน วันนั้นก็ทำให้ร่างกายขาดการซ่อมแซมไปโดยปริยายเช่นกัน
  • ปัญหาริ้วรอยก่อนวัย เนื่องจากโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) มีหน้าที่สำคัญช่วยฟื้นฟูเนื้อเยื่อต่างๆ ทั่วทั้งร่างกาย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าโกรทฮอร์โมน มีผลต่อความยืดหยุ่น ชุ่มชื่น และความเรียบเนียนของผิวพรรณค่อนข้างมาก แต่ด้วยเพราะ พฤติกรรมชอบนอนดึก จึงทำให้โกรทฮอร์โมนหลั่งได้น้อยลงหรือไม่หลั่งเลย ผลลัพธ์ที่เกิดกับผิวพรรณจึงอาจเป็นในทิศทางติดลบ เช่น การมาของริ้วรอยก่อนวัย หรือความหย่อนคล้อยที่มาเร็วก่อนใครเพื่อน
  • ควบคุมอารมณ์ได้ยาก อีกหนึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยของคนนอนน้อย คือ ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ ตลอดจนการแสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ ที่ลดลง ที่อาจเป็นประกายไฟเล็กๆ ให้นำไปสู่โรคเรื้อรังต่างๆ ทางด้านอารมณ์ เช่น โรคอารมณ์แปรปรวน หรือโรคซึมเศร้า
  • ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เคยสังเกตไหมว่าทำไมจู่ๆ เราถึงมีแผลในช่องปาก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้มีจังหวะการเคี้ยวที่ผิดพลาดอะไร หรือทำไมจู่ๆ ถึงรู้สึกจะเป็นไข้ ทั้งที่ก็ออกไปเจอแดดเจอลมปกติ เหล่านี้ล้วนเป็นผลของภูมิคุ้มกันในร่างกาย (NK Cell) ที่อ่อนแอลง จนร่างกายเกิดภาวะภูมิต้านทานต่ำ (Immunosuppression) ทำให้เราป่วยง่ายขึ้น ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่มีงานวิจัยระบุออกมาแล้วว่ามีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย คือ คุณภาพการนอนที่ไม่ดี

นอนน้อยบ่อยๆ แต่ “น้ำหนักไม่น้อย” เสี่ยงอ้วนเพิ่มขึ้น!

อ้วนเพราะนอนดึก อาจเป็นประเด็นที่เราเริ่มได้ยินกันบ่อยขึ้นเรื่อยๆ นั่นเพราะปัจจัยที่มีผลต่อความอ้วน เช่น ระบบเผาผลาญ ความรู้สึกหิว ความรู้สึกอยาก หรือความเครียด ล้วนเกิดจากการหลั่งของสารสื่อประสาท หรือฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายทั้งสิ้น พฤติกรรมนอนน้อย จะส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด และทำให้ฮอร์โมนเกอลิน (Gherlin) หรือฮอร์โมนความหิวถูกกระตุ้น จนเรารู้สึกหิวและอยากชิมนู่น จิบนี่ตอนก่อนนอน โดยลืมนึกไปว่านี่ก็เป็นเวลาพักผ่อนของกระเพาะอยู่เหมือนกัน แถมยังเป็นการเพิ่มพลังงานในร่างกายได้โดยไม่รู้ตัว!

จนเกิดเป็นสาเหตุแห่งความอ้วนที่แตกต่างกันไป ซึ่งนอกจาก การปรับวงจรการนอนหลับ จะเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรทำเป็นอันดับแรกๆ แล้ว การคืนสมดุลฮอร์โมนให้ร่างกาย ยังเป็นสิ่งที่เราในฐานะ “เจ้าของร่างกาย” ต้องเริ่มต้นวางแผน และออกแบบให้ดี เพราะพฤติกรรมแม้เพียงเล็กน้อย ก็พร้อมส่งผลต่อการฮอร์โมนต่างๆ ทั่วทั้งร่างกายเข้าอย่างจัง

ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกัน เพื่อปรับสมดุลฮอร์โมน Add Line : @w9wellness

โปรแกรม Holistic Weight Management

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงนี้เราได้ยินความสำคัญของ Vitamin D มาค่อนข้างเยอะ ในแต่ละวันร่างกายเราต้องการวิตามินดีเฉลี่ยอยู่ที่

ลำไส้กับภูมิคุ้มกัน อวัยวะที่หลายคนมักจะหลงลืม ภูมิตก สิวเรื้อรัง อ้วนง่าย

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่กับฝุ่นและมลภาวะกันมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สุขภาพของใครหลายคนเริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้เป็นเฉพาะในคนที่มีพันธุกรรมเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษเยอะๆ