ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ความเครียด

ความเครียด เกิดจากตัวเราหรือฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด

เดี๋ยวนี้หมอเจอคนไข้ที่ยังเด็ก อายุน้อยๆ เป็นโรคเครียดกันมากขึ้น หมอพบว่า ส่วนใหญ่เด็กจะเครียดเพราะ “ความคาดหวัง” เริ่มตั้งแต่ความคาดหวังจากพ่อแม่ จากกลุ่มเพื่อน ตลอดจนคาดหวังจากสังคม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ กลุ่มเด็กในวงการบันเทิง นักร้อง นักแสดง ทุกครั้งที่มีความกดดัน ร่างกายและจิตใจก็จะเกิดความเครียด ถ้าจัดการ ความเครียด ได้ไม่ดี เกิดความเครียดสะสม จนกลายเป็นเครียดเรื้อรัง ในระยะยาวก็จะเกิดภาวะ ต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue)

เมื่อเราเครียด

อารมณ์แปรปรวน

  • จิตตก
  • ฮอร์โมนและสารสือประสาทหลังผิดปกติ
  • เครียด

นาฬิกาชีวิตเสียสมดุล

  • นอนไม่หลับ
  • ตื่นกลางคืน เข้ากะดึก Jetlag
  • ดื่มคาเฟอีน หรือ สารกระตุ้น

การอักเสบในร่างกาย

  • ภูมิแพ้
  • ลำไส้อักเสบ ข้ออักเสบ
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • การติดเชื้อต่างๆ

การควบคุมน้ำตาลผิดปกติ

  • กินผิดเวลา
  • กินแบบผิดๆ
  • กินแป้งน้ำตาลมาก
  • ทานเส้นใยอาหารน้อย

ทุกครั้งที่เกิดความเครียด ต่อมหมวกไต จะผลิตฮอร์โมนพร้อมสู้ หรืออะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมา เพื่อจัดการกับความเครียด แม้หลังจากเรื่องที่ทำให้เราเครียดจบไปแล้ว ร่างกายยังต้องมี ภาระหน้าที่ ในการกำจัดฮอร์โมนเหล่านี้ออกไปอีก

อะดรีนาลีน กระตุ้นหัวใจให้ทำงานหนักขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง เร่งการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เพื่อให้เราพร้อมลุย

คอร์ติซอล ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น เตรียมพร้อมรับแรงดันเลือดที่เพิ่มขึ้นจากการสูบฉีดโลหิต

ความเครียด

เมื่อเราเครียดบ่อยเข้า ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น สุดท้ายก็เริ่มเสื่อม ร่างกายควบคุมความดันเลือดไม่ได้ เกิดการอักเสบเรื้อรังสะสมใต้ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการนำไปสู่โรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก หรืออุดตัน

ความเครียดทำอะไรกับร่างกายบ้าง

ในระยะสั้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผิวแพ้ง่าย หัวใจเต้นแรง เครียด กังวล ประหม่า หายใจเร็ว และปวดท้อง

ในระยะยาว หายใจลำบาก โรคหัวใจ ไมเกรน ปวดศีรษะ แพนิค เบาหวาน ปัญหาทางจิต ระบบสืบพันธุ์มีปัญหา ผมร่วง และสิวขึ้น

ความเครียด ส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิต้านทาน แรกๆ ก็เร่งเวรยาม สั่งทหารลาดตระเวน (เม็ดเลือดขาว) ให้ออกมาปกป้องร่างกายเพิ่มขึ้น แต่เร่งงานทหารบ่อยๆ เข้า ทหารก็เหนื่อยล้า (ภูมิต้านทานตก) หรือไม่ก็เกเร งอแง รังแกประชาชน (เซลล์ปกติของร่างกาย) เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองในระบบต่างๆ (Autoimmune) ได้เข้าเข้าไปอีก หรือแม้แต่กระตุ้นการเกิดเซลล์มะเร็งได้นะครับ

ไม่ว่าจะเป็น ความเครียดทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ก็ล้วนก่อให้เกิดการอับเสบทั่วร่างกาย และส่งผลร้ายต่อการทำงานหลายๆ ระบบในร่างกายของคุณ เช่น อาการปวดท้อง กรดไหลย้อน เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ภาวะลำไส้รั่ว ภูมิแพ้อาหารแฝง และอ้วนง่ายขึ้น

รู้ไหมครับว่า ความเครียดทำให้คุณอ้วนขึ้น!

เราพบว่าพันธุกรรมมีผลทำให้แต่ละคนตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างกัน และส่วนใหญ่มักอยากอาหารมากขึ้นเวลาเครียดๆ เหตุผลที่ทำให้เวลาเครียดแล้วหิวบ่อยขึ้น อยากจะกินแต่ของที่มีพลังงานสูงๆ ก็คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล อีกแล้วครับ มันไปส่งสัญญาณเคาะบอกตัวรับที่สมองทำให้เราหิว อยากของหวาน ของมัน บอกให้ร่างกายกักตุนเสบียง เพื่อเตรียมพร้อมรบกับความเครียด ทำให้เรากินเยอะขึ้นโดยไม่จำเป็น

ความเครียด

ความเครียดก็แค่น้ำแก้วเดียว และเราถือมันนานไปหน่อยเท่านั้นเอง ลองหลับตาลง สูดหายใจลึกๆ ตามรู้สภาวะจิตตัวเอง แล้วก็แค่ “ปล่อย” และ “วาง” แก้วที่ถือไว้ลง ถ้าวางมันยากนักก็ดื่มน้ำในแก้วนั้นไปเลยครับ

หนังสือ Healthitude สุข(อุดม)คติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

ความอ้วนกับสารพิษสัมพันธ์กันอย่างไร ? “ความอ้วน” เป็นปัญหาที่หลายๆ คนกำลังเผชิญอยู่ และมีแนวโน้มว่า“โรคอ้วน” พบเพิ่มมากขึ้นในทุกปี

รู้หรือไม่ การ WFH ที่ทุกคนทำกันอยู่ทุกวันนี้ ทุกคนกำลังอาศัยอยู่กับตัวร้ายที่เรามองไม่เห็น

มะเร็ง นับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย ที่เกิดขึ้นมาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 20 ปี เราพบคนไทยเสียชีวิตจากมะเร็งทุกชนิดรวมกันปีละเกือบ 70,000 คน โดยทิ้งห่างจากโรคอื่นๆ ในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกปี ทั้งนี้มะเร็งนั้นจัดอยู่ในกลุ่มของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่มีความรุนแรงมากที่สุด และอีกวิธีคือการ ตรวจวิตามินดี เพื่อป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง คำแนะนำเพื่อป้องกันมะเร็ง สิ่งที่หมออยาก “เน้นย้ำ” กับทุกคนเกี่ยวกับสาเหตุของโรคมะเร็ง ก็คือ จริงๆ แล้วโรคมะเร็งนั้นมีสาเหตุมาจากพันธุกรรม (Genetics) น้อยมาก พบเพียง 10% โดยเฉลี่ย ที่เหลืออีกมากกว่า 90% มีสาเหตุมาจากปัจจัยภายนอกที่ไม่ใช่พันธุกรรม (Epigenetics) สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งเราทราบกันดีอยู่แล้ว ได้แก่ พฤติกรรมการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และอาหารปิ้งย่าง ไม่ทานผักผลไม้ สูบบุหรี่ ดื่มสุรา โรคอ้วน การติดเชื้อเรื้อรัง ความบกพร่องของภูมิคุ้มกัน รวมถึงความเครียดเรื้อรังด้วย มีการศึกษาถึงความสัมพันธ์ของระดับวิตามินดีในเลือดกับอัตราการเกิดมะเร็ง แล้วพบว่า มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญจริงๆ โดยกลุ่มคนที่มีระดับวิตามินดีต่ำ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งมากกว่ากลุ่มที่มีระดับวิตามินดีสูง จึงสรุปได้ว่า ภาวะขาดวิตามินดีเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งมากกว่า 20 ชนิด การ ตรวจวิตามินดี […]