ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
Vitamin D

วิตามินดี คือ ฮอร์โมน – Vitamin D is The New Hormone

เราทราบกันมานานแล้วว่า วิตามินดี (Vitamin D) เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน มีหน้าที่หลักในการช่วยร่างกายดูดซึมแร่ธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสจากอาหาร ช่วยรักษาสมดุลแคลเซียมในเลือด และช่วยเก็บแคลเซียมเข้ากระดูก เพื่อคงมวลกระดูก เพิ่มความแข็งแรงของกระดูกและฟัน การขาดวิตามินดี เป็นสาเหตุของโรคกระดูกอ่อนน่วม (Osteomalacia) ในเด็ก และโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ในผู้สูงอายุ

เนื่องจากคนเราได้รับวิตามินดีจากแสงแดดเป็นหลัก เมื่อก่อนคนไทยเราจึงไม่ค่อยพบ ปัญหาขาด วิตามินดี (Vitamin D) กันสักเท่าไหร่ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ตั้งอยู่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร แต่จากงานวิจัยในปัจจุบันกลับพบว่า คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงเทพเกินครึ่ง มีภาวะขาดวิตามินดี ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะ การสร้างตึกสูงมีเพิ่มมากขึ้น ร่วมกับพฤติกรรมการหลีกเสี่ยงแสงแดด และไลฟ์สไตล์คนเมืองส่วนใหญ่ใช้เวลาทำงานในออฟฟิศเพิ่มมากขึ้น

“ ปัจจุบันมีการศึกษาพบว่า วิตามินดี ไม่ใช่แค่วิตามินอีกต่อไป แต่มันคือ ฮอร์โมน ที่มีความสำคัญกับสุขภาพของคนเรามากกว่าแค่เรื่องกระดูก ”

โดยพบว่าวิตามินดี มีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ มีบทบาทสำคัญในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบภูมิต้านทาน ระบบเผาผลาญ ระบบไหลเวียน ระบบประสาท เราพบตัวรับวิตามินดี (VDR) ในเกือบทุกเซลล์ในร่างกาย เราพบกลไกใหม่ๆของวิตามินดีมากขึ้น เช่น กลไลการลดอาการปวด ต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ช่วยการสร้างและการทำงานของเม็ดเลือดขาว ช่วยป้องกันการติดเชื้อ ช่วยสร้างสารสื่อประสาท ลดความเครียด ควบคุมการแสดงออกของยีน (gene expression) ควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ และต้านมะเร็ง

หลายปีนี้ การศึกษาความสำคัญของวิตามินดี เริ่มขยายตัวเป็นวงกว้างในระดับงานวิจัย มีงานวิจัยมากมายที่ค้นพบความสัมพันธ์ของวิตามินดี กับกลไกการเกิดโรคต่างๆมากมาย เช่น โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ โรคแพ้ภูมิตัวเองในระบบต่างๆ (Autoimmune disorders) โรคข้ออักเสบรูห์มาตอยด์ โรคลำไส้แปรปรวน โรคเบาหวาน โรคอ้วนในเด็ก โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคสมาธิสั้น โรคซึมเศร้า โรคอัลไซเมอร์ รวมถึงโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ และมะเร็งอื่นๆอีกกว่า 18 ชนิด

การตรวจคัดกรองวิตามินดี จึงมีความสำคัญมากขึ้นในยุคปัจจุบัน สำหรับในประเทศไทย สมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทย แนะนำให้ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยโรคไต โรคกระดูกพรุน ควรตรวจระดับวิตามินดี หากมีระดับต่ำ ควรได้รับการเสริมวิตามินดีทดแทน

สำหรับประชาชนทั่วไป ที่ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง ในเชิงป้องกัน หากมีอาการเรื้อรังในหลายระบบ ที่หาสาเหตุไม่ได้ชัดเจน โดยเฉพาะอาการเกี่ยวกับระบบภูมิต้านทานผิดปกติ อาการเรื้อรังทางระบบทางเดินอาหาร หรืออาการทางระบบประสาท อาจปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณาตรวจระดับวิตามินดีเพิ่มเติมได้

อ่านบทความเกี่ยวกับวิตามินดีเพิ่มเติม

บทความที่สื่อต่างๆ พูดถึงวิตามินดี

References

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

กินคลีน ออกกำลังกาย แต่น้ำหนักไม่ลดเลย! กำลังประสบปัญหาแบบนี้กันอยู่ใช่มั้ยคะ อันไหนที่ใครว่าดีเราก็ลองทำหมด

เราเข้าใจกันมาโดยตลอดว่า “พันธุกรรม” เป็นตัวกำหนดที่ทำให้เรามีรูปร่างหน้าตาคล้ายคลึงกับพ่อแม่ แต่ทำไมฝาแฝดแท้ๆ กลับมีนิสัยที่ต่างกัน

วิธีเลือก Probiotics กินอย่างไรให้ตอบโจทย์สุขภาพมากที่สุด ช่วงนี้หลายคนน่าจะได้ยินคำว่า “Probiotics”

error: Content is protected !!