ค้นหา
ปิดช่องค้นหานี้
Vitamin D

วิตามินดีกับภาวะซึมเศร้า (Vitamin D and Depression)

ภาวะขาดวิตามินหลายชนิด รวมทั้งภาวะขาดวิตามินดี มีความสัมพันธ์กับภาวะ ซึมเศร้า
วิตามินดีระดับต่ำ อาจส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ การตัดสินใจ และพฤติกรรม
• วิตามินดี ไม่ใช่ยารักษาโรคซึมเศร้า แต่การชดเชยวิตามินดีในคนที่มีระดับต่ำ อาจมีส่วนช่วยในการควบคุมอารมณ์ และเพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้

ภาวะ ซึมเศร้า เป็นโรคเรื้อรัง ที่ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี ทั้งด้านคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเอง ภาระทางสังคมต่อคนรอบข้าง และอัตราการฆ่าตัวตายที่พุ่งสูงขึ้น

การรักษาโรคซึมเศร้าโดยการใช้ยาร่วมกับจิตบำบัด มีอัตราสำเร็จ 76-85% (WHO 2020) แต่ปัญหาคือมีผู้ป่วยน้อยกว่า 25% เท่านั้นที่ได้รับการรักษา และมีอีกส่วนหนึ่งที่ไม่อยากทานยา เพราะกลัวติดการใช้ยา หรืออาจเพราะทนผลข้างเคียงไม่ไหว [1]

เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรัง ซึ่งสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะคนที่รักษาไม่ต่อเนื่อง พบว่ามีอัตราการเป็นซ้ำมากขึ้น จึงเริ่มมีความพยายามที่จะมองหาปัจจัย หรือวิธีการรักษาร่วมอื่น โดยเฉพาะทางด้านของ ภาวะโภชนาการ สารอาหาร หรือวิตามินเสริม [2]

ซึมเศร้า

เราเริ่มมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้น ที่พบความสัมพันธ์ของภาวะขาดวิตามิน สารอาหาร หรือแร่ธาตุ หลายชนิด กับภาวะซึมเศร้า เช่น วิตามินบี 3, วิตามินบี 6, วิตามินบี 12, โฟเลท, วิตามินดี, Zinc, Copper, Magnesium รวมทั้งกรดไขมันจำเป็น เช่น Omega-3 หรือแม้แต่กรดอะมิโนบางชนิด เช่น กาบา ไกลซีน ทริปโตแฟน หรือ ไทโรซีน เป็นต้น [3,4,5,6]

ซึมเศร้า

มีงานวิจัยขนาดใหญ่ในคนกว่า 31,000 คน พบว่ากลุ่มคนที่เป็นซึมเศร้ามีระดับวิตามินดีต่ำกว่า กลุ่มควบคุมอย่างมีนัยยะสำคัญ และยังพบว่า กลุ่มที่วิตามินดีต่ำ มีคนที่เป็นซึมเศร้า มากกว่า กลุ่มที่วิตามินดีสูงถึง 121% สรุปว่า ระดับวิตามินดีที่ต่ำมีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าจริง[7]

เนื่องจากเราพบตัวรับวิตามินดีมากมายในสมอง จึงพบว่านอกจากผลต่อสุขภาวะทางอารมณ์แล้ว ภาวะขาดวิตามินดี ยังส่งผลถึง ความคิดอ่าน ความจำ และประสิทธิภาพการทำงานของสมอง ในหลากหลายแง่มุม รวมถึงยังส่งผลต่อพฤติกรรมที่ผิดปกติ การทรงตัว (Ataxia) และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกาย (Movement disorders) อีกหลายโรคอีกด้วย

กลไกในการทำงานของวิตามินดีกับสมอง

เนื่องจากวิตามินดีเป็นวิตามินที่เก็บสะสมในไขมัน แล้วสมองก็เป็นเนื้อเยื่อไขมันขนาดใหญ่ นอกจากนั้นเรายังพบตัวรับวิตามินดีในเซลล์สมองเกือบทุกเซลล์ โดยเฉพาะในส่วนไฮโปธาลามัส[8] ซึ่งมีความสำคัญกับระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งเชื่อมโยงระบบฮอร์โมนของเกือบทุกระบบในร่างกาย ถ้าดูจากทั้งโครงสร้างและการทำงาน ดังนันจึงนับได้ว่า วิตามินดี เป็นฮอร์โมน ที่สำคัญตัวนึง ต่อการทำงานของระบบประสาทและสมอง

งานวิจัยทางระบาดวิทยาพบว่า วิตามินดี ยังมีความสำคัญกับพัฒนาการของสมองตั้งแต่ในครรภ์ เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีวิตามินดีต่ำ จะพบการเปลี่ยนแปลงทั้งโครงสร้างและการทำงานของสมอง การทำงานของสารสื่อประสาทโดปามีน และเพิ่มความเสี่ยงของโรคจิตเภทในวัยรุ่นได้[9,10]

นอกจากวิตามินดีแล้ว ทาง Functional Medicine ยังมี การตรวจสมดุลวิตามิน อีกหลายชนิด ร่วมกับการตรวจ สมดุลกรดอินทรีย์ในปัสสาวะ (Urine Organic Acids) เพื่อจะได้ข้อมูลเชิงลึก ทั้งสมดุลสารสื่อประสาท (Neurotransmitter balance) สมดุลจุลชีพในลำไส้ (Bacterial & Yeast Dysbiosis Markers) และระดับสารพิษจากสิ่งแวดล้อม (Environmental Toxicity) เพื่อนำมาวางแผนปรับทั้งอาหารหลัก และชดเชยอาหารเสริมเฉพาะบุคคล ซึ่งสามารถกำหนดขนาดวิตามิน ชนิดของโปรตีน หรือกรดอะมิโนที่จำเป็น ได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยในการปรับสมดุลสารสื่อประสาทในสมองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


References:

1. WHO Factsheet, Depression (2020)
2. Vitamin D and Depression: Where is all the Sunshine, Issues Ment Health Nurs (2010)
3. Association between folate, vitamin B (6), and vitamin B (12) intake and depression in the SUN cohort study. Journal of Human Nutrition & Dietetics (2009) PMID: 19175490
4. Dietary intake of folate, other B vitamins, and omega-3 polyunsaturated fatty acids in relation to depressive symptoms in Japanese adults. Nutrition (2008) PMID: 18061404
5. Nutrition and depression: Implications for improving mental health among childbearing-aged women. Biological Psychiatry (2005) PMID: 16040007
6. Nutritional therapies for mental disorders. Nutrition Journal (2008) PMID: 18208598
7. Vitamin D deficiency and depression in adults: systematic review and meta-analysis, The British Journal of Psychiatry (2013) PMID: 23377209
8. Distribution of the vitamin D receptor and 1 alpha-hydroxylase in human brain. Journal of Chemical Neuroanatomy (2005) PMID: 15589699
9. Developmental vitamin D deficiency causes abnormal brain development, Psycho-neuroendocrinology (2009) PMID: 19500914
10. Developmental vitamin D deficiency and risk of schizophrenia: a 10-year update, Schizophrenia Bulletin (2010) PMID: 20833696

Share : 

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้วนขึ้นโดยไม่มีสาเหตุ น้ำหนักลงเองโดยไม่ตั้งใจ รูปร่างเปลี่ยนไปจนคนต้องเข้ามาทัก! อาจไม่ใช่เรื่องดีสำหรับบางคน เพราะนั่นอาจหมายถึงความผิดปกติของต่อม

เหนื่อยไหมกับการลดน้ำหนักไม่ลง แม้จะพยายามควบคุมอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ทำไมน้ำหนักก็ยังไม่ลดลงสักที? คำตอบอาจไม่ได้อยู่ที่แค่ความพยายามของคุณเพียงอย่างเดียว

ช่วงนี้เข้ามาดูแลตัวเองที่ W9 Wellness ในโปรแกรม “การดูแลสุขภาพผู้หญิงวัย

error: Content is protected !!