ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า เครียด ป่วยง่าย อาจเพราะร่างกายขาดวิตามินดี

วิตามินดีกับ ภาวะซึมเศร้า Vitamin D and Depression

ภาวะขาดวิตามินดีหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับ ภาวะซึมเศร้า รวมถึงระดับวิตามินดีที่ต่ำ อาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม และวิตามินดีไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การได้รับวิตามินดีชดเชยนั้น มีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้

ภาวะซึมเศร้า มักถูกพบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในการรักษาโรคซึมเศร้านั้น เราจะใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีผลประสบความสำเร็จถึง 76-85% (World Health Organization WHO 2020) แต่ผู้ป่วยในจำนวนน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา ทั้งนี้มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรือทนต่อผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นไม่ไหว และภาวะซึมเศร้านี้ เปรียบเสมือนโรคเรื้อรังซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้

ภาวะซึมเศร้า

มีผลงานวิจัยจำนวนมากขึ้น เริ่มศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะซึมเศร้ากับภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุหลายชนิด เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี 6, วิตามินบี 12, โฟเลท, วิตามินดี, สังกะสี, ทองแดง, แมกนีเซียม รวมทั้งกรดไขมันจำเป็น เช่น โอเมก้า-3 หรือแม้แต่กรดอะมิโนบางชนิด เช่น กาบ้า ไกลซีน ทริปโตแฟน หรือ ไทโรซีน เป็นต้น

และยังมี งานวิจัยขนาดใหญ่ในอังกฤษ ซึ่งศึกษาในคนกว่า 31,000 คน พบว่า กลุ่มคนที่เป็นภาวะซึมเศร้า มีระดับวิตามินดีต่ำ กว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ และยังพบว่า กลุ่มที่วิตามินดีต่ำ มีคนที่เป็นภาวะซึมเศร้ามากกว่า กลุ่มที่วิตามินดีสูงถึง 121% ซึ่งสามารถ สรุปได้ว่า ระดับวิตามินดีที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าจริง

จากงานวิจัย ระดับวิตามินดีต่ำจึงถือเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่มีผลกับภาวะซึมเศร้า และมีหลักฐานมากเพียงพอที่จะ แนะนำให้ผู้ป่วยซึมเศร้า ตรวจคัดกรองและรักษาภาวะขาดวิตามินดี

วิตามินดีส่งผลต่อการทำงานของสมองอย่างไร?

วิตามินดี เป็นวิตามินที่ละลายและจะถูกจัดเก็บสะสมไว้ในไขมัน สมองของเราก็เป็นเนื้อเยื่อไขมันขนาดใหญ่ เราพบตัวรับวิตามินดี (Vitamin D Receptor) ในเซลล์สมองเกือบทุกเซลล์ วิตามินดีจึงถือเป็นฮอร์โมนที่สำคัญตัวหนึ่ง ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่กระตุ้นและยับยั้งเอ็นไซม์ ที่มีส่วนป้องกันความเสียหาย การซ่อมแซม และสร้างเซลล์ประสาทในสมองด้วย ในภาวะขาดวิตามินดีไม่เพียงแต่ส่งผลต่อสุขภาวะทางอารมณ์ แต่ยังส่งผลถึงความคิดอ่าน ความจำ และประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

โดยงานวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า วิตามินดียังมีความสำคัญกับพัฒนาการของสมองตั้งแต่ในครรภ์ เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีวิตามินดีต่ำ จะพบการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างและการทำงานของสมอง การทำงานของสารสสื่อประสาทโดปามีน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคจิตประเภทในวันรุ่นได้

วิตามินดี และคุณแม่ตั้งครรภ์

มีการศึกษาเกี่ยวกับ ภาวะซึมเศร้าในผู้หญิงหลังคลอด (Postpartum Depression) พบว่า คุณแม่ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ ทั้งตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ ไปจนถึงหลังคลอด จะมีโอกาสเป็นซึมเศร้าได้มากกว่าถึง 2.67 เท่า และมีบางรายงานพบว่าการเสริมวิตามินดี อาจส่งผลดีต่อการลดลงของภาวะซึมเศร้าได้

ภาวะซึมเศร้า

การรักษาภาวะซึมเศร้าในทาง Functional Medicine ยังมองไปถึงปัจจัยอื่น เช่น ความผิดปกติของจุลชีพในลำไส้ (Dysbiosis) และระดับสารพิษสะสมจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicity) เพิ่มเติมจากการรักษาปกติด้วย ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะซึมเศร้ามีได้หลายสาเหตุ เช่น พันธุกรรม สารเคมีในสมองเสียสมดุล สารอาหารต่ำ สมดุลลำไส้ ยาที่ใช้ และความเครียด 

ดังนั้น การขาดวิตามินดีไม่ใช่เพียงสาเหตุเดียวที่นำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ แต่การตรวจวัดระดับวิตามินดีสำหรับคนที่มีความเสี่ยงก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามนะครับ

หนังสือ Healthitude สุข(อุดม)คติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะสมองเสื่อม หรือ อัลไซเมอร์ คือ สภาวะที่สมรรถภาพทางสมองมีการทำงานที่บกพร่องไป เช่น ด้านความจำ การตัดสินใจ การบริหารจัดการต่างๆ เป็นต้น ซึ่งโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่เจอได้บ่อยของกลุ่มภาวะ สมองเสื่อม อย่างเช่น บางคนที่เป็นสโตรก (Stroke) โรคหลอดเลือดสมองตีบ ก็ทำให้มีอาการของสมองเสื่อมได้เช่นกัน สำหรับในคนไทยเราก็พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปก็จะมีความเสี่ยง โรคสมองเสื่อม ได้ถึงร้อยละ 5 แล้วเมื่อเรามีอายุเพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ปีขึ้นไป ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาวะสมองเสื่อมถึงสองเท่า และเมื่อเราอายุ 80 ปี ก็จะมีโอกาสที่จะเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ถึงร้อยละ 20 หรือว่า 1 ใน 5 เลยทีเดียว สาเหตุของภาวะสมองเสื่อม หรืออัลไซเมอร์ ภาวะ สมองเสื่อม ก็เกิดได้จากหลายสาเหตุ มีทั้งสาเหตุที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แล้วก็สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก สาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ เช่น การขาดวิตามินบี 12 โรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมนไทรอยด์ หรือภาวะที่มีน้ำคั่งในสมอง สาเหตุสมองเสื่อมจากการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น ส่วนสาเหตุที่รักษาให้หายขาดได้ยาก เช่น […]

โรคเริมกับงูสวัด เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส กลุ่มที่เรียกว่า ไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes simplex) แม้ว่าจะเป็นคนละชนิดกัน แต่ก็อยู่ในกลุ่มเชื้อตัวเดียวกัน โดยอาการของโรคเริมจะเป็นตุ่มใส แตกหรือไม่แตกก็ได้ มีอาการค่อนข้างปวดแสบปวดร้อน จะขึ้นบ่อยๆ ที่ริมฝีปาก เนื้อเยื่อข้างในปาก หรือว่าอวัยวะเพศ ส่วนโรคงูสวัดจะเป็นตามตัว สามารถเป็นได้ทั้งร่างกายเลย ทั้งที่หน้า จมูก ตา แขน หลัง ไหล่ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นแค่ข้างเดียว จะมีลัษณะเป็นปื้นยาวๆ แต่ที่เป็นลักษณะแบบนั้น ส่วนนึงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มันเข้าไปที่ปลายประสาท หรือเส้นประสาท มันก็เลยมีลักษณะออกไปเป็นแบบยาวๆ ในปัจจุบันมีทางเลือกในการ รักษาโรคเริม กับงูสวัด ด้วยโอโซนบำบัด อย่างที่เรารู้ว่ากันว่าเชื้อเริมหรืองูสวัด รักษาค่อนข้างยาก แล้วอยู่กับเราค่อนข้างนาน บางคนติดเชื้อมาอาจจะไม่มีอาการไปหลายปีเลยก็ได้ แล้ววันดีคืนดีที่เราแบบเครียดมาก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ภูมิต้านทานตก อาการดังกล่าวก็แบบโผล่ขึ้นมา กับอีกบางคนเป็นบ่อย การที่เป็นบ่อยๆ แสดงว่าภูมิต้านทานไม่ค่อยดี อันนี้ถือว่าเป็นสัญญาณที่บอกว่าร่างกายเราภูมิต้านทานเริ่มตก เพราะว่าเราเป็นเริมบ่อย ถือว่าสุขภาพเราเริ่มแย่ เป็นการสะท้อนระบบภูมิต้านทานของเราจากภายใน แนวทางการป้องกันการติดเชื้อไวรัส การป้องกันการเกิดอาการ หรือการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสทุกชนิด รวมถึงไวรัสเฮอร์ปีส์ด้วย คือที่เราต้องทำให้ระบบภูมิต้านทานของเราดีขึ้น แข็งแรงขึ้น ซึ่งแนวทางการปฏิบัติตัวเบื้องต้น […]

มะเร็งบางชนิดมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยปกติแล้วทุกคนมียีนก่อมะเร็งที่ติดตัวมาตั้งแต่กำเนิดเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็ง ขึ้นอยู่ที่ว่ายีนนั้นจะกลายพันธุ์จนก่อให้เกิดมะเร็งหรือไม่ ปัจจุบันการตรวจยีนหรือ