PM 2.5 ภัยเงียบที่ต้องระวัง

PM 2.5 ฝุ่นพิษ ที่คนไทยต้องระวังตลอดเวลา เพราะมลพิษและมลภาวะต่างๆ ในบ้านเราทำให้ฝุ่นพิษเหล่านี้ไม่หายไป และยังพร้อมกลับมาได้เสมอ

อันตรายแค่ไหน เมื่อคนกรุงมีอากาศดีแค่ 49 วัน

อากาศดี กลายเป็นสิ่งมีค่าที่หายาก เมื่อข้อมูลในปี 2022 พบว่า ฝุ่นล้อมกรุงจนทำให้เราได้สูดอากาศดีเพียงแค่ 49 วันเท่านั้น เทียบกับการสูบบุหรี่ถึง 1,224.77 มวน ซึ่งอาจมีผลให้เกิดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และในอีกหลายโรคเรื้อรัง ที่อาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้ โดยที่เรายังต้องลุ้นค่าฝุ่นกันวันต่อวัน

ที่มา : The World Air Quality Index Project

แหล่งกำเนิดของฝุ่น PM 2.5

  1. ฝุ่นจากท่อไอเสียรถยนต์ โดยเฉพาะบริเวณที่มีการจราจรติดขัด หนาแน่น​
  2. ฝุ่นจากงานก่อสร้างทั้งหลาย เช่น รถไฟฟ้า อุโมงค์ คอนโดมิเนียม ฯลฯ
  3. ฝุ่นจากการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เช่น เผาหญ้า ไฟป่า
  4. ฝุ่นจากโรงงานอุตสาหกรรม

โดยปกติแล้ว ฝุ่นเหล่านี้จะลอยขึ้นไปรวมตัวกันในอากาศเป็นจำนวนมากในช่วงกลางคืน ก่อนที่จะถูกลมพัดจางหายไปในตอนเช้า แต่หากสภาพอากาศที่มีหมอกในตอนเช้า อากาศนิ่ง และมีสภาพอากาศปิด จะทำให้ฝุ่นจิ๋วเหล่านี้ถูกสะสมวนเวียนอยู่รอบๆตัวเรา เมื่อเราสูดหายใจเข้าไปจึงเกิดอันตรายได้

ภัยร้ายจากฝุ่นที่ต้องระวัง

ฝุ่นร้ายนี้ ประกอบไปด้วยสารพิษโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมี่ยม และสารหนู เป็นต้น และด้วยขนาดที่เล็กมาก แค่ 2.5 ไมครอน (เล็กกว่าขนาดหน้าตัดของเส้นผมเรา 25 เท่า) จึงทำให้ฝุ่นร้ายนี้นอกจากจะเล็ดลอดการกรองภายในจมูกเราเข้าสู่ปอดอย่างง่ายดายแล้ว ยังเล็ดลอดการกรองจากปอดเราเข้าสู่เส้นเลือดได้โดยตรง แทรกซึมกระบวนการทำงานของอวัยวะต่างๆ เมื่อรับฝุ่นควันเป็นเวลานาน จึงมีผลให้เกิดการอักเสบทั่วร่างกาย ส่งผลเสียต่อการแข็งตัวของเลือด การทำงานของเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมีผลให้เกิดโรคเรื้อรัง ทั้ง

  • โรคหัวใจ เสี่ยงต่อการเกิดหัวใจวาย และหัวใจล้มเหลว
  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคติดเชื้อเฉียบพลันในระบบหายใจส่วนล่าง
  • โรคกระดูกพรุน

นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลกยังกำหนดให้ PM2.5 อยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 เป็นสาเหตุ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร และในปี 2562 ยังพบว่ามลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุการเสียชีวิตมากกว่าการสูบบุหรี่ โดยส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิตเกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจ (CVD)

วิธีป้องกัน และดูแลร่างกายให้ปลอดภัยจากฝุ่น

1. เลี่ยง – ลด การทำกิจกรรมกลางแจ้ง

2. ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งต้องเป็นหน้ากากที่ระบุว่า ป้องกันอนุภาคขนาดน้อยกว่า 2 ไมครอน เท่านั้น

3. รับประทานสารอาหารที่มีส่วนช่วยในการต้านอันตรายที่เกิดจากฝุ่น PM 2.5

  • วิตามิน A และเบต้า-แคโรทีน พบมากในแครอท ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง มันเทศ มันหวาน มะม่วง มะละกอ ฯลฯ มีส่วนช่วยให้ประสิทธิภาพการทำงานของปอดให้ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินหายใจและระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย พร้อมต้านฤทธิ์พิษฝุ่นจิ๋ว
  • วิตามิน C พบมากในผลไม้ตระกูลเบอร์รี่และผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะขามป้อม กีวี สตรอว์เบอร์รี ส้ม มะเขือเทศ ผักสีเขียวเข้ม หัวหอม ฯลฯ ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่เข้าสู่ร่างกาย และมีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกันทั้งระบบ ลดอาการภูมิแพ้ อาการคันต่างๆ จากพิษฝุ่นจิ๋ว
  • วิตามิน E พบมากในอาหารไขมันสูง อย่างถั่วและธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง อัลมอนด์ เฮเซลนัต อะโวคาโด ไข่แดง ฯลฯ ช่วยลดการอักเสบและต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์และปกป้องปอดจากฝุ่นละอองและมลพิษ
  • วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และกรดโฟลิกหรือสารโฟเลต พบมากในผักสีเขียวเข้ม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ธัญพืช เนื้อสัตว์จำพวกอกไก่ เนื้อวัวไม่ติดมัน เนื้อหมู และอาหารทะเล มีส่วนช่วยลดสารโฮโมซิสเทอีนในเลือด ป้องกันภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ เนื่องจากจากการได้รับฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมทุกๆ วัน มีผลให้มีสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูง
  • วิตามิน D พบมากในปลาชนิดต่างๆ เช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาตะเพียน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคคอแรล ฯลฯ รวมถึงไข่แดง ตับ นม และเห็ด มีส่วนช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ช่วยการสร้างเม็ดเลือดขาวและการจับกินเชื้อโรค ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งปอด ลดความรุนแรงของการเกิดโรคหอบหืด ที่เกิดจากพิษฝุ่นจิ๋ว
  • โอเมก้า-3 พบมากในปลาทะเล อาหารทะเล และปลาน้ำจืดบางชนิด และยังพบได้ในผลิตภัณฑ์จากนม ผักโขม ถั่วเหลือง ถั่วอัลมอลต์ ถั่วแระ ฯลฯ ช่วยลดการอักเสบและการระคายเคืองที่ผิวหนัง ช่วยป้องกันการติดเชื้อ และมีส่วนช่วยเสริมสร้างผนังเซลล์ในร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากพิษฝุ่นจิ๋วได้
  • N-acetyl cysteine เป็นสารอาหารที่ต้องการกรดอะมิโนซิสเตอินช่วยในการสังเคราะห์ อาหารที่มีกรดอะมิโนซิสเตอินจะพบมากในเนื้อแดงอย่าง พอร์คชอป สเต็กเนื้อ และพบในธัญพืช โยเกิร์ตไขมันต่ำ ไข่ แตงโม หอมใหญ่ กระเทียม จมูกข้าวสาลี ฯลฯ ช่วยลดการเกาะติดของเชื้อโรคในระบบทางเดินหายใจ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ ช่วยกำจัดสารพิษและสารอนุมูลอิสระในร่างกาย

4. คีเลชั่นบําบัด เป็นกระบวนการช่วยนําสารพิษจำพวกโลหะหนักออกจากร่างกาย เพื่อล้างหลอดเลือดให้สามารถทํางานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

  • คีเลชั่นบำบัด เป็นการรักษาที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสํานักการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุขไทย ซึ่งมีงานวิจัยรองรับโดยองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา รับรองให้เป็นการรักษามาตรฐานสําหรับกําจัดสารโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว ออกจากร่างกาย
  • นอกจากนี้การแพทย์ทางเลือก ยังใช้คีเลชั่นบําบัดในการเสริมการรักษาแบบองค์รวม สําหรับผู้ป่ วยโรคหัวใจ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันเกาะตับ ควบคู่กับการรักษาหลักอื่นๆเช่น การปรับไลฟ์สไตล์, การออกกําลังกาย, การผ่าตัด และ การรับประทานยา

**เพื่อความปลอดภัย** การทำคีเลชั่นบำบัด ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทำในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเท่านั้น​

เอกสารอ้างอิง​

  • Péter S, Holguin F, Wood LG, Clougherty JE , Raederstorff D, Antal M, Weber P, Eggersdorfer M. Nutritional Solutions to Reduce Risks of Negative Health Impacts of Air Pollution. Nutrients. 2015; 7(12): 10398–10416.
  • กรมควบคุมมลพิษ http://aqmthai.com
  • https://www.who.int/health-topics/air-pollution#tab=tab_1

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

นับวันปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพของคนในยุคนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ต้องเจอทั้งฝุ่น PM2.5 ควันรถจากท่อไอเสีย ไมโครพลาสติก

ช่วงนี้เราได้ยินความสำคัญของ Vitamin D มาค่อนข้างเยอะ ในแต่ละวันร่างกายเราต้องการวิตามินดีเฉลี่ยอยู่ที่

ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า ทุกวันนี้เราใช้ชีวิตอยู่กับฝุ่นและมลภาวะกันมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้สุขภาพของใครหลายคนเริ่มมีปัญหา โดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ที่ไม่ได้เป็นเฉพาะในคนที่มีพันธุกรรมเท่านั้น แต่สิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษเยอะๆ