ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
ฝุ่นจิ๋ว PM2.5

ฝุ่นจิ๋ว PM2.5 กับโรคมะเร็งปอด ที่คนเมืองไม่ควรมองข้าม

นับวันปัญหามลพิษทางอากาศส่งผลต่อสุขภาพของคนในยุคนี้ไม่น้อย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ต้องเจอทั้งฝุ่น PM2.5 ควันรถจากท่อไอเสีย ไมโครพลาสติก ร่างกายของเรามีการสูดดมและสะสมเข้าไปเก็บไว้ทีละเล็กทีละน้อยโดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้ตัวร่างกายก็เริ่มมีอาการของโรคบางอย่างเกิดขึ้น เช่น ไอ มีเสมหะ ระคายเคืองจมูก แสบจมูก และที่เลวร้ายไปกว่านั้นที่หลายคนกลัวมากที่สุดก็คือ มะเร็งปอด ที่มาจาก ฝุ่นจิ๋ว หรือ PM2.5 ที่เรากำลังเผชิญกันอยู่ตอนนี้

สาเหตุที่ฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอดได้

อย่างที่เรารู้กันว่า ฝุ่นจิ๋ว หรือ ฝุ่น PM2.5 (Particulate Matter) มีขนาดอนุภาคเล็กกว่า 2.5 ไมครอนเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ 20 กว่าเท่า มีขนาดเล็กพอที่เราจะหายใจเข้าไปสู่ปอด และซึมผ่านผนังปอดเข้าสู่กระแสเลือดของเราได้ ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบ และถ้าหากร่างกายได้รับฝุ่น PM2.5 ในปริมาณที่มากและยาวนานเกินไป ก็อาจส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้แบบที่หลายคนกลัว

โดยข้อมูลจากวารสารการแพทย์ Oncology Letter – PMC5920433 ได้ระบุว่า PM2.5 มีผลทำให้เซลล์ในร่างกายอาจกลายพันธุ์หรือแบ่งตัวผิดปกติ และสร้างสภาวะที่เหมาะสมต่อการเกิดมะเร็ง

ปัญหามลพิษทางอากาศยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ส่งผลให้โรคที่เป็นอยู่กำเริบขึ้นมาได้ และยังเป็นสาเหตุทำให้เกิดหัวใจวาย โรคหลอดเลือดในสมองตีบ โรคหอบหืดกำเริบ โดยเฉพาะเด็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้สูงอายุ ที่ต้องดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษมากกว่าคนทั่วไป

และยังรวมถึงสารพิษอื่นๆ ที่นอกเหนือจากฝุ่น PM2.5 เมื่อร่างกายถูกสะสมเป็นเวลานานๆ ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น

  • ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุสาหกรรม
  • สารปนเปื้อนในเครื่องสำอาง ยาย้อมผม สีทาเล็บ
  • สารปนเปื้อนในอาหาร ผักผลไม้ มาจากการใช้ยาเคมี หรือยาฆ่าแมลง
  • ภาชนะใส่อาหาร กล่องโฟม แกงถุง แก้วกาแฟ

ทุกปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อร่างกายทั้งระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงยังเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งได้ในอนาคต

สัญญาณเตือนร่างกายมีสารพิษสะสมมากเกินไป

  • อ่อนเพลียเรื้อรัง ไม่สดชื่น
  • นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
  • สมองล้า ไม่มีสมาธิ
  • หลงลืมง่าย ความจำแย่ลง
  • หอบหืด หายใจติดขัด

ตรวจเช็กสารพิษ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดจากฝุ่น PM2.5

แม้เราจะใช้ชีวิตที่อยู่ท่ามกลางมลภาวะมากมาย ทั้งจากควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ สารปนเปื้อนในเครื่องสำอาง ฝุ่น PM2.5 หรือสารโลหะหนักต่างๆ แต่ ในปัจจุบันเราสามารถตรวจเช็กระดับสารพิษ สารโลหะหนักในร่างกายได้ ทั้งจากการตรวจจากเลือดและการตรวจจากเนื้อเยื่อ เพื่อจะได้วางแผนป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคเรื้อรังในอนาคตได้ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะสมองเสื่อม โรคภูมิต้านทานทำลายตัวเอง โรคภูมิแพ้ หรือแม้กระทั่งโรคมะเร็ง ที่เป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทยอีกด้วย

การตรวจจากเลือด (Toxin Heavy Metal)

เป็นการตรวจหาสารตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมียม อลูมิเนียม ที่สะสมอยู่ในร่างกาย โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองมีความเสี่ยงที่จะได้รับสารโลหะหนักสะสมอยู่เยอะ ทั้งจากทางมลภาวะทางอากาศ ทางน้ำ หรืออาหารที่รับประทาน เมื่อร่างกายถูกสะสมมากเกินไปก็จะส่งผลต่อระบบฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้ฮอร์โมนเกิดเสียสมดุล รวมถึงยังเป็นตัวการที่ทำให้หลอดเลือดอักเสบ ซึ่งอาจเป็นอันตรายกับสุขภาพเป็นอย่างมาก

ถึงแม้ร่างกายคนเราจะมีระบบการขจัดสารพิษอยู่ก็ตาม แต่ในบางคนอาจจะไม่รวดเร็วเพียงพอ คงจะดีกว่าหากเราได้รู้ว่าร่างกายเรามีสารพิษโลหะหนักสะสมอยู่หรือไม่ เพื่อป้องกันภัยเงียบจากสารพิษโลหะหนักที่อาจสร้างความเสียหายให้กับสุขภาพของเราได้ทันท่วงที

การตรวจจากเนื้อเยื่อ (Oligoscan)

เป็นการตรวจวัดระดับวิตามิน แร่ธาตุ และโลหะหนักในร่างกายระดับเซลล์ (ไม่ต้องเจาะเลือด) ทำให้เรารู้สมดุลแร่ธาตุในร่างกาย และประสิทธิภาพในการขับสารพิษของร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเราอ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ไม่มีแรง ปวดหัวบ่อย การตรวจ Oligoscan จึงช่วยให้เราเสริมวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายขาดได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น

วิธีขับสารพิษออกจากร่างกายด้วย คีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy)

ปกติแล้วร่างกายของเรามีกลไกในการขับสารพิษออกได้เองผ่านทางเหงื่อ ปัสสาวะ และอุจจาระ แต่ถ้าเราได้รับสารพิษสะสมมากเกินไป และถ้าเรายังเพิ่มการสะสมสารพิษในทุกๆ วัน ผ่านการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดสารพิษออกมาได้หมด สารพิษเหล่านั้นก็จะถูกสะสมค้างอยู่ในร่ากายเรา จนอาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ในอนาคต

ในทางเวลเนสเองเราก็มีวิธีการขับสารพิษง่ายๆ ผ่านทางสายน้ำเกลือ ที่เราเรียกกันว่าการทำคีเลชั่นบำบัด (Chelation Therapy) โดยจะมีคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมินคนไข้แต่ละคนในการขับสารพิษแต่ละครั้ง รวมถึงการเพิ่มวิตามิน หรือกลุ่มสารแอนตี้ออกซิแดนท์เข้าไปด้วย เพื่อให้ระหว่างทำนั้นไม่รู้สึกเพลียเกินไป

ดังนั้น การหันมาดูแลและใส่ใจ ถึงประสิทธิภาพของระบบการขับสารพิษ (Chelation Therapy) ของร่างกายสำหรับคนที่อาศัยอยู่ในเมือง จึงเป็นสิ่งที่ควรตระหนัก และให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก

“อย่าปล่อยให้สารพิษสะสมอยู่ในร่างกายจนเกิดเป็นอาการเรื้อรัง” ให้ W9 Wellness Center ดูแลระบบขับสารพิษของคุณนะคะ

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

มีคนไข้หลายคนเข้ามาปรึกษาหมอว่า ทำไมบางครั้ง กินโพรไบโอติกส์ แล้วไม่เห็นผล เพราะเห็นโฆษณาว่าช่วยให้การขับถ่ายดีขึ้น ช่วยเรื่องลดน้ำหนัก และยังช่วยเรื่องภูมิแพ้ แต่กินไปแล้วกลับกลายเป็นว่าไม่ช่วยอะไรเลย หมอต้องบอกก่อนว่า เราต้องอย่าลืมว่าโพรไบโอติกส์มันมีชีวิต และโพรไบโอติกส์ไม่ใช่ยา ดังนั้นเราจึงไม่สามารถควบคุมอาการมันได้ทุกอย่างได้ มันจึงมีปัจจัยหลายๆ อย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง หนึ่งในนั้นก็คือ ชนิด และจำนวนของโพรไบโอติกส์ที่ต้องรีบประทาน วันนี้หมอมีคำแนะนำว่าจริงๆ แล้ว เราควร กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน กันแน่ถึงจะเห็นผล เราควรเลือก กินโพรไบโอติกส์ตอนไหน ถึงจะเห็นผล? ก็ต้องบอกว่าจริงๆ แล้วในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องของโพรไบโอติกส์ในปัจจุบันมีค่อนข้างมากเลย แล้วส่วนใหญ่ก็จะพบว่า มีประโยชน์กับร่างกายของเราจริงๆ เพียงแต่ว่าเราต้องไม่ลืมว่า พอพูดถึงจุลินทรีย์มันมีหลากหลาย หลายพัน หลายหมื่น หลายแสนล้านชนิดอยู่ในร่างกาย มีชนิดย่อยๆ เต็มไปหมดเลย ทุกวันนี้เรายังศึกษาได้แค่บางส่วน มันก็จะมีเชื้อจำนวนนึงที่อยู่ในลิสต์ว่ามันเป็นเชื้อที่ดี ในเชื้อแต่ละตัวเองก็จะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันไป มีคุณสมบัติที่คาบเกี่ยวกันไป เพราะฉะนั้นการจะเลือกโพรไบโอติกส์กับปัญหานึงเนี่ย จริงๆ หมอมองว่ามันไม่ใช่เรื่องง่าย บางทีมันไม่อาจจะสามารถใช้เชื้อรวมๆ เหมือนว่าเอา 10 ตัวนี้มาแล้วมาใช้กับทุกสภาวะได้ เพราะว่าในแต่ละคนเองก็มีความหลากหลายของชนิดเชื้อที่แตกต่างกันอีกเหมือนกัน การกินโพรไบโอติกส์ที่มากเกินไป หรือว่าชนิดที่อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับเรา บางทีอาจจะนำมาสู่การเสียสมดุลของจุลินทรีย์ในทางเดินอาหาร หรือว่าทำให้โพรไบโอติกส์ในท้องของเรา จากที่มันดีอยู่แล้วกลับแย่ลงด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแล้ว การกินโพรไบโอติกส์ให้เหมาะสมกับบุคคล […]

หลายคนคงเคยได้ยินคุณสมบัติของ “น้ำด่าง” มาก่อนหน้านี้ ว่าลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง เก๊าท์ เบาหวาน กรดไหลย้อน