ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
Vitamin D

Vitamin D กับ ระบบภูมิต้านทาน

วิตามินดี ไม่ใช่แค่เรื่องกระดูกและฟัน แต่ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน (ภูมิต้านทาน) ของร่างกาย

จากที่เกริ่นมาจากบทความที่แล้วว่า วิตามินดี คือ ฮอร์โมน ที่ไม่ได้ทำหน้าที่เพียงแค่ควบคุม สมดุลสมดุลแคลเซียม และมวลกระดูก (calcium and bone homeostasis) เท่านั้น ในวันนี้ เราจะมารู้จักบทบาทของ วิตามินดี ต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกายกัน (Vitamin D & Immunity)

วิตามินดี เกี่ยวอะไรกับภูมิต้านทาน ?

วิตามินดี มีกลไลการทำงานที่ซับซ้อน หลากหลายกลไกในระบบภูมิต้านทานปกติ โดยมีส่วนช่วยในการสร้าง และควบคุมการทำงานของเม็ดเลือดขาวทุกชนิดในระบบภูมิต้านทาน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับโรคภูมิแพ้ โรคแพ้ภูมิตัวเอง และโรคมะเร็ง เราทราบกันมานานแล้วจากงานวิจัยขนาดใหญ่ว่า ภาวะขาดวิตามินดี จะเพิ่มความเสี่ยงของการเสียชีวิต จากทุกสาเหตุ และการเสียชีวิตจาก โรคติดเชื้อ ใน“คนทั่วไป”ด้วย (1)

Vitamin D & Autoimmunity

การขาดวิตามินดี สัมพันธ์กับโรคแพ้ภูมิตัวเองในระบบต่างๆ เช่น ข้ออักเสบรูห์มาตอย และ SLE การเสริมวิตามินดี ในคนไข้โรคแพ้ภูมิตัวเอง ที่มีระดับวิตามินดีต่ำ พบว่าช่วยให้ควบคุมโรคได้ดีขึ้น โดย วิตามินดีจะวิ่งไปจับกับตัวรับ (Vitamin D receptor) ที่เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ (B cells, T cells, and APCs) เพื่อไปยับยั้งการสร้างสารก่อการอักเสบ (pro-inflammatory cytokines) ที่ผลิตจากพวกเม็ดเลือดขาว ที่ทำงานผิดเพี้ยน และยังไปกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวผู้คุมกฎ (Regulatory T-cell) ช่วยคุมประพฤติ (inhibit Th17-response) ไม่ให้เม็ดเลือดขาวเกเร ไปทำร้ายเนื้อเยื่อปกติของร่างกายอีกทางหนึ่งด้วย

Vitamin D Immune

Vitamin D & Infection

นอกจากนั้น คนที่วิตามินดีต่ำ จะมีโอกาสติดเชื้อง่ายกว่าคนทั่วไปอีกด้วย (2) โดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินหายใจ ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ และวัณโรค โดยวิตามินดีจะไปกระตุ้นการสร้าง และกระตุ้นทำงานของเม็ดเลือดขาว Macrophage ในการจับกินเชื้อโรค (phagocytosis) และยังไปกระตุ้นการสร้างสารฆ่าเชื้อโรค (Antimicrobial peptides) ซึ่งสามารถยับยั้งได้ทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา (3)

ในปี 2010 ได้มีการทดลองเสริมวิตามินดี3 ขนาดวันละ 1,200 IU ให้กับเด็กนักเรียนญี่ปุ่น 167 คน โดยไม่สนใจระดับวิตามินดี พบว่าการเสริมวิตามินดี สามารถลดอัตราการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล (the incidence of seasonal Influenza A) ได้เกือบเท่าตัว ในเด็กกลุ่มที่ได้รับวิตามินดีเสริม (4)

Vitamin D & COVID-19

จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้มีงานวิจัยเกี่ยวกับวิตามินดี กับ COVID-19 ที่ออกมามากมายในปี 2020 นี้ ยืนยันถึงความสำคัญของวิตามินดี กับการป้องกันการติดเชื้อ (prevention)ช่วยต้านไวรัส (antiviral activity) ช่วยลดความรุนแรงของโรค (severity) และลดอัตราการเสียชีวิต (mortality) (8ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรง ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าส่วนหนึ่ง จะเสียชีวิตจากการควบคุม “Cytokine Storm” ไม่ได้ (สารที่เกิดจากการต่อสู้กันของเม็ดเลือดขาวและเชื้อไวรัส) Cytokines จึงไปทำลายเนื้อปอด ซึ่งวิตามินดีก็มีหน้าที่คอยควบคุม ไม่ให้เกิดการผลิตและการหลั่ง Cytokines พวกนี้ ออกมามากจนเกินไป งานวิจัยจึงสรุปว่า คนที่วิตามินดีต่ำ จะมีโอกาสเสียชีวิตสูงกว่าคนที่มีระดับวิตามินดีปกติ 15.6% (9) และ การเสริมวิตามินดีในคนทั่วไป มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อ COVID-19 (10,11)

อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิตามินดี

References:

  1. VitaminD levels and the risk of mortality in the general population, Arch Intern Med. (2008)
  2. VitaminD and Immune System, Journal of Investigative Medicine (2011)
  3. The impact of vitaminD on infectious disease, The American journal of the medical sciences (2015)
  4. Randomized trial of vitaminD supplementation to prevent seasonal influenza A in schoolchildren, The American Journal of Clinical Nutrition (2010)
  5. VitaminD and Influenza, Advances in Nutrition (2012)
  6. The Effects of VitaminD on Immune System (2015)
  7. VitaminD deficiency as a risk factor for infection, sepsis and mortality in the critically ill: systematic review and Meta-analysis, Critical Care (2014)
  8. Does VitaminD status impact mortality from SARS-CoV-2 infection? Med Drug Discov. (2020)
  9. The Possible Role of VitaminD in suppressing Cytokine Storm and associated mortality in COVID-19 patients, Boston Medical Center (2020)
  10. Evidence that VitaminD supplementation could reduce risk of Influenza and COVID-19 infection and Death, Nutrients (2020)
  11. The Role of VitaminD in the prevention of coronavirus disease 2019 infection and mortality, The Queen Elizabeth Hospital Foundation Trust, King’s Lynn (2020)

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

รู้หรือไม่ การ WFH ที่ทุกคนทำกันอยู่ทุกวันนี้ ทุกคนกำลังอาศัยอยู่กับตัวร้ายที่เรามองไม่เห็น

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชากรทั่วโลก โดยในปี พ.ศ. 2560 พบว่าการสูบบุหรี่ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเกือบ

ฮอร์โมน คือสารเคมีที่ร่างกายใช้สื่อสารกัน เพื่อควบคุมสมดุลร่างกายในทุกระบบ รวมทั้งระบบเผาผลาญด้วย ปัจจัยสำคัญข้อหนึ่งของโรคอ้วนที่เราทราบกันดีก็คือ

error: Content is protected !!