ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
วัยทอง

วัยทอง หมดประจำเดือน ไขทางออกสุขภาพของผู้หญิง

ผู้หญิงเราเมื่ออายุมากขึ้น Hormone ต่างๆ ก็จะเข้าสู่สภาวะเสื่อมถอยลงตามอายุ โดยเฉพาะ Hormone เพศ เนื่องมาจากรังไข่ของเราเกิดความเสื่อมลงตามธรรมชาติ โดยปกติแล้ว ผู้หญิงเราจะเข้าสู่ วัยทอง ได้ตั้งแต่อายุ 40-58 ปี โดยเฉลี่ยของผู้หญิงไทยจะเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนที่อายุ 48 ปี

สาเหตุของการเกิดวัยทอง (Menopause)

อาการของ “วัยทอง” เกิดขึ้นได้เนื่องจากรังไข่หยุดทำงาน จึงไม่มีการสร้าง Hormone เพศ โดยเฉพาะ Hormone Estrogen และ Progesterone ส่งผลทำให้ร่างกายเกิดอาการของวัยทอง ไม่ว่าจะเป็น

  • ผิวหนังที่เริ่มแห้ง คันตามผิวหนัง 
  • ผมร่วง 
  • มีภาวะช่องคลอดแห้ง แสบ 
  • ความสนใจทางเพศลดลง 
  • มีอารมณ์แปรปรวน 
  • ร้อนวูบวาบ ทำให้มีปัญหาด้านการนอนหลับ 
  • มีอาการปวดหัว ความคิดและความจำเสื่อมถอยลง บางคนเป็นมากถึงขนาดมีอาการใจสั่น 
  • วิตกกังวล จนไม่สามารถทำงานได้ก็มี

ปัจจุบันเราพบว่าผู้หญิงเกิดภาวะวัยทองก่อนวัยมากขึ้น ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ รวมไปถึงโรคกระดูกพรุนได้มากขึ้น

วัยทองก่อนวัย เกิดจากอะไรได้บ้าง

ภาวะวัยทองก่อนวัยนอกจากจะเกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรม การที่มีอาการเจ็บป่วย โรคบางโรค เช่น ภาวะโลหิตจาง หรือมีภาวะไทรอยด์ต่ำ ยังเกิดจาก Lifestyle ในปัจจุบัน ที่มีส่วนสำคัญที่เร่งการเกิดภาวะวัยทองก่อนวัย การที่เราต้องรีบเร่งและมีความเครียดที่สูงจนเกินไป ส่งผลให้ Hormone ผิดปกติไปได้ รวมไปถึงการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น การับประทานอาหารแปรรูป ทำให้ขาดวิตามินและเกลือแร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารในปัจจุบัน อาจจะมียาฆ่าแมลงตกค้างจำนวนมาก ทำให้ได้รับสารที่เรียกว่า Xenoestrogen ตกค้างในร่างกายมากขึ้น และเราสามารถตรวจเช็กสารพิษได้สะสมได้

สาร Xenoestrogen ตัวนี้ หากสะสมในร่างกายมากก็ส่งผลให้เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งได้

วิธีป้องกันวัยทองก่อนวัย

ภาวะวัยทองก่อนวัยสามารถป้องกันได้โดยการหมั่น ตรวจสุขภาพ และ สมดุล Hormone เป็นประจำร่วมกับเลือกรับประทานอาหารตามธรรมชาติหรือ เสริมด้วยสารเสริมอาหาร ที่มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สูง แนะนำให้รับประทานที่มีสีแดงส้ม เช่น แครอท มะเขือเทศ พวกนี้มีสารสำคัญที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และป้องกันมะเร็ง คือสาร Beta carotin และ Lycopene นั่นเอง

Hormone Estrogen ที่ลดลงทำให้การเผาผลานไขมันในร่างกายลดลง ทำให้ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนอ้วนง่ายและมีไขมันในเลือดที่ผิดปกติ

เวลาเจาะเลือดมาจะพบว่า มีไขมันดีหรือ HDL ลดลง ไขมันไม่ดี LDL เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นผู้หญิงวัยทองควรระมัดระวังการกินอาหารที่มีน้ำตาลสูงและไขมันสูงเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงไขมัน Trans Fat เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีไขมันจำเป็น ที่ลดการอักเสบเช่น Omega 3 Omega9 ที่ได้มาจากน้ำมันปลาและเม็ด Flax seed

นอกจากนั้น การรับประทานอาหารที่มีสารคล้าย Hormone Estrogen ตามธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า Phytoestrogen จะทำให้อาการวัยทองลดความรุนแรงลงได้

อาหารที่มีสาร Phytoestrogen มากเช่น ถั่วเหลือง เต้าหู้ น้ำมะพร้าว จะพบสารที่ชื่อว่า Isoflavonoid สูง สามารถลดอาการร้อนวูบวาบในช่วงที่ Hormone ไม่สมดุลได้ ซึ่งปริมาณที่แนะนำเพื่อป้องกันคือ 50mg ต่อวัน เท่ากับการกินเต้าหู้วันละ 1 ก้อน หรือน้ำเต้าหู้วันละ 1 แก้ว หรือนมถั่วเหลืองวันละ 1 กล่อง

ผู้หญิงวัยทองดูแลตัวเองอย่างไร

การลดลงของระดับ Hormone Estrogen ยังส่งผลให้มวลกระดูกลดลงอย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วมวลกระดูกของผู้หญิงเราจะเริ่มลดลงเมื่อมีอายุ 35 ปี ประมาณปีละ 1-2% ต่อปี แต่เมื่อเข้าสู่ภาวะใกล้หมดประจำเดือน หรือหมดประจำเดือนแล้ว มวลกระดูกจะลดลงมากถึง 5% ต่อปี ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดกระดูกพรุนในผู้หญิงจึงมีความสำคัญ ทำได้โดยการรับประทานอาหารหรือเสริมด้วยสารที่มี Calcium และ Vitamin D สูง

ร่วมกับรักษาสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ให้ดีเพื่อให้ลำไส้สามารถดูดซึมสารอาหารและผลิต Vitamin ได้ เช่น ในกลุ่มของ Vitamin B และVitamin K ให้ได้เป็นปกติ

รับประทานโปรตีนให้เพียงพอเพื่อป้องกันการสลายตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงช่วยเรื่องการทรงตัวป้องกันการหกล้ม

สำหรับอาหารที่ช่วยเรื่องการปรับอารมณ์ และป้องกันภาวะซึมเศร้าในวัยทองก็เป็นสิ่งสำคัญ ควรเลือกอาหารที่มีสาร Tryptophan สูง เช่น กล้วย นม แนะนำให้รับประทานก่อนนอน 1-2 ชม. จะช่วยให้หลับสบาย และสามารถช่วยให้ Hormone Melatonin หลั่งออกมาเป็นปกติได้

ตรวจเช็กสมดุล ฮอร์โมนวัยทอง รู้ก่อนป้องกันได้

การรักษาและป้องกันการเกิดวัยทองก่อนวัยเป็นเรื่องละเอียด การเข้าสู่ภาวะเสื่อมถอยของรังไข่ของแต่ละคนอยู่ในช่วงอายุที่แตกต่างกัน อาการแสดงของแต่ละคนก็แตกต่างกัน ดังนั้น หากสงสัยว่าตนเองกำลังเข้าสู่วัยเปลี่ยนผ่านของ Hormone หรือไม่ จึงควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจสมดุลของ Hormone ทุกระบบ เพื่อที่จะได้วางแผนและป้องกันวัยทองได้อย่างมีคุณภาพ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เหนื่อยไหมกับการลดน้ำหนักไม่ลง แม้จะพยายามควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ทำไมน้ำหนักก็ยังไม่ลดลงสักที? คำตอบอาจไม่ได้อยู่ที่แค่ความพยายามของคุณเพียงอย่างเดียว

เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และปัจจัยทางพันธุกรรม อาจมีผลมากถึง 80%

“อดนอน” มีทฤษฎีของความชรา ทฤษฎีหนึ่งกล่าวไว้ว่า คนเราแก่ ก็เพราะฮอร์โมนตก

error: Content is protected !!