ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ความเครียด

ความเครียด เกิดจากตัวเราหรือฮอร์โมนเป็นตัวกำหนด

เดี๋ยวนี้หมอเจอคนไข้ที่ยังเด็ก อายุน้อยๆ เป็นโรคเครียดกันมากขึ้น หมอพบว่า ส่วนใหญ่เด็กจะเครียดเพราะ “ความคาดหวัง” เริ่มตั้งแต่ความคาดหวังจากพ่อแม่ จากกลุ่มเพื่อน ตลอดจนคาดหวังจากสังคม ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ กลุ่มเด็กในวงการบันเทิง นักร้อง นักแสดง ทุกครั้งที่มีความกดดัน ร่างกายและจิตใจก็จะเกิดความเครียด ถ้าจัดการ ความเครียด ได้ไม่ดี เกิดความเครียดสะสม จนกลายเป็นเครียดเรื้อรัง ในระยะยาวก็จะเกิดภาวะ ต่อมหมวกไตล้า (Adrenal Fatigue)

เมื่อเราเครียด

อารมณ์แปรปรวน

  • จิตตก
  • ฮอร์โมนและสารสือประสาทหลังผิดปกติ
  • เครียด

นาฬิกาชีวิตเสียสมดุล

  • นอนไม่หลับ
  • ตื่นกลางคืน เข้ากะดึก Jetlag
  • ดื่มคาเฟอีน หรือ สารกระตุ้น

การอักเสบในร่างกาย

  • ภูมิแพ้
  • ลำไส้อักเสบ ข้ออักเสบ
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • การติดเชื้อต่างๆ

การควบคุมน้ำตาลผิดปกติ

  • กินผิดเวลา
  • กินแบบผิดๆ
  • กินแป้งน้ำตาลมาก
  • ทานเส้นใยอาหารน้อย

ทุกครั้งที่เกิดความเครียด ต่อมหมวกไต จะผลิตฮอร์โมนพร้อมสู้ หรืออะดรีนาลีนและคอร์ติซอลออกมา เพื่อจัดการกับความเครียด แม้หลังจากเรื่องที่ทำให้เราเครียดจบไปแล้ว ร่างกายยังต้องมี ภาระหน้าที่ ในการกำจัดฮอร์โมนเหล่านี้ออกไปอีก

อะดรีนาลีน กระตุ้นหัวใจให้ทำงานหนักขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง เร่งการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เพื่อให้เราพร้อมลุย

คอร์ติซอล ทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้น เตรียมพร้อมรับแรงดันเลือดที่เพิ่มขึ้นจากการสูบฉีดโลหิต

ความเครียด

เมื่อเราเครียดบ่อยเข้า ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่น สุดท้ายก็เริ่มเสื่อม ร่างกายควบคุมความดันเลือดไม่ได้ เกิดการอักเสบเรื้อรังสะสมใต้ผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุของการนำไปสู่โรคหัวใจวายเฉียบพลัน หรือโรคหลอดเลือดสมอง ตีบ แตก หรืออุดตัน

ความเครียดทำอะไรกับร่างกายบ้าง

ในระยะสั้น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ผิวแพ้ง่าย หัวใจเต้นแรง เครียด กังวล ประหม่า หายใจเร็ว และปวดท้อง

ในระยะยาว หายใจลำบาก โรคหัวใจ ไมเกรน ปวดศีรษะ แพนิค เบาหวาน ปัญหาทางจิต ระบบสืบพันธุ์มีปัญหา ผมร่วง และสิวขึ้น

ความเครียด ส่งผลโดยตรงต่อระบบภูมิต้านทาน แรกๆ ก็เร่งเวรยาม สั่งทหารลาดตระเวน (เม็ดเลือดขาว) ให้ออกมาปกป้องร่างกายเพิ่มขึ้น แต่เร่งงานทหารบ่อยๆ เข้า ทหารก็เหนื่อยล้า (ภูมิต้านทานตก) หรือไม่ก็เกเร งอแง รังแกประชาชน (เซลล์ปกติของร่างกาย) เกิดเป็นโรคภูมิแพ้ตัวเองในระบบต่างๆ (Autoimmune) ได้เข้าเข้าไปอีก หรือแม้แต่กระตุ้นการเกิดเซลล์มะเร็งได้นะครับ

ไม่ว่าจะเป็น ความเครียดทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง ก็ล้วนก่อให้เกิดการอับเสบทั่วร่างกาย และส่งผลร้ายต่อการทำงานหลายๆ ระบบในร่างกายของคุณ เช่น อาการปวดท้อง กรดไหลย้อน เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ภาวะลำไส้รั่ว ภูมิแพ้อาหารแฝง และอ้วนง่ายขึ้น

รู้ไหมครับว่า ความเครียดทำให้คุณอ้วนขึ้น!

เราพบว่าพันธุกรรมมีผลทำให้แต่ละคนตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างกัน และส่วนใหญ่มักอยากอาหารมากขึ้นเวลาเครียดๆ เหตุผลที่ทำให้เวลาเครียดแล้วหิวบ่อยขึ้น อยากจะกินแต่ของที่มีพลังงานสูงๆ ก็คือ ฮอร์โมนคอร์ติซอล อีกแล้วครับ มันไปส่งสัญญาณเคาะบอกตัวรับที่สมองทำให้เราหิว อยากของหวาน ของมัน บอกให้ร่างกายกักตุนเสบียง เพื่อเตรียมพร้อมรบกับความเครียด ทำให้เรากินเยอะขึ้นโดยไม่จำเป็น

ความเครียด

ความเครียดก็แค่น้ำแก้วเดียว และเราถือมันนานไปหน่อยเท่านั้นเอง ลองหลับตาลง สูดหายใจลึกๆ ตามรู้สภาวะจิตตัวเอง แล้วก็แค่ “ปล่อย” และ “วาง” แก้วที่ถือไว้ลง ถ้าวางมันยากนักก็ดื่มน้ำในแก้วนั้นไปเลยครับ

หนังสือ Healthitude สุข(อุดม)คติ
นพ.พิจักษณ์ วงศ์วิศิษฎ์ (หมอบาย)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

มีคนถามเข้ามาเยอะว่า “หายติดเชื้อไวรัสแล้วแต่ยังมีอาการอยู่” หรือบางคนตอนเป็นติดเชื้อไวรัสมีอาการน้อย แต่พอหายแล้วกับมีอาการเยอะขึ้น ไวรัสได้ฝากลอยแผลเป็นอะไรไว้ให้กับเราบ้าง

ฮอร์โมนเพศชาย ถือว่ามีความสำคัญต่อการทำงานในระบบอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งผู้ชายส่วนใหญ่จะทราบกันดีว่าฮอร์โมนชนิดนี้มีส่วนช่วยในเรื่องของสมรรถภาพทางเพศ และอารมณ์ความต้องการทางเพศ แต่ในความเป็นจริงแล้วฮอร์โมนเพศชายยังมีบทบาทสำคัญในการทำงานของร่างกายส่วนอื่นด้วย เช่น ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้รู้สึกสดชื่นกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า แต่เมื่อไหร่ที่เริ่มมีอาการ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห เบื่อหน่าย เหนื่อยเพลีย นอนหลับยาก ขาดความกระตือรือร้น อารมณ์ทางเพศที่ลดลง หรือน้อยชายไม่แข็ง อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าฮอร์โมนเพศชายเริ่มต่ำลง ดังนั้นการ ตรวจฮอร์โมนผู้ชาย จึงช่วยวางแผนการรักษาให้ระบบต่างๆ ของร่างกายกลับมาทำงานได้ดียิ่งขึ้น ฮอร์โมนไม่สมดุล เกิดจากอะไร ฮอร์โมนไม่สมดุลในผู้ชาย คือ ความไม่สมดุลของฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจเกิดจากความเครียด อาการเจ็บป่วย การกินอาหารที่ไม่ดีพอ ขาดการออกกำลัง รวมถึงการเป็นโรคอ้วน โรคตับ ไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน อายุที่มากขึ้น และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด ซึ่งอาการความไม่สมดุลของฮอร์โมนเพศชายอาจไม่ชัดเจนมากนัก ในบางคนอาจมีปัญหาอ้วนลงพุงง่าย มีเต้านมคล้ายผู้หญิง มีปัญหาต่อมลูกหมากโต มีอาการเหนื่อยเพลียง่าย ออกกำลังกายไม่ค่อยไหว กล้ามเนื้อลีบ รวมถึงมีปัญหาเรื่องเซ็กส์เสื่อมได้ ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนไม่สมดุล ยกตัวอย่างเช่น ในตอนเช้าปกติแล้วเวลาผู้ชายตื่นนอนจะเกิดการแข็งตัวขององคชาตเองอัตโนมัติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่การแข็งตัวขององคชาตเปลี่ยนไปจากทุกวันเหลือ 5 วัน หรือ […]