ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
Telomere

อายุร่างกาย กับ อายุจริงของคุณ เท่ากันจริงหรือ ? Telomere Length มีคำตอบ

Telomere Length Test เป็น ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarker of Health & Longevity) ที่ช่วยประเมินสุขภาวะ และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากความเสื่อม (Aged-related and degenerative diseases) เช่น โรคหัวใจและโรคอัลไซเมอร์

จะดีมั้ยถ้ามีการตรวจที่สามารถบอกอายุขัยที่แท้จริงของคุณได้?

Telomere length can give some “clue” to your health

การตรวจความยาวของเทโลเมีย จะสามารถบอกอายุที่แท้จริง (Biological age) ของเรา ว่าแตกต่างกับอายุในบัตรประชาชน (Chronological age) มากน้อยเท่าไหร่ โดยมีการทดลอง ให้คนลองทายอายุจากภาพถ่าย พบว่าคนที่มีเทโลเมียยาว จะถูกทายว่าเด็กกว่าอายุจริง กลับกัน คนที่รูปดูแก่ กว่าอายุจริง ก็มักจะมีเทโลเมียที่สั้นกว่าอายุจริง

ความยาวของเทโลเมีย ยังสะท้อนถึงผลรวมสุขภาพ ที่เกิดจากทั้งพันธุกรรม (genetics) พฤติกรรมการใช้ชีวิต (behavioral) และปัจจัยภายนอกต่างๆ (environmental factors) ที่ส่งผลกับร่างกายของเรามาทั้งชีวิต

จากผลงานวิจัยรางวัลโนเบล ในปี 2009 ที่ Elizabeth Blackburn และคณะ ได้ค้นพบ “ความหมาย” ของรหัสพันธุกรรมที่ “ปลายสาย” ของ DNA ที่ทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายของ DNA ในการแบ่งเซลล์

นักวิจัยพบว่า เมื่ออายุมากขึ้น เทโลเมียร์จะสั้นลง และเทโลเมียที่สั้น มีความสัมพันธ์กับ “อายุขัย” และ “ความจำ” ที่ลดลง นอกจากนั้น ยังมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน ภาวะสมองเสื่อม และโรคมะเร็ง

นอกจากนั้นทีมของ Elizabeth ยังพบว่า เราสามารถทำให้ เทโลเมียที่สั้นของเรากลับมา “ยาวขึ้นได้” !! โดยพบว่า “เทโลเมียเรส” (Telomerase) เป็นเอ็นไซม์สำคัญ ที่สามารถซ่อมแซมเทโลเมียให้ยาวขึ้น ซึ่งอาจจะหมายถึง ชีวิตที่ยืนยาวขึ้น หรือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เนื่องจากความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง และโรคจากความเสื่อม ลดลง

ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมาย ที่พยายามค้นหาความลับของ วิธีต่างๆที่จะเพิ่มการแสดงออกของยีน (expression) ที่ควบคุมการผลิตและการทำงานของ เอ็นไซม์เทโลเมียเรส เพื่อเป้าหมายในการชะลอวัย อย่างยั่งยืน

Start your Wellness journey with W9 Wellness Center – Telomere length test

Reference

สนใจโปรโมชั่น ตรวจความยาวของเทโลเมีย คลิก!

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารปนเปื้อน การปนเปื้อนของฮอร์โมน (Hormone) ในอาหาร โดยเฉพาะเนื้อสัตว์

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หนึ่งในอาการผิดปกติที่พบได้มากในผู้สูงวัย แม้เราจะเข้าใจว่าเกิดได้เพราะความเสื่อมตามวัย แต่ใช่ว่าควรปล่อยปะละเลย.. คงดีกว่าแน่หากเราเข้าใจหนึ่งในอาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงวัย

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก และมีแนวโน้มว่าจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ว่าในปี

error: Content is protected !!